การเดินทางต่างประเทศสิ่งสำคัญอันดับแรกที่พาสปอร์ต ฉะนั้นอย่าลืมเช็กวันหมดอายุของพาสปอร์ตคุณด้วยเพื่อให้การเที่ยวของคุณไม่มีสะดุดแต่หากหมดอายุไม่ต้องตกใจไป เราจะมาบอกวิธีการต่ออายุพาสปอร์ตสำหรับท่านที่พาสปอร์ตอาจจะหมดอายุเป็นครั้งแรก
ในไทยกำหนดให้พาสปอร์ตต้องมีอายุมากกว่า 6 เดือนถึงจะใช้ได้ ถ้าหากว่าเลยวันหมดอายุของพาสปอร์ตไปแล้ว ต้องเริ่มทำพาสปอร์ตใหม่ตั้งแต่ต้น เพราะฉะนั้นอย่าลืมจำตรงนี้ดี ๆ แล้วเช็กวันหมดอายุของพาสปอร์ตทุกท่านให้ดีอย่าให้หมด ท่านสามารถต่ออายุพาสปอร์ตได้ตลอดไม่ต้องรอใกล้หมดอีกด้วย ถ้าใครว่างก็สามารถเข้าไปต่อได้เลย
ท่านสามารถเดินทางไปต่ออายุด้วยตัวเองได้ที่สำนักงานที่รับผิดชอบในเรื่องของพาสปอร์ตหรือสถานที่ที่คุณทำพาสปอร์ตครั้งแรกได้เลยที่
หรือจองคิวทำพาสปอร์ตผ่านช่องทางออนไลน์ได้
ในกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงสามารถต่ออายุได้ที่
หากเป็นต่างจังหวัดสามารถตรวจสอบสถานที่ได้ที่ ศาลากลาง อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือห้างสรรพสินค้า สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองหนังสือเดินทาง โทรศัพท์ 0 2981 7257 ถึง 60 และ 0 2203 5000 ต่อ 32303
กรณีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป
กรณีที่อายุต่ำกว่า 20 ปี
การต่ออายุพาสปอร์ตหากยังไม่หมดอายุมีขั้นตอนที่ง่ายกว่า เพราะถ้าหากว่าหมดอายุไปแล้ว การทำพาสปอร์ตจะเหมือนกับการทำใหม่ไปเลยนั่นเอง และอาจยุ่งยากกว่าการต่ออายุ ใครที่มีพาสปอร์ตอยู่ให้ลองหยิบมาเช็กดูวันหมดอายุด้วยนะ ต้องมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปเท่านั้น เพื่อความสะดวกและคล่องตัวหากคุณต้องการเดินทางต่างประเทศ ต่อไว้ไม่เสียหาย
นอกจากพาสสปอร์ตแล้วสิ่งสำคัญอีกอย่างในการเดินทางต่างประเทศนั่นคือการทำประกันเดินทางต่างประเทศ ไม่ว่าคุณจะไปประเทศไหนย่อมต้องมีแผนสำรองไว้หากกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุในต่างแดน คุณจะได้อุ่นใจไม่กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย วางแผนซื้อประกันเดินทางต่างประเทศ ก่อนการเดินทางทุกครั้ง ช่วยให้คุณมั่นใจในทุกเที่ยวบิน กินอิ่มนอนหลับ อุ่นใจแม้อยู่ในต่างแดน
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การมีบ้านสักหลังเป็นของตัวเองเป็นความฝันของใครหลายคน แต่การต้องผ่อนบ้านยาวนาน 20-30 ปี อาจทำให้รู้สึกเหมือนแบกภาระก้อนใหญ่ไว้ตลอดชีวิต การโปะบ้านจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ปลดหนี้ได้เร็วขึ้น
การเดินทางทางอากาศมีตัวเลือกมากมาย ทั้งสายการบิน Full Service และ Low Cost แต่ละแบบมีข้อดีต่างกัน ขึ้นอยู่กับสไตล์การเดินทางของแต่ละคน
ใครที่เดินทางบ่อย ๆ คงเห็นป้าย "ผู้โดยสารขาเข้า" และ "ผู้โดยสารขาออก" ในสนามบินจนชินตา แต่เคยสงสัยไหมว่าทำไมต้องแบ่งแบบนี้? จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่แค่การบอกว่าใครกำลังมาหรือไป แต่ยังมีรายละเอียดอีกเพียบที่หลายคนไม่เคยรู้