การเปลี่ยนหลอดไฟดูเหมือนง่าย แต่ถ้าทำผิดวิธีอาจเสี่ยงไฟช็อตหรือไฟไหม้ได้ หลอดแต่ละแบบมีจุดที่ต้องระวัง ไม่ใช่แค่หมุนออกแล้วใส่ใหม่ การรู้วิธีที่ถูกต้องช่วยให้ปลอดภัยขึ้น และอย่าลืมว่าความเสียหายจากไฟฟ้าอาจเกิดขึ้นได้เสมอ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมประกันภัยบ้านหรือคอนโดถึงเป็นสิ่งที่ควรมีติดไว้ ช่วยคุ้มครองทรัพย์สินจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว เอาล่ะ! มาเรียนรู้วิธีเปลี่ยนหลอดไฟแต่ละแบบให้ถูกต้องและปลอดภัยกันดีกว่า
หลอดไฟแบบดั้งเดิมที่หลายบ้านยังคงใช้กันอยู่ อันนี้เปลี่ยนง่ายสุด แต่ก็มีจุดที่ต้องระวังให้ดี อย่างแรกเลยคือเรื่องความร้อน หลอดไส้จะร้อนจัดหลังจากเปิดใช้งานไปนานๆ ถ้าจะเปลี่ยน ต้องปิดสวิตช์แล้วรอให้เย็นก่อน อย่าคิดว่าแค่ปิดไฟแล้วจะจับได้เลยทันที ไม่งั้นมีโอกาสโดนลวกแบบไม่ทันตั้งตัว
ถ้าหลอดขาด ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกาเบาๆ ถ้ามันแน่นเกินไป ลองใช้ผ้าหนาๆ ช่วยจับหมุน ห้ามใช้คีมหรือของแข็งมาหนีบโดยตรงเพราะอาจทำให้ขั้วหลอดแตก หรือถ้าหลอดแตกไปแล้ว ให้เอามันออกโดยใช้มันฝรั่งหรือฟองน้ำชุบน้ำหมาดๆ จับแล้วหมุนออก (เผื่อบางคนไม่รู้ว่านี่เป็นทริคที่ช่วยได้จริงๆ)
หลอดตัวยาวที่เจอบ่อยในบ้าน ออฟฟิศ หรือร้านค้า ถ้าดับบ่อย อาจจะเป็นเพราะสตาร์ทเตอร์เสีย ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งหลอด เปลี่ยนแค่ตัวสตาร์ทเตอร์ก็พอ
แต่ถ้าต้องเปลี่ยนหลอดจริงๆ ต้องปิดสวิตช์ก่อนทุกครั้ง แล้วจับตรงกลางหลอด บิดไปทางซ้ายหรือขวานิดนึงจนรู้สึกว่ามันหลวม จากนั้นดึงออกตรงๆ ห้ามบิดแรงหรือใช้แรงเยอะไป เพราะถ้าหลอดแตกจะยุ่งเลย (แก้วของหลอดแบบนี้ค่อนข้างบาง) เวลาจะใส่หลอดใหม่ ก็ให้เสียบขั้วเข้าไปแล้วบิดกลับที่เดิมจนแน่นพอดี ไม่ต้องบิดจนแน่นเกินไปเพราะอาจทำให้ขั้วเสียหาย
หลอดตะเกียบที่ประหยัดไฟมากขึ้นจากหลอดไส้ เปลี่ยนง่ายมาก แค่หมุนออกแล้วใส่หลอดใหม่เข้าไป แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ห้ามจับโดนส่วนกระจกแรงๆ เพราะมันเปราะบางกว่าที่คิด ถ้าหลอดแตกจะมีสารปรอทปนเปื้อนในอากาศได้ เวลาจะทิ้งต้องห่อให้ดี หรือส่งไปทิ้งตามจุดรับรีไซเคิล
ถ้าหลอดดับบ่อย ลองเช็กว่าขั้วหลอดแน่นดีไหม เพราะบางทีหมุนเข้าไปไม่สุดก็ทำให้ไฟไม่ติด หรืออีกจุดที่อาจเป็นปัญหาคือบัลลาสต์ในโคมเสื่อม อันนี้ถ้าเปลี่ยนหลอดใหม่แล้วยังไม่ติด อาจต้องเช็กที่ตัวโคมแทน
มาแรงสุดๆ เพราะประหยัดไฟ ทนทาน และไม่ร้อนมาก แต่ก็มีหลายแบบ ถ้าเป็นแบบขั้วเกลียว (E27) หรือขั้วเขี้ยว (GU10) เปลี่ยนง่ายมาก แค่หมุนออกแล้วใส่ใหม่เข้าไป แต่ถ้าเป็นแบบแผง LED ที่ติดอยู่กับโคมเลย อันนี้อาจจะต้องเปลี่ยนทั้งโคม ไม่สามารถเปลี่ยนเฉพาะหลอดได้
จุดที่ต้องระวังของหลอด LED คือ ถ้าจะเปลี่ยนจากหลอดฟลูออเรสเซนต์มาเป็น LED ต้องเช็กว่าตัวบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ของโคมเดิมรองรับหรือไม่ ถ้าไม่รองรับ อาจต้องถอดออกก่อน ไม่งั้นไฟอาจไม่ติด หรือเกิดความเสียหายกับหลอดใหม่ได้
เจอบ่อยในพวกโคมไฟเพดาน หรือไฟสปอตไลท์ เปลี่ยนง่ายแต่ต้องระวังตรงที่มันร้อนมาก ห้ามจับโดนตัวหลอดโดยตรงแม้จะปิดไฟแล้ว เพราะน้ำมันจากมือจะทำให้หลอดเสื่อมเร็วขึ้น ควรใช้ผ้าหรือถุงมือจับเวลาถอดเข้าออก
เวลาจะเปลี่ยน ให้ดึงหรือหมุนออกตามประเภทขั้ว ถ้าเป็นขั้วกด (G9, G4) ก็กดแล้วดึงออกตรงๆ แต่ถ้าเป็นขั้วหมุน (GU10) ต้องบิดก่อนแล้วค่อยดึง ถ้าใส่เข้าไปแล้วไม่ติด ลองเช็กดูว่าขั้วแน่นหรือยัง บางทีใส่ไม่สุด ไฟก็ไม่ติดเหมือนกัน
ถ้าเป็นแบบที่เปลี่ยนเฉพาะหลอด LED ที่อยู่ข้างใน วิธีเปลี่ยนจะเหมือนหลอด LED ปกติ แต่ถ้าเป็นระบบที่มาพร้อมแผงและแบตเตอรี่ ต้องเช็กก่อนว่าแบตเตอรี่ยังใช้งานได้หรือไม่ เพราะบางทีไฟไม่ติดไม่ใช่เพราะหลอดเสีย แต่เป็นเพราะแบตหมด ถ้าหลอด LED เสียแล้วและเปลี่ยนได้ ให้หมุนออกเหมือนหลอด LED ปกติ แต่ถ้าเป็นแบบติดถาวร ต้องเปลี่ยนทั้งชุด
สุดท้ายนี้ การเปลี่ยนหลอดไฟไม่ใช่เรื่องยาก ขอแค่รู้จักประเภทของหลอดที่ใช้งานให้ดี ตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องก็ช่วยให้เปลี่ยนได้อย่างปลอดภัย ไม่ต้องพึ่งช่างให้เสียเงินโดยใช่เหตุ แต่ถึงแม้จะเปลี่ยนหลอดไฟได้คล่องแค่ไหน อุบัติเหตุไฟฟ้ายังเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ป้องกันไว้ก่อนดีที่สุด อย่าลืม เช็กเบี้ยประกันบ้านและคอนโด ไว้ด้วย เพราะจะช่วยให้สบายใจได้มากขึ้น ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมา ไม่ว่าจะไฟฟ้าลัดวงจร หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายจากอุบัติเหตุ ก็มีประกันช่วยดูแล เท่านี้ก็หมดห่วงทั้งเรื่องไฟ ทั้งเรื่องค่าใช้จ่าย แถมยังใช้ชีวิตได้อย่างอุ่นใจอีกด้วย
ใช่! เพื่อความปลอดภัย ควรปิดสวิตช์ไฟทุกครั้งก่อนเปลี่ยนหลอดไฟ เพื่อลดความเสี่ยงจากไฟดูดหรือไฟช็อต
อาจเกิดจากไฟตก ไฟกระชาก หรือขั้วหลอดไม่แน่น ควรใช้ปลั๊กกันไฟกระชากและตรวจสอบว่าขั้วต่อแน่นดีหรือไม่
ไม่เสมอไป ถ้าเป็นโคมแบบเก่าที่มีบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ อาจต้องถอดออกก่อนหรือใช้หลอด LED ที่รองรับการใช้งานกับโคมเดิม
โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15,000 – 50,000 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับคุณภาพและการใช้งาน ถ้าเปิดปิดบ่อยหรือมีไฟกระชาก อาจลดอายุการใช้งานได้
ควรเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ ใช้ถุงมือหรือกระดาษแข็งเก็บเศษหลอด ห้ามใช้เครื่องดูดฝุ่น และนำไปทิ้งตามจุดรับรีไซเคิลของเสียอันตราย
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
ทาวน์เฮ้าส์มือสองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากมีบ้าน แต่ไม่อยากแบกรับภาระราคาสูงของบ้านใหม่ นอกจากจะมีราคาที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าแล้ว
เวลาเดินทางไปต่างประเทศ สนามบินคือจุดเริ่มต้นของทุกทริป และบางแห่งไม่ใช่แค่ที่เช็คอินขึ้นเครื่องเท่านั้น แต่ยังอลังการจนต้องร้องว้าว
การตั้งศาลพระภูมิในบ้านเป็นเรื่องของความเชื่อและจิตใจที่ช่วยเสริมสิริมงคลให้กับผู้อยู่อาศัย