สำหรับใครที่เดินทางไปทำงานด้วยการขับรถไปจอดแล้วต่อรถไฟฟ้า MRT เพื่อย่นระยะการเดินทางหรือที่เรียกว่า “จอดแล้วจร” มักจะเจอปัญหาที่จอดรถไม่เพียงพอหรือหาที่จอดรถใกล้ ๆ สถานีไม่ได้ บางครั้งต้องเสียเวลาขับรถวนหาที่จอดจนไปทำงานสาย วันนี้ insurverse จึงได้รวบรวมพิกัดที่จอดรถ mrt ทั้งหมด รวมถึงขั้นตอนการใช้บริการที่จอดรถเหล่านี้มาบอกต่อกัน จะมีจุดไหนบ้างลองไปดูกันเลย
หากไม่อยากเสียเวลาไปกับการขับรถวนหาที่จอดหรือไม่อยากเสี่ยงโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจล็อกล้อเพราะไปจอดในที่ห้ามจอด เพียงแค่ใช้บริการที่จอดรถ mrt ผ่านแอปพลิเคชัน “MRTA Parking” โดยผู้ใช้บริการสามารถเช็กจุดจอดรถที่ว่างได้แบบเรียลไทม์และกดจองที่จอดรถแบบออนไลน์ได้ทันที จากนั้นก็เพียงแค่ขับรถเข้าไปจอดในจุดที่จองไว้แล้วต่อรถไฟฟ้า MRT ได้อย่างสะดวก ส่วนวิธีการใช้บริการมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้า MRT สถานีหัวลำโพง – สถานีบางซื่อมีจุดจอดรถเปิดให้บริการทั้งหมด 12 แห่ง ประกอบด้วยอาคารจอดรถ 2 แห่ง และลานจอดรถ 10 แห่ง สามารถรองรับรถยนต์ได้เกือบ 3,000 คัน โดยที่จอดรถ mrt ทั้ง 12 แห่งมีดังนี้
สำหรับที่จอดรถ mrt ทั้ง 12 แห่งที่กล่าวมาข้างต้นมีอัตราค่าใช้บริการเป็นรายชั่วโมง โดยผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT จะเสียค่าบริการ 15 บาท/2 ชั่วโมง แต่หากไม่ได้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT จะต้องเสียค่าบริการ 40 บาท/ชั่วโมง ยกเว้นที่จอดรถ MRT ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่สามารถจอดฟรีได้ 3 ชั่วโมง แต่หากจอดเกินเวลาจะต้องเสียค่าบริการ 50 บาท/ชั่วโมง และที่จอดรถทั้งหมดเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 05.00 – 01.00 น. ของทุกวัน ทั้งหมดนี้คือพิกัดที่จอดรถ mrt ที่เราได้รวบรวมนำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าจะช่วยให้ผู้ที่เดินทางไปทำงานด้วยรถไฟฟ้า MRT สามารถเดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่หากใครที่รู้สึกห่วงรถกลัวว่ารถจะถูกเฉี่ยวชนหรือเกิดเหตุไม่คาดคิดต่าง ๆ ในระหว่างที่จอดรถทิ้งไว้ แนะนำให้ทำ ประกันรถยนต์ เพื่อเพิ่มความอุ่นใจ ช่วยให้ไปทำงานได้อย่างสบายใจ หมดห่วงว่ารถจะไม่มีคนดูแล
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
How To ตรวจสอบการยื่นภาษีออนไลน์ ผู้มีเงินได้ประจำปี 2567 สรุปขั้นตอนแบบรวบรัดเข้าใจง่าย พร้อมช่องทางการรับเงินคืนภาษีและระยะเวลารอเงินคืน
สายมูห้ามพลาด! เช็กฤกษ์ออกรถเดือนมกราคม 68 วันไหนดีวันไหนเฮง พร้อมแนะนำว่ารถสีไหนเหมาะกับคนเกิดวันใด พร้อมคำแนะนำเพิ่มความเป็นสิริมงคล
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือกองทุนที่นายจ้างกับลูกจ้างในองค์กรร่วมกันจัดตั้งขึ้น เป็นแหล่งออมเงินลงทุน หลักประกันทางการเงิน สิทธิประโยชน์ทางภาษี