รู้หรือไม่? คนที่มีรถอายุรถยนต์ที่มีอายุใช้งานตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปก่อนจะต่อภาษีรถยนต์ประจำปีจะต้องนำไปตรวจสภาพรถยนต์ก่อน แต่การตรวจสภาพรถยนต์จะไม่สามารถไปตรวจตามอู่รถยนต์ทั่วไป ต้องไปตรวจสภาพรถที่ ตรอ. เท่านั้น และวันนี้เราจะพาไปรู้จักขั้นตอนการตรวจสภาพรถยนต์ ก่อนต่อภาษีรถประจำปี ว่ามีอะไรบ้าง
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าทำไมต้องตรวจสภาพรถ? สาเหตุที่มีการบังคับใช้กฎหมายให้รถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมานาน 7 ปี ต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีเพราะว่ากรมการขนส่งทางบกที่มีหน้าที่ออกภาษีรถยนต์จะได้ทราบถึงสภาพรถคันนั้น ๆ ว่า อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตามระเบียบข้อบังคับของกรมการขนส่งจริงหรือไม่ เพื่อเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและสร้างความปลอดภัยต่อการใช้รถใช้ถนน ซึ่งตอนต่อภาษีรถยนต์เจ้าของรถต้องนำใบผ่านการตรวจสภาพรถยนต์ มาใช้เป็นหลักฐานในการต่อภาษีด้วย
การตรวจสภาพรถไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารวุ่นวาย จะใช้เพียงสมุดทะเบียนรถมาเพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสภาพรถ ชำระค่าตรวจสภาพรถยนต์ แล้วรอรับใบรับรองการตรวจสภาพรถ ก็ถือเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
เผื่อใครที่อยากทราบก่อนว่าราคาค่าตรวจสภาพรถยนต์เอกชน (ตรอ.) หรือกรมขนส่งทางบกนั้นจะคิดจากน้ำหนักของรถอย่างไร เราเอาวิธีคิดค่าตรวจสภาพรถมาให้ ซึ่งราคาค่าตรวจสภาพรถที่ ตรอ. มีดังนี้
1. เจ้าของรถสามารถนำรถไปตรวจสภาพรถได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือ ตรอ. ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น โดยการตรวจสภาพรถยนต์ สามารถตรวจล่วงหน้าก่อนวันครบกำหนด 3 เดือน ยกเว้นกรณีรถยนต์ที่ผ่านการดัดแปลงมา เช่น เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่องยนต์ หรือรถยนต์ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวถังรถ เลขเครื่องยนต์ รวมถึงรถที่ขาดต่อทะเบียนเกิน 1 ปี ต้องไปตรวจสภาพที่กรมการขนส่งทางบก
2. นำสมุดทะเบียนรถเป็นหลักฐานในการตรวจสภาพรถ พร้อมชำระค่าตรวจสภาพรถยนต์
3. จากนั้นให้รอรับสมุดทะเบียนรถพร้อมกับใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการต่อภาษีรถประจำปี
4. กรณีตรวจสภาพรถไม่ผ่าน จะมีใบแจ้งจาก ตรอ. ว่ามีส่วนใดที่ต้องแก้ไข ถ้าดำเนินการภายใน 15 วัน แล้วนำรถมาตรวจสภาพอีกครั้ง จะเสียค่าตรวจสภาพครึ่งเดียว แต่หากเกิน 15 วัน จะต้องเสียค่าตรวจสภาพเต็มจำนวน
5. ตรอ. แต่ละแห่งอาจจะได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบกให้ตรวจสภาพรถยนต์ที่แตกต่างกัน เช่น รับตรวจสภาพเฉพาะรถยนต์น้ำหนักไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม โดย ตรอ. แต่ละแห่งจะแสดงป้ายให้เห็นอย่างชัดเจน ก่อนจะนำรถเข้าไปตรวจ อย่าลืมสอบถามให้ชัดเจน
ตรอ. จะเช็กว่าสมุดทะเบียนรถ ตรงกันกับรถที่นำมาตรวจหรือไม่ เช่น รถยี่ห้ออะไร รุ่นไหน สีอะไร ป้ายทะเบียน เลขตัวถังเครื่องยนต์ ใช้น้ำมันอะไร ฯลฯ หรือหากมีการดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ติดตั้ง LPG/NGV เจ้าของรถก็ต้องมีหนังสือรับรองประกอบ หรือหากพบป้ายทะเบียนเสียหาย เลขเครื่องยนต์ เลขตัวถังรถ เลขคัสซี ไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง อาจไม่ผ่านการตรวจสภาพ
โดยขั้นตอนการตรวจสภาพรถยนต์ จะมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. ตรวจความปลอดภัยภายใน ขั้นตอนต่อไปเจ้าหน้าที่จะตรวจเช็กภายในตัวรถ เช่น หน้าปัด พวงมาลัย กระจกมองหน้าหลัง เข็มขัดนิรภัยสวิตช์ควบคุมไฟสัญญาณ แตรสัญญาณฯลฯ ว่ายังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
2. ตรวจความปลอดภัยภายนอก เช่น ตรวจล้อ ยางรถยนต์ กันชน ประตู รวมทั้งการตรวจเช็กใต้ท้องรถ ตรวจเช็กระบบต่าง ๆ โช้ค แหนบ เพลา โครงสร้างตัวถัง ฯลฯ ว่ายังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานปกติ
3. ตรวจเครื่องยนต์ ขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจเช็กระบบควบคุมรถ โดยจะตรวจทั้งศูนย์ล้อและทดสอบระบบเบรก แรงเบรก ทั้งเบรกมือ เบรกเท้า
4. ตรวจวัดระบบไฟ จะเป็นการวัดระยะแสงไฟรถ ตรวจวัดไฟสูง และไฟต่ำ
5. ตรวจวัดค่าก๊าซ ด้วยการเช็กค่าคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน ขณะเครื่องยนต์เดินเบา และตรวจวัดปริมาณควันดำ จากปลายท่อไอเสีย
6. ตรวจวัดระดับเสียงจากท่อไอเสีย ที่ความเร็วของรอบเครื่องยนต์ประมาณ 3 ใน 4 โดยค่าระดับเสียงสูงสุด จะต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล เอ
7. รับใบตรวจสภาพรถยนต์ เมื่อผ่านกระบวนการตรวจสภาพรถยนต์เสร็จแล้ว เจ้าของรถจะได้รับใบรายงานผล เพื่อนำไปเป็นหลักฐานการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี โดยจะมีอายุ 3 เดือนนับจากวันตรวจสภาพรถ
หลังจากตรวจสภาพรถยนต์เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถไปต่อภาษีรถประจำปีได้ที่กรมการขนส่งทางบก หากไม่สะดวกเดินทาง ก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก ที่สำคัญการต่อภาษีประจำปี ต้องมีรายละเอียดหลักฐาน พ.ร.บ. โดยสามารถซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ ออนไลน์ง่าย ๆ ที่อินชัวร์เวิร์สเลย ราคาถูกกว่าชัวร์ แถมซื้อแล้วข้อมูลยังส่งตรงถึงกรมขนส่งทันที ต่อภาษีได้เลย พ.ร.บ. รถเก๋งแค่ 569 บาทเท่านั้น
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
วันปลอดรถยนต์โลก (World Car Free Day) เป็นวันสำคัญที่หลายประเทศรณรงค์ให้ผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคัน หันมาใช้รถสาธารณะเพื่อลดการปล่อยไอเสีย
การได้รับบาดเจ็บ, สูญเสียอวัยวะหรือชีวิตเพราะโดนรถชนไม่ใช่เหตุการณ์ที่ควรเกิดขึ้นกับใครทั้งสิ้น! แต่อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยากมากๆ
ใครตกรถไม่ได้ลงทะเบียนผ่านแอปฯ ทางรัฐเชิญทางนี้! เพราะ insurverse ผู้นำด้านการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ จะมาบอกข้อมูลที่คุณจำเป็นต้องรู้! ตั้งแต่เริ่ม