สำหรับใครที่มีแผนจะไปเที่ยวญี่ปุ่น นอกจากแพลนเที่ยว กิน ช้อปปิ้งแล้ว เรื่องสุขภาพก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะถ้าเกิดป่วยขึ้นมากะทันหัน จะได้รู้ว่าควรทำยังไง และต้องไปโรงพยาบาลแบบไหน ญี่ปุ่นมีระบบโรงพยาบาลที่ค่อนข้างเป็นระเบียบมาก มีทั้งคลินิก โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลรัฐ ซึ่งแต่ละที่มีวิธีเข้ารับการรักษาแตกต่างกันออกไป แถมยังมีเงื่อนไขเรื่องบัตรประกันสุขภาพและค่าใช้จ่ายที่ต้องรู้ล่วงหน้า
แต่ถ้าเกิดคุณกำลังกังวลว่าถ้าไปเที่ยวญี่ปุ่นแล้วเกิดป่วยขึ้นมา ต้องเข้า โรงพยาบาลญี่ปุ่น จะเคลมได้รึเปล่า ไม่ต้องห่วง เพราะถ้ามี ประกันเดินทาง จาก insurverse ที่ช่วยได้ทั้งอาการเจ็บป่วย อุบัติเหตุต่าง ๆ แถมยังมีทีมงานซัพพอร์ตตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย
ที่ญี่ปุ่นมีสถานพยาบาลอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ คลินิก (クリニック) และ โรงพยาบาล (病院 – Byouin)
ระบบค่ารักษาของญี่ปุ่นค่อนข้างซับซ้อน เพราะขึ้นอยู่กับว่ามี บัตรประกันสุขภาพ (健康保険 – Kenkou Hoken) หรือไม่
แม้โรงพยาบาลในญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก แต่ก็มีหลายแห่งที่รองรับภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวหลัก ๆ อย่าง โตเกียว โอซาก้า และเกียวโต สามารถค้นหารายชื่อโรงพยาบาลที่มีบริการแปลภาษาหรือเจ้าหน้าที่ที่พูดภาษาอังกฤษได้จากลิงก์นี้:
ถ้าต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในญี่ปุ่น อย่าลืมเตรียมเอกสารเหล่านี้ไปด้วย
เที่ยวญี่ปุ่นให้สบายใจ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งเรื่องสุขภาพและโรงพยาบาลที่อาจต้องใช้บริการ การรู้จักประเภทของสถานพยาบาล ค่าใช้จ่าย และวิธีเข้ารับการรักษาจะช่วยให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้ง่ายขึ้น ถ้ามีแพลนไปเที่ยว แนะนำให้บันทึกรายชื่อโรงพยาบาลที่มีบริการภาษาต่างประเทศไว้ล่วงหน้า จะได้ไม่ต้องเสียเวลาหาเมื่อต้องการใช้บริการจริง
นอกจากนี้ อย่าลืม เช็กเบี้ยประกันเดินทาง จาก insurverse เพื่อให้การเดินทางทุกทริปของคุณได้รับการดูแลจากทีมงานตลอด 24 ชั่วโมง
โรงพยาบาลในญี่ปุ่นหลายแห่งรับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น โตเกียว โอซาก้า และเกียวโต ที่มีโรงพยาบาลที่รองรับภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม คลินิกหรือโรงพยาบาลเล็ก ๆ อาจไม่มีเจ้าหน้าที่ที่พูดภาษาอังกฤษได้ การเตรียมแอปแปลภาษา หรือการพกเอกสารแปลอาการป่วยเป็นภาษาญี่ปุ่นติดตัวไปจะช่วยให้การสื่อสารสะดวกขึ้น
มีโรงพยาบาลบางแห่งที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีแผนกฉุกเฉิน (ER – Emergency Room) เช่น St. Luke’s International Hospital ในโตเกียว หรือ Osaka General Medical Center ในโอซาก้า อย่างไรก็ตาม คลินิกทั่วไปมักเปิดทำการช่วงกลางวันและปิดในช่วงค่ำ ดังนั้นหากต้องการเข้ารับการรักษานอกเวลาทำการ ควรเช็กโรงพยาบาลที่มีแผนกฉุกเฉินล่วงหน้า
สามารถเข้ารับการรักษาได้ แต่จะต้องจ่ายค่ารักษาเต็มจำนวน ซึ่งอาจสูงมากขึ้นอยู่กับประเภทของการรักษา หากเป็นกรณีฉุกเฉิน ควรขอใบเสร็จและเอกสารทางการแพทย์เพื่อใช้ยื่นขอคืนเงินจากประกันสุขภาพที่ประเทศต้นทางหรือบริษัทประกันเดินทางที่สมัครไว้
ยาในญี่ปุ่นมีสองประเภทหลัก คือ ยาที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ (処方せん – Shohousen) และยาที่ซื้อได้ทั่วไป (市販薬 – Shihanyaku) หากเป็นอาการไม่รุนแรง เช่น ไข้หวัด ปวดศีรษะ หรืออาการแพ้บางอย่าง สามารถหาซื้อยา OTC ได้จากร้านขายยาทั่วไป เช่น Matsumoto Kiyoshi หรือ Sugi Pharmacy แต่หากต้องการยาที่แรงขึ้น หรือยาปฏิชีวนะ ต้องไปพบแพทย์เพื่อรับใบสั่งยา
โรงพยาบาลใหญ่และคลินิกบางแห่งสามารถรับบัตรเครดิตได้ แต่โรงพยาบาลเล็ก ๆ และร้านขายยาอาจรับเฉพาะเงินสด ดังนั้น ควรพกเงินสดติดตัวเสมอเพื่อความสะดวกในการชำระค่ารักษาพยาบาลและค่ายา
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นเรื่องที่หลายคนตื่นเต้น โดยเฉพาะเวลาวางแผนท่องเที่ยวหรือเดินทางไปต่างประเทศ แต่ทันทีที่มาถึงปลายทาง คุณกลับต้องยืนงงหน้าสายพาน เพราะ “กระเป๋าเดินทางหาย”
การเดินทางไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดขึ้นบ้าง ดังนั้นนักท่องเที่ยวมาหาแนวทางรับมือกับเหตุการณ์เครื่องบินดีเลย์กันดีกว่า
ข้อดีของการทำประกันต่างประเทศแบบรายปีมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ความคุ้มครองตลอดปี ความสะดวกสบาย ความคุ้มครองที่ครอบคลุม