vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
กลิ่นในรถแบบไหน บอกอันตรายที่คนขับรถควรระวัง!

6 กลิ่นในรถ อันตรายที่คนขับรถต้องระวัง

schedule
share

รถยนต์เป็นยานพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางแทบทุกวัน ทำให้การสึกหรอเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่จะต้องนำรถยนต์ไปตรวจเช็กตามระยะทางที่กำหนดกับทางศูนย์บริการ หรืออู่ซ่อมที่ไว้ใจได้ เพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างใช้งานรถ แต่บางครั้งอาการบางอย่างก็อาจจะตรวจเช็กได้ยาก มีเพียงแต่คนที่ใช้รถเป็นประจำทุกวันเท่านั้นที่อาจสังเกตเห็นได้เอง โดยเฉพาะในเรื่องของกลิ่นในรถ อย่างเช่นรถมีกลิ่นไหม้ และกลิ่นอับในรถแบบแปลกๆ ซึ่งล้วนเป็นอาการที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจจะซ่อนอันตรายในการใช้รถแบบคาดไม่ถึง วันนี้ทาง insurverse เรามีไขข้อสงสัย ว่ากลิ่นแบบไหนในรถที่เป็นสัญญาณเตือนอันตรายที่ต้องตรวจเช็ก 

6 กลิ่นในรถ สัญญาณบอกอันตราย

สิ่งหนึ่งที่คนใช้รถต้องหมั่นสังเกตอยู่เป็นประจำ คือทุกครั้งที่ขึ้นมาในตัวรถ ก่อนจะทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ และเปิดเครื่องปรับอากาศใช้งาน ให้ลองทำการดมกลิ่นภายในห้องโดยสารให้ดีก่อน ว่าแปลกไปจากเดิมไหม เพราะนี่ก็เป็นวิธีป้องกันเบื้องต้นที่ดี หากกลิ่นแปลกไปจากเดิม แต่หาคำอธิบายได้ไม่ถูก ลองมาดู 6 กลิ่นที่เป็นสัญญาณเตือนนี้กันดีกว่า ว่ามันใช่กลิ่นอับในรถธรรมดาไหม หรือรถมีกลิ่นไหม้ที่กำลังเป็นอันตรายอยู่ 

1. กลิ่นไหม้

รถมีกลิ่นไหม้ มักจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นในขณะที่ใช้งานรถอยู่มากกว่าการจอดตามปกติ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาการผ้าเบรกกำลังมีปัญหา ระบบไฟฟ้าภายในรถชำรุดอย่างฟิวส์ขาด หรืออาจจะเป็นที่คอมเพรสเซอร์แอร์ร้อนจัด โดยกลิ่นจะมีความคล้ายกับพลาสติกไหม้อยู่ จึงควรนำรถเข้าจอดข้างทาง หรือนำเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็กทันที 

2. กลิ่นน้ำมันเชื้อเพลิง

กลิ่นน้ำมันเชื้อเพลิงในสตารท์เครื่องยนต์ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติเพราะการเผาไหม้ยังไม่สมบูรณ์ แต่ในกรณีที่ได้กลิ่นน้ำมันเชื้อเพลิงขณะขับอยู่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่านี่ไม่ใช่อาการปกติ และอาจจะมีการรั่วซึมของน้ำมันเชื้อเพลิงที่จุดในจุดหนึ่งอยู่ ซึ่งอาจจะเกิดได้จากฝาถังน้ำมันหลวม ถังน้ำมันรั่ว น้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์รั่ว หรืออาจจะเกิดความผิดปกติที่ท่อไอเสีย ให้ทำการนำรถยนต์ไปเช็กอาการโดยด่วน เพราะมีความอันตรายในการใช้งานสูง 

3. กลิ่นเหม็นอับ

กลิ่นอับในรถ หากไม่ใช่จากการนำอาหาร หรือของกินที่มีกลิ่นแรงเข้าในรถ แต่เกิดขึ้นทุกครั้งในช่วงที่สตาร์ทรถ และเปิดที่ปรับอากาศ อาการนี้อาจจะเกิดขึ้นจากเชื้อราบริเวณกรองแอร์ หรือส่วนอื่นๆ ในระบบการทำงานที่ไม่ได้เปลี่ยนตามอายุการใช้งาน จึงเกิดการหมักหมมของสิ่งสกปรก และปล่อยกลิ่นอับออกมา วิธีแก้เบื้องต้นให้ทำการเร่งลมแรงให้แรงที่สุด และเปิดหน้าต่างในการระบายกลิ่นในรถออกสู่ด้านนอก ก่อนทำการนำรถยนต์ไปตรวจเช็กระบบแอร์อีกที 

4. กลิ่นน้ำเชื่อม

อีกหนึ่งกลิ่นที่หลายคนมักจะมองข้าม คือกลิ่นหวานเหมือนน้ำเชื่อม ที่อาจจะเกิดขึ้นจากหม้อพักน้ำหล่อเย็นรั่วซึม ซึ่งดูเหมือนจะไม่ได้อันตราย แต่เป็นอีกจุดที่สามารถเรียกกองทัพมด หรือสัตว์ตัวเล็กอย่างหนูเข้ามาในห้องเครื่องยนต์ได้ ซึ่งจะบานปลายไปถึงการกัดระบบสายไฟต่างๆ จนเสียหายหนักกว่าเดิมได้เช่นกัน จึงควรนำรถไปตรวจเช็กระบบระบายความร้อนว่ามีจุดไหนที่เสียหายเกิดขึ้นรึเปล่า 

5. กลิ่นฉุน

กลิ่นเหม็นฉุน เป็นอีกหนึ่งอาการที่เกิดขึ้นได้จากท่อแคท หรือท่อไอเสียรถยนต์ที่กำลังมีปัญหา เพราะท่อนี้มีหน้าที่ในการบำบัดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ที่ฉุน ให้กลายเป็นก๊าซไนโตรเจน และออกซิเจนที่ไม่เป็นอันตรายในการสูดดม หากมีการชำรุดเกิดขึ้น บวกกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้มีกำมะถันสูงร่วมเข้าไปด้วยแล้ว จะทำให้เครื่องยนต์ปล่อยมลพิษออกมาจนแสบจมูกอย่างที่เรารู้สึกได้ จึงควรหมั่นตรวจเช็กระบบไอเสียให้ดีเช่นกัน 

6. กลิ่นควันไอเสีย

กลิ่นควันไอเสีย ไม่เพียงแต่เป็นสัญญาณเตือนของระบบการทำงานท่อไอเสียรั่ว แต่อาจจะบ่งบอกถึงปัญหาของซีลตัวรถตามหน้าต่าง หรือขอบประตูที่กำลังเสื่อมสภาพ จนทำให้กลิ่นดังกล่าวเล็ดลอดเข้ามา ซึ่งเป็นอีกจุดที่ต้องระวังเมื่อเข้าสู่หน้าฝนด้วย จึงเป็นอีกหนึ่งอาการที่ไม่ควรปล่อยผ่าน และนำรถไปตรวจเช็กแก้ไขให้ดี 

สรุปบทความ 6 กลิ่นในรถ อันตรายที่คนขับรถต้องระวัง

กลิ่นในรถไม่พึงประสงค์เหล่านี้ ล้วนเป็นสัญญาณเตือนอันตรายที่ผู้ใช้รถทุกคนไม่ควรปล่อยผ่าน เพราะนี้อาจหมายถึงการทำงานที่ผิดพลาดของตัวรถจนอาจทำให้เกิดอุบัติได้ นอกจากการหมั่นสังเกตอาการรถยนต์ที่คุณใช้งานอยู่เป็นประจำจะเป็นเรื่องที่จำเป็นแล้ว การเลือกทำประกันรถยนต์ ก็เป็นอีกตัวช่วยที่ตอบโจทย์ในการคุ้มครองรถของคุณแบบสบายหายห่วงได้เช่นกัน เพราะเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดอย่างกรณีรถยนต์ไฟไหม้จากขัดข้องของระบบเชื้อเพลิง หรือสายไฟภายในที่ทำให้เกิดประกายไฟขึ้นมา หากไม่มีประกันรถยนต์ช่วยคุ้มครองในจุดนี้ คุณอาจจะต้องหมดเงินก้อนในการซื้อรถใหม่ทั้งคันไปเลยก็ได้ 

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)