เชื่อว่าผู้ขับขี่ส่วนใหญ่เลือกที่จะทำประกันรถยนต์เพื่อจุดประสงค์ในการแบ่งเบาภาระในเรื่องค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้รถใช้ถนน ซึ่งอาจจะเป็นอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีและไม่มีคู่กรณี หรือการเกิดขึ้นของภัยธรรมชาติต่าง ๆ ที่อาจจะคาดเดาได้ยาก เพราะแม้ว่าเราจะระมัดระวังตัวเป็นอย่างดีแค่ไหน แต่ขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งการทำประกันนอกจากจะช่วยในส่วนของค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถแล้วยังช่วยในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชย ค่าประกันคนขับได้อีกด้วย
หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่าทำไมถึงมีการถูกยกเลิกประกันจากบริษัทได้ ซึ่งปกติแล้วบริษัทประกันภัยสามารถปฏิเสธที่จะให้ความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์แก่ผู้ขับขี่รถยนต์ได้ด้วยเหตุผลหลายประการ ไม่ใช่ว่าจู่ ๆ จะถูกยกเลิกโดยไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นเลย วันนี้เราจะพามาดูเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจทำให้ประกันถูกยกเลิกได้ เพื่อให้คุณได้ระมัดระวังมากยิ่งขึ้น
ในการทำประกันในทุกบริษัทจะมีการเก็บข้อมูลส่วนตัวเป็นปกติอยู่แล้ว หากคุณให้ข้อมูลที่ไม่ตรงตามความจริง ไม่ว่าจะเป็นการปกปิดหรือบิดเบือนข้อมูล เมื่อมีการตรวจพบในภายหลังก็จะถูกยกเลิกและไม่ได้รับการคุ้มครองใด ๆ จากบริษัท
การจ่ายเบี้ยประกันล่าช้าก็อาจทำให้ถูกยกเลิกได้เช่นกัน และบริษัทส่วนมากจะมีการแจ้งวันครบกำหนดชำระให้ทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว อย่าลืมตรวจสอบวันครบกำหนดให้ดี
การเคลมประกันบ่อยเกินไป นอกจากจะทำให้เบี้ยประกันในปีถัดไปสูงขึ้นแล้ว ยังมีโอกาสถูกยกเลิกกรมธรรม์อีกด้วย ซึ่งทางบริษัทมีสิทธิ์แจ้งยกเลิกในปีถัดไป หรือขอยกเลิกก่อนหมดเวลาคุ้มครอง เนื่องจากอาจถูกพิจารณาว่าเป็นผู้ที่มีการขับขี่ไม่ปลอดภัย และอาจร้ายแรงถึงขั้นถูก Black List ได้เช่นกัน
เมื่อเกิดการเคลมประกันที่ผิดปกติ หรือไม่สมเหตุสมผล และหากพิจารณาแล้วพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นจริงก็จะถูกโดนยกเลิกประกัน
หากพบว่ามีการทุจริตในการเคลมประกันเกิดขึ้นจริง ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะถูกยกเลิกประกันทันที และนอกจากจะถูกยกเลิกแล้วอาจถูกฟ้องร้องด้วย
การถูกยกเลิกประกันอาจไม่ได้จบเพียงแค่หมดสิทธิ์ในการได้รับความคุ้มครองเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์หรือสาเหตุที่ทำให้ถูกยกเลิก ซึ่งก็อาจถูก Black List หรือฟ้องร้องค่าเสียหายเลยก็ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อซื้อประกันรถยนต์ที่ดีและเหมาะสมแล้วก็ควรจะปฏิบัติให้ถูกต้องและไม่ประมาทจะดีที่สุด
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง