พ.ร.บ. รถเก๋ง เป็นประกันภัยภาคบังคับ ที่รถทุกคันบนท้องถนนต้องมีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งหากขาดต่อ ก็จะทำให้ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และจะมีโทษทางกฎหมายร่วมด้วยเช่นกัน ส่วนใครที่จำไม่ได้ว่า พ.ร.บ. รถเก๋ง ราคาเท่าไหร่ แม้จะต้องต่อทุกปี หรือใครที่ขาดต่อจนลืมไปแล้ว วันนี้เรามีข้อมูลเรื่องการต่อ พ.ร.บ. แบบครบถ้วนมาฝากกัน
พ.ร.บ. รถเก๋ง จะมีความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเพียง 1 ปีเท่านั้น จึงจำเป็นจะต้องต่ออายุทุกปี เพราะต้องใช้เป็นหลักฐานในการยื่นต่อภาษีรถยนต์ประจำปีด้วยเช่นกัน ซึ่งหากขาดต่ออายุ ก็จะมีโทษปรับตามกฎหมายหากโดนเรียนตรวจ
เมื่อ พ.ร.บ. รถเก๋งหมดอายุ ควรทำการต่อในทันที เพราะเราไม่รู้ว่าอุบัติจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อย่างน้อยการมีประกันภัยภาคบังคับส่วนนี้ ก็ยังให้ความคุ้มครองเบื้องต้นได้ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุหนักเบา แต่หากขาดต่อเป็นระยะเวลานาน ก็อาจจะมีเงื่อนไขที่มากขึ้นในการยื่นต่อใหม่ ซึ่งจะแตกต่างกันไป ดังนี้
หากขาดต่อ พ.ร.บ. รถเก๋งไม่เกิน 1 ปี สามารถยื่นต่อได้ทันทีโดยไม่เสียค่าปรับ แต่อาจโดนปรับในส่วนของภาษีรถยนต์แทน
หากขาดต่อ พ.ร.บ. รถเก๋งเกิน 2 ปีขึ้นไป จะต้องนำรถไปตรวจสภาพที่กรมขนส่งทางบก พร้อมเดินเรื่องต่อทะเบียนรถใหม่ เสียค่าปรับ และค่าใช้จ่ายเพิ่มในการต่อภาษี ตรวจเช็กสภาพ และค่าจดทะเบียนร่วมด้วย โดยจะต้องใช้เอกสารทั้งหมด ดังนี้
หากขาดต่อ พ.ร.บ. รถเก๋งเกิน 3 ปีขึ้นไป รถอาจถูกระงับป้ายเทียนในการใช้งาน ทำให้จะต้องไปยื่นจดทะเบียนใหม่ พร้อมกับการเสียค่าปรับ และอาจมีการเรียกเก็บค่าภาษีย้อนหลังร่วมด้วย และจำเป็นจะต้องใช้เอกสารในการดำเนินเรื่องทั้งหมด ดังนี้
หากโดนตรวจพบว่าขาดต่อ พ.ร.บ. รถเก๋ง จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งจะส่งผลให้ทำการต่อภาษีไม่ได้ไปด้วย และหากตรวจพบว่าขาดต่อภาษีรถยนต์ ก็จะโดนโทษปรับ 400 – 1,000 บาท อีกด้วยเช่นกัน
ในส่วนของความคุ้มครองที่ได้รับจาก พ.ร.บ. รถเก๋ง จะแบ่งออกเป็นสองกรณี โดยจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดทั้งหมด ดังนี้
หลายคนอาจจะยังสงสัย ว่าการต่อพ.ร.บ. รถยนต์ มีช่องทางอะไรบ้าง และจำเป็นจะต้องขับรถออกไปต่ออยู่เหมือนเดิมหรือเปล่า เรามาดูกันว่าตอนนี้สามารถต่อได้กี่ช่องทาง
การต่อ พ.ร.บ. ที่กรมขนส่งทางบก จะมีตัวแทนประกันภัยที่ดูแลในเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพียงแค่ทำการเล่มทะเบียนรถพร้อมคำร้องไปตามขั้นตอน และชำระค่าธรรมเนียมตามปกติ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน
อีกช่องทางหนึ่งที่ค่อนข้างจะสะดวกสบายมากกว่า โดยไม่จำเป็นต้องขับรถออกไปเอง ก็คือการต่อ พ.ร.บ. กับทางกรมขนส่งทางบกแบบออนไลน์ แต่จะมีข้อกำหนดตรงที่ ต่อต้องล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน โดยสามารถกรอกข้อมูลรายละเอียดรถ และพ.ร.บ. ที่มีอยู่ลงในระบบผ่านช่องทางออนไลน์ ก็สามารถต่อได้ทันที
หากอยากต่อ พ.ร.บ. รถเก๋ง อย่างสะดวกสบาย ไม่ปวดหัวกับความยุ่งยาก เลือกต่อกับทาง insurverse นั้นตอบโจทย์กว่า เพราะการันตีราคาที่ถูกกว่า ให้ความคุ้มครองทันที และสามารถนำกรมธรรม์ออนไลน์ไปต่อภาษีได้เลย และยังมีบริการแจ้งเตือนก่อนหมดอายุเพิ่มให้ด้วย ทำให้การขาดต่อ พ.ร.บ. กลายเป็นเรื่องที่ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป
การต่อพ.ร.บ. รถยนต์ ราคา จะอยู่ที่ 600 บาท สำหรับรถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 ที่นั่ง และสำหรับรถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง จะอยู่ที่ 1,100 บาท ในการต่ออายุ แต่หากเป็นการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กับ insurverse ทางออนไลน์ จะมีค่าต่อ พ.ร.บ. เริ่มต้นเพียง 569 บาทเพียงเท่านั้นสำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง
การขาดต่อ พ.ร.บ. รถเก๋งเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยเด็ดขาด เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายในการใช้รถแล้ว ยังอาจส่งผลในเรื่องความคุ้มครองเบื้องต้นที่ควรจะได้รับอีกด้วย เพราะต้องไม่ลืมว่า อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้เสมอบนท้องถนนบ้านเรา หากใครเป็นคนขี้ลืมเป็นประจำ สามารถเลือกต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กับทาง insurverse ไว้ได้เลย เพราะเรามีบริการแจ้งเตือนก่อน พ.ร.บ. หมดอายุแบบสะดวกสุด ๆ ไปเลย
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เช็คประกันรถยนต์ฉบับคนขี้ลืมรู้ทันทีว่าทำประกันไว้ที่ไหน โดยไม่ต้องง้อเล่มกรมธรรม์ พร้อมหาคำตอบว่า ใครอีกบ้างที่เช็คประกันได้นอกจากเจ้าของรถยนต์
ต่ออายุประกันรถยนต์ เลือกยังไงให้คุ้มค่า ประหยัดค่าใช้จ่าย ชวนอ่านข้อควรรู้และระวังเพื่อต่อประกันรถยนต์ให้คุ้มค่าที่สุด ก่อนประกันรถยนต์หมดอายุ