vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
แจ้งว่างงานประกันสังคม

แจ้งว่างงานประกันสังคมออนไลน์รับเงินชดเชยง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน

schedule
share

      การแจ้งว่างงานประกันสังคมเป็นเรื่องที่คนทำงานหลายคน ที่อยู่ในระบบแรงงานต้องเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะต้องไปดำเนินการ เลยยังไม่ทราบรายละเอียดกันสักเท่าไหร่ว่าการลงทะเบียนว่างงานต้องทำอย่างไรบ้าง? แต่หากใครที่เพิ่งลาออกจากงานหรือว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยต่างๆ ให้รีบไปขึ้นทะเบียนไว้เพื่อรับเงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออกกันนะคะ เพราะนี่คือสิทธิที่ทุกคนจะได้รับจากประกันสังคม ซึ่ง insurverse จะพามาทำความเข้าใจเรื่องการลงทะเบียน ว่างงาน มาตรา 33 ว่ามีขั้นตอนอย่างไร? จะได้เงินชดเชยเท่าไหร่และได้เมื่อไหร่ จะได้เข้าใจกันอย่างถูกต้องค่ะ

woman-carrying-cardboard-box-side-view

ทำไมต้องขึ้นทะเบียนแจ้งว่างงานประกันสังคม 

      ตกงานแจ้งประกันสังคมยังไง? การขึ้นทะเบียนแจ้งว่างงานประกันสังคมเมื่อตกงานหรือลาออกจากงาน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยที่อยู่ในระบบแรงงานทุกคน ซึ่งเมื่อลาออกจากงานหรือมีเหตุให้ออกจากงานโดยสุดวิสัย คุณสามารถลงทะเบียนว่างงานประกันสังคมออนไลน์ มาตรา 33 เพื่อรับสิทธิเงินชดเชย สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในช่วงเวลาที่กำลังหางานใหม่ได้ 

      สำหรับคนที่สงสัยว่าลาออกจากงานกี่วันถึงจะแจ้งว่างงานได้? คำตอบคือ ตั้งแต่การว่างงานนับตั้งแต่วันที่ 8 เป็นต้นไป ก็สามารถแจ้งว่างงานประกันสังคมได้เลยค่ะ โดยต้องเข้าไปลงทะเบียนแจ้งผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน ภายใน 30 วัน นับจากการออกจากงานนะคะ เพื่อไม่ให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทนดังกล่าว

เงื่อนไขผู้ประกันตนที่สามารถลงทะเบียนว่างงานได้

  • ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ในช่วงเวลา 15 เดือน ก่อนจะว่างงาน
  • เป็นผู้ประกันตนที่ลาออกจากงาน ถูกเลิกจ้างหรือว่างงานโดยเหตุสุดวิสัย
  • มีการว่างงานมาแล้วเป็นเวลา 8 วันขึ้นไป
  • ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนแบบสมัครใจในมาตรา 39 
  • ไม่เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
  • ไม่ถูกเลิกจ้างในกรณีทุจริต, ทำผิดอาญา, ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือขาดงานเกิน 7 วัน 
  • มีความพร้อมในการทำงานและไม่ปฏิเสธการจัดหางาน 

วิธีลงทะเบียนว่างงานประกันสังคมออนไลน์

      การแจ้งว่างงานประกันสังคมในปัจจุบัน สามารถลงทะเบียนได้ง่ายๆ ผ่านระบบออนไลน์และหาข้อมูลเพิ่มเติมต่างๆ ได้ที่ www.sso.go.th ว่างงาน โดยไม่ต้องเสียเงินและเสียเวลาเดินทางไปแจ้งว่างงานที่สำนักงาน เพียงจัดการลงทะเบียนว่างงานประกันสังคมออนไลน์ มาตรา 33 ด้วยตัวเองอย่างสะดวกสบายผ่านเว็บไซต์ได้เลยค่ะ แล้วมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? ไปดูกันค่ะ

การขึ้นทะเบียนว่างงาน

      การแจ้งว่างงานประกันสังคม สามารถเข้าลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ที่หน้า https://e-service.doe.go.th/ ได้เลยค่ะ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  • ลงทะเบียนเข้าใช้งานตามขั้นตอนและกดยินยอมการให้ใช้ข้อมูลให้เรียบร้อย
  • หากต้องการแจ้งว่างงานประกันสังคม ให้เลือกหัวข้อ “ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน” และกดดำเนินการต่อ
  • กรอกข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ให้ครบถ้วนและเลือกเมนู “ขึ้นทะเบียนว่างงาน”
  • กรอกรายละเอียดต่างๆ ตามแบบฟอร์มการแจ้งว่างงานประกันสังคมให้ครบถ้วนและถูกต้อง
  • กรอกแบบคำร้องขอรับประโยชน์ทดแทนว่างงาน (สปส. 2-01/7)
  • แนบไฟล์หน้าสมุดบัญชีธนาคาร จากนั้นกดบันทึก ถือว่าการลงทะเบียนว่างงานออนไลน์เสร็จสิ้น

รายงานตัวว่างงานประกันสังคม

      การรายงานตัวว่างงานประกันสังคม สามารถรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน โดยหลังจากแจ้งว่างงานประกันสังคมแล้วจะต้องรายงานตัวเดือนละ 1 ครั้ง ตามตารางนัดหมายที่ได้มา ซึ่งจะต้องรายงานตัวทั้งหมด 6 ครั้ง  สามารถรายงานตัวก่อนล่วงหน้าได้ 7 วัน ก่อนวันนัดหรือหลังจากวันนัดไม่เกิน 7 วัน (รวมวันหยุด) 

ตรวจสอบสถานะ

      เมื่อแจ้งว่างงานประกันสังคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถเช็คเงินรายงานตัวว่างงานได้ผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th ว่างงาน โดยเข้าสู่ระบบแล้วเลือกหัวข้อ “ตรวจสอบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย” เพื่อเช็คสถานะยอดเงินและวันที่ได้รับอนุมัติสิทธิ์คุณก็จะสามารถทราบสถานะการดำเนินการได้ตลอดเวลาเลยค่ะ นอกจากนี้ยังสามารถเช็คสถานะผ่าน สายด่วนประกันสังคม 1506 กด 1 หรือแอปพลิเคชัน SSO Connect รวมทั้งสามารถติดต่อสำนักงานประกันสังคมติดต่อสำนักงานประกันสังคมสาขาใกล้บ้านได้ค่ะ

แจ้งว่างงานประกันสังคม ใช้เอกสารอะไรบ้าง

  1. แบบคำร้องขอรับประโยชน์ทดแทนว่างงาน(สปส. 2-01/7)
  2. หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือหนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
  3. รูปถ่าย 1 นิ้ว
  4. บัตรประชาชนและสำเนา
  5. หน้าสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์

แจ้งว่างงานประกันสังคมได้เงินเท่าไหร่

      การแจ้งว่างงานประกันสังคม ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลลาออกจากงานหรือถูกให้ออกงาน คุณก็จะได้รับเงินทดแทนในส่วนหนึ่งของรายได้ที่เคยได้รับ จากประกันสังคมที่เคยได้ส่งเงินสมทบไปทุกเดือนและหลังจากขึ้นทะเบียนแล้ว ยังสามารถใช้สิทธิ์การรักษาจากประกันสังคมต่อไปได้อีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน ส่วนรายละเอียดจำนวนเงินทดแทนที่จะได้รับมีดังนี้ค่ะ

กรณีลาออกจากงาน 

      สำหรับเงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออกจากงานเองหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้าง (รายได้สูงสุด 15,000 บาท) ไม่เกิน 90 วันต่อปี และจะต้องรายงานตัว 3 ครั้ง ด้วยกัน

กรณีโดนจ้างออก

      สำหรับเงินชดเชยประกันสังคม กรณีถูกเลิกจ้างหรือจ้างออก ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง (รายได้สูงสุด 15,000 บาท) ไม่เกิน 90 วันต่อปี และจะต้องรายงานตัว 6 ครั้ง ห้ามขาด หากได้งานใหม่แล้วต้องแจ้งตอนที่เข้ารายงานตัว

ลงทะเบียนว่างงานกี่วันได้เงิน

      หลังจากแจ้งว่างงานประกันสังคมเอาไว้แล้ว หากกรอกข้อมูลถูกต้องและยื่นเอกสารต่างๆ ครบถ้วนไม่ติดปัญหาใดๆ คุณก็จะได้รับการอนุมัติสิทธิ์และรับเงินทดแทนผ่านบัญชีธนาคารที่ได้ลงทะเบียนไว้กับระบบ ภายใน 7-15 วันทำการ (ไม่นับรวมวันหยุด) ซึ่งสามารถเช็คเงินรายงานตัวว่างงานผ่านช่องทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชม. และรอเงินเข้าอยู่ที่บ้านได้เลยค่ะ

woman-hands-on-keyboard-of-laptop-and-holding-credit-card

สรุป

      การแจ้งว่างงานประกันสังคมเพื่อรับเงินชดเชยการว่างงาน ทำให้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของการมีประกันต่างๆ เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในชีวิตขึ้น การขึ้นทะเบียนว่างงานจะได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคมที่ส่งไป เป็นการช่วยรองรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นตอนว่างงานนั่นเองค่ะ เช่นเดียวกับการทำประกันรถยนต์ คุณสามารถวางแผนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินได้ หมดกังวลเรื่องรายจ่ายที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว อีกทั้งปัจจุบันยังสามารถทำประกันต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็วอีกด้วยค่ะ หากต้องการเดินทางไปสำนักงานประกันสังคมอย่างปลอดภัยหรือเดินทางไปที่ไหน ถ้ายังไม่มีประกันติดรถ คุณสามารถเช็คเบี้ยประกันจาก insurverse ได้ผ่านเว็บไซต์และเลือกทำประกันรถยนต์ในรูปแบบออนไลน์ได้เลยค่ะ คุณจะได้รับความคุ้มครองทันทีตามความต้องการ หากทำประกันเอาไว้แล้ว ต่อจากนี้ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุที่ไหน? อย่างไร? insurverse พร้อมดูแลคุณตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ

Tags:
ประกันสังคม

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)