vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ

ไฟช็อต ไฟดูด ต่างกันยังไง โดนแล้วเป็นอะไรไหม

schedule
share
ที่มารูปภาพ : https://www.freepik.com/free-photo/top-view-solidarity-concept_12163695.htm

           ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ทำให้ชีวิตของเราสะดวกสบายขึ้น แต่ขณะเดียวกันหากไม่ระมัดระวังการสัมผัสพลังงานไฟฟ้าโดยตรงอย่าง ไฟช็อต หรือ ไฟดูด เป็นอันตรายอย่างรุนแรงได้ แต่หลายคนอาจยังไม่แน่ใจถึงความแตกต่างของอุบัติเหตุทั้งสองอย่างนี้ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการได้รับกระแสไฟฟ้าเข้าไปในร่างกาย บทความนี้จึงจะช่วยอธิบายอันตรายจากไฟฟ้าช็อตและไฟฟ้าดูด รวมถึงความสำคัญของการทำประกันอุบัติเหตุ เพื่อให้คุณใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและสามารถวางแผนรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดด้วยประกันอุบัติเหตุให้อุ่นใจมากยิ่งขึ้น 

ไฟช็อต ไฟดูด ปฐมพยาบาลยังไง

           ไฟช็อต เกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลไปตามวงจรปกติได้ เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผิดทางจะทำให้เกิดความร้อนสูงเกินไปจนก่อให้เกิดประกายไฟ ซึ่งสามารถนำไปสู่การเกิดไฟไหม้ได้ในที่สุด ส่วน ไฟดูด เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมนุษย์เข้าสู่วงจรไฟฟ้าทำให้เกิดการไหลเวียนของกระแสไฟฟ้าผ่านร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อระบบการทำงานของอวัยวะภายใน หากไม่ได้รับการช่วยเหลือทันท่วงทีก็เป็นสาเหตุนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด

           การปฐมพยาบาลผู้ที่โดนไฟช็อตและ ไฟดูด ทำได้ดังนี้

  1. ให้รีบนำผู้ที่ถูก ไฟช็อต หรือไฟดูดออกจากพื้นที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด โดยเริ่มจากการปิดเบรกเกอร์ไฟในบ้านหรืออาคาร จากนั้นใช้ผ้าหรือวัสดุที่เป็นฉนวนไม่นำกระแสไฟฟ้าเขี่ยสายไฟออกจากตัวก่อนนำตัวผู้ที่ถูกไฟช็อกหรือ ไฟดูด ออกจากพื้นที่เกิดเหตุ สิ่งสำคัญคือผู้ช่วยเหลือจะต้องระมัดระวังและป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้โดนกระแสไฟด้วย
  2. ตรวจสอบอาการบาดเจ็บอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นร่วมกัน เช่น การบาดเจ็บบริเวณศีรษะ กระดูกหัก เพราะหากมีอาการบาดเจ็บอื่นร่วมด้วยต้องระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายหรือพลิกตัว ไม่อย่างนั้นอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรง อย่างอัมพาตหรือเกิดความพิการได้
  3. ตรวจดูชีพจรว่ายังมีชีพจรหรือไม่ หากตรวจไม่พบชีพจรหรือหัวใจหยุดเต้นจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านต้องทำการปฐมพยาบาลโดยการนวดหัวใจทันที ระหว่างนี้ควรให้ผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงโทรแจ้ง 1669 
  4. นำผู้เกิดอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

โดนไฟช็อต ไฟดูด เป็นอะไรไหม

           เมื่อโดน ไฟช็อต หรือไฟดูดพลังงานไฟฟ้าจะไหลเข้าสู่ร่างกายไปตามอวัยวะต่าง ๆ อย่างหัวใจ กระดูก ช่องท้อง ระบบประสาท รวมถึงเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นถูกทำลาย หากไหลผ่านหัวใจจะทำให้เกิดคลื่นหัวใจเต้นผิดจังหวะจนนำไปสู่อาการหัวใจหยุดทำงาน หากไหลผ่านช่องท้องอวัยวะต่าง ๆ ในช่องท้องจะได้รับบาดเจ็บ หากไหลผ่านกล้ามเนื้อจะทำให้เกิดอาการปวด บวมตึง และกล้ามเนื้อบริเวณนั้นเสียหายจนอาจถึงขั้นพิการ

ไฟช็อต ไฟดูด เคลมประกันอุบัติเหตุได้หรือไม่

           ปรากฏการณ์ไฟช็อตและ ไฟดูด นับเป็นอุบัติเหตุที่คนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวและเกิดขึ้นได้บ่อย ตามปกติแล้วประกันอุบัติเหตุจะให้ความคุ้มครองในส่วนนี้ด้วย โดยคุ้มครองทั้งกรณีเสียชีวิตและค่ารักษาพยาบาล นอกจากนี้ยังรวมถึงอุบัติเหตุที่พบบ่อยอื่น ๆ อย่างโดนของมีคมบาด กระดูกหัก ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นต้น ในบางกรมธรรม์มอบความคุ้มครองชดเชยรายได้หากเกิดอุบัติเหตุแล้วต้องพักรักษาตัวจนทำให้สูญเสียรายได้หรือขาดงานด้วย

ทำอาชีพเสี่ยงไฟช็อต ไฟดูด ควรทำประกันแบบไหนดี

           หากทำอาชีพที่มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับไฟฟ้าควรทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลหรือประกันภัยพีเอ (PA) เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ขึ้นกับตัวเอง โดยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลจะมอบความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ จากอุบัติเหตุในชีวิตประจำวันและการทำงาน รวมถึงค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายวัน ซึ่งสามารถศึกษาและเปรียบเทียบความคุ้มครองจากหลาย ๆ บริษัทได้ อย่างไรก็ตามหากทำอาชีพมีความเสี่ยงค่าเบี้ยประกันจะสูงกว่าบุคคลกลุ่มอื่นที่ความเสี่ยงน้อยกว่า

           นอกจากนี้หากที่ทำงานมีสวัสดิการการทำประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่มแนะนำให้ทำเอาไว้ด้วยเพื่อความอุ่นใจ เพราะส่วนใหญ่การทำประกันกลุ่มเบี้ยประกันจะถูกกว่า แต่มอบความคุ้มครองให้อย่างเหมาะสม เป็นอีกหนึ่งแนวทางเพิ่มความอุ่นใจและความมั่นใจให้กับการทำงานที่หน้างานมีความเสี่ยง

           ส่วนประกันแบบอื่นที่สามารถทำเพิ่มเติมได้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในชีวิตแบบครบรอบด้านก็คือประกันสุขภาพและประกันชีวิต เพื่อลดภาระกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมถึงเพื่อส่งมอบเงินก้อนให้ครอบครัวหากเกิดอุบัติเหตุจนถึงขั้นเสียชีวิต

ข้อควรรู้ก่อนทำประกันคุ้มครองไฟช็อต ไฟดูด

           ก่อนทำประกันคุ้มครองอุบัติเหตุไฟช็อต ไฟดูด ควรปรึกษากับบริษัทประกันภัยหรือตัวแทนจำหน่ายเพื่อประเมินความเสี่ยงของตัวคุณก่อนเสมอ โดยแบ่งตามขั้นอาชีพ คือ 

  • อาชีพชั้น 1 : ลักษณะการทำงานเป็นงานออฟฟิศ ความเสี่ยงต่ำ ไม่ได้ทำงานใช้เครื่องจักร เช่น  พนักงานบริษัท ข้าราชการ แพทย์ เภสัชกร เป็นต้น
  • อาชีพชั้น 2 : ลักษณะการทำงานเป็นงานนอกสถานที่ ทำงานกลางแจ้ง หรือกลุ่มช่างฝีมือที่มีทักษะและความชำนาญ มีการใช้เครื่องจักรบ้างเป็นบางครั้ง เช่น วิศวกร ช่างไม้ เป็นต้น
  • อาชีพชั้น 3 : ลักษณะการทำงานเป็นงานที่ต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ ทำงานนอกสถานที่เป็นประจำ หรือผู้ใช้แรงงาน เช่น นักข่าว พนักงานขับรถ ไรเดอร์ พนักงานด้านการผลิต การขนส่ง เป็นต้น
  • อาชีพชั้น 4 : ลักษณะการทำงานเป็นงานความเสี่ยงสูง เช่น คนงานก่อสร้าง พนักงานรักษาความปลอดภัย ช่างซ่อมไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น

           การทำความเข้าใจเรื่องขั้นอาชีพมีความสำคัญต่อการทำประกันมาก เพราะส่งผลถึงการพิจารณาอนุมัติกรมธรรม์ รวมถึงค่าเบี้ยประกันที่คุณต้องจ่าย หากทำอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงเบี้ยประกันก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
อุบัติเหตุ ไฟช็อต และไฟดูดเป็นอันตรายที่เกิดขึ้นได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ดังนั้นคุณต้องรู้จักเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยง เรียนรู้วิธีเอาตัวรอดเบื้องต้น และทำประกันอุบัติเหตุไว้เพื่อความอุ่นใจจะดีที่สุด

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)