หลายคนน่าจะเคยอยากยกเลิกประกันภัยรถยนต์ที่ทำอยู่ และอยากเปลี่ยนไปใช้ประกันตัวอื่น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ การยกเลิกประกันภัยรถยนต์ไม่ได้มีข้อแม้อะไรมาก เพราะจะมีการคืนเงินแบบคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อค่าเบี้ยประกันรายปี โดยจะลดหลั่นกันไปตามระยะเวลาการคุ้มครองกรมธรรม์
การยกเลิกประกันภัยรถยนต์ หรือยกเลิกกรมธรรม์รถยนต์ หากเป็นการยกเลิกก่อนวันคุ้มครองโดยที่ยังไม่ได้ออกเอกสารตัวจริง การยกเลิกกรมธรรม์รถยนต์ก็จะสะดวกกว่า แต่หากเอกสารถูกออกมาแล้ว หรือถึงวันคุ้มครองตามกรมธรรม์เกิดขึ้น ก็จะมีเงื่อนที่แตกต่างออกไป ส่วนวิธีในการขอยกเลิกมีอะไรบ้าง เรามาดูกัน
หากตัดสินใจยกเลิกประกันภัยรถยนต์ก่อนถึงวันคุ้มครอง และยังไม่ได้รับตัวกรมธรรม์จากบริษัทประกันภัย เราสามารถโทรติดต่อบริษัทประกันภัย โบรกเกอร์ประกันภัย หรือตัวแทนขายประกันภัยที่เราเคยทำประกันด้วย พร้อมแจ้งชื่อผู้เอาประกัน ทะเบียนรถยนต์ และสาเหตุการขอยกเลิกประกันภัยรถยนต์กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะไม่มีค่าใช้จ่ายในการขอยกเลิก
แต่ถ้าการขอยกเลิกประกันภัยรถยนต์ มีเอกสารกรมธรรม์ตัวจริงส่งมาแล้ว แต่ยังไม่ถึงวันคุ้มครอง ก็สามารถทำเรื่องขอยกเลิกได้เหมือนกับแบบยังไม่ได้รับกรมธรรม์ และต้องส่งเอกสารกรมธรรม์คืนบริษัทประกันภัย ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยตามเงื่อนไขของกรมธรรม์แต่ละประเภท
แต่หากเราตัดสินใจยกเลิกประกันภัยรถยนต์หลังคุ้มครองไปแล้ว ก็สามารถทำเรื่องขอยกเลิกได้ไม่ต่างกับสองแบบแรก เพียงแต่จะมีระยะเวลาการรอเงินคืนที่นานกว่าเท่านั้นเอง
อีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัย คือ การยกเลิกประกันภัยรถยนต์ ได้เงินคืนเท่าไหร่ ต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ของบริษัทประกันแต่ละเจ้า แต่โดยส่วนมากจะมีการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อค่าเบี้ยประกันรายปี ซึ่งจะยิ่งลดน้อยลงตามจำนวนวันที่ประกันภัยคุ้มครองไปแล้ว
โดยส่วนมาก การขอเงินคืนจากการยกเลิกประกันภัยรถยนต์จะกินระยะเวลาไม่เกิน 1-2 เดือน ขึ้นอยู่กับขั้นตอนดำเนินการของบริษัทประกันภัยแต่ละเจ้า
หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่า ทำประกันรถยนต์ไปแล้วไม่สามารถยกเลิกได้ ซึ่งไม่เป็นความจริงแน่นอน ประกันภัยทุกประเภทสามารถขอยกเลิกได้ เพียงแต่จะมีขั้นตอนในการขอเงินคืนตามเงื่อนไขที่ไม่มีเหมือนกันตามแต่ละกรมธรรม์เท่านั้น
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง