สำหรับใครที่เดินทางโดยเครื่องบินไกลๆ แล้วยังไม่เคยต่อเครื่องบินหรือใครที่บินไปต่างประเทศครั้งแรก อาจจะมีมึนๆ บ้างเวลาที่จะต้องต่อเครื่องอีกลำ แน่นอนว่าเป็นประสบการณ์ที่ท้าทายมือใหม่เหลือเกิน ว่าจะต้องจัดการเวลาหรือสัมภาระยังไง ถึงจะทำให้การต่อเครื่องบินต่างประเทศเป็นไปได้อย่างราบรื่น! ไม่ตกเครื่อง! insurverse จึงอยากจะมาแนะนำวิธีการต่อเครื่องบินง่ายๆ ให้เดินทางไฟลท์ต่อไฟลท์ได้อย่างเซียน! ถึงจะไม่เคยบินมาก่อนก็ต่อเครื่องสุวรรณภูมิไปต่างประเทศหรือเลือกต่อเครื่องบินดอนเมือง ได้อย่างโปร! แล้ว Connecting Flight ทำยังไง? ตามไปดูข้อมูลกับ insurverse ได้เลยค่ะ จะได้เปลี่ยนเครื่องบินระหว่างทางได้อย่างคล่อง โดยไม่ต้องออกจากสนามบินกันค่ะ!
การเดินทางแบบต่อเครื่องบิน เป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักท่องเที่ยวมือใหม่ ถ้าไม่อยากให้การเดินทางเกิดปัญหา ควรจะทำตามทริคและขั้นตอนต่างๆให้ถูกต้อง ดังนี้
ควรมาถึงสนามบินก่อนเครื่องออก ประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อทำการเช็คอินกับสายการบินและเพื่อโหลดสัมภาระ สำหรับผู้โดยสารที่ต้องต่อเครื่องบินให้แจ้งเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับสัมภาระว่า Check Through เพื่อที่จะได้ไปรับกระเป๋าเดินทางที่ปลายทางได้เลย ไม่ต้องแวะรับกระเป๋าที่กลางทางในระหว่างที่กำลังต่อเครื่องบินนั่นเอง หลังจากนั้นคุณจะได้รับบัตรโดยสาร (Boarding Pass) สำหรับการเดินทางทั้งหมด เช่น ถ้าคุณต้องบินจากกรุงเทพฯ ไปยังนิวยอร์กโดยแวะพักที่โตเกียว คุณจะได้รับ Boarding Pass ทั้งจากกรุงเทพฯ ไปโตเกียวและจากโตเกียวไปนิวยอร์ก ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากในขั้นตอนต่อเครื่องบินได้เยอะเลยค่ะ
เมื่อเครื่องบินแลนดิ้งที่สนามบินกลางแล้ว ในช่วงที่คุณออกจากเครื่อง คุณจะสังเกตเห็นป้าย Transfer, Transit หรือ Connecting Flights ที่เจ้าหน้าที่นำมาติดหรือถือเอาไว้ เพื่อบอกจุดหมายปลายทางในการไปต่อเครื่องบิน ให้คุณเดินตามป้ายบอกทางนั้นไปขึ้นเครื่องใหม่ให้ทันเวลาหรือถ้าหากคุณมีเวลาพักเกิน 5 ชั่วโมง สามารถเดินทางไปเที่ยวรอบ ๆ พื้นที่ได้บริเวณใกล้เคียงสนามบินได้ แต่อย่าลืมเผื่อเวลากลับมาให้ทันขั้นตอนตรวจคนเข้าเมืองนะคะ เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจจะเสี่ยงตกเครื่องได้ค่ะ
การตรวจสอบช่องทางการขึ้นเครื่องไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยดูได้ที่จอแสดงผลเที่ยวบินหรือสอบถามกับเจ้าหน้าที่ วิธีนี้จะทำให้ผู้โดยสารไม่เกิดความสับสนเรื่องต่อเครื่องบินและยังทำให้ผู้โดยสารขึ้นเครื่องได้ทันเวลา
ในส่วนของสัมภาระอย่างยาหรือเอกสารการเดินทางให้พกติดตัวไว้ ให้เตรียมตัวให้ดีในขั้นตอนการของการตรวจสอบความปลอดภัย ทั้งนี้ในการเดินทางต่อเครื่องบิน ควรปฏิบัติตามขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด! ศึกษากฎของสายการบินและสนามบินให้ถี่ถ้วนเพื่อให้คุณผ่านขั้นตอนนี้ได้อย่างราบรื่น ไม่เสียเวลาจนเสี่ยงที่จะตกเครื่องบินค่ะ
ก่อนถึงเวลาเดินทางให้คุณตรวจสอบเลขที่นั่งและไฟลท์บินให้ดี หากเจ้าหน้าที่มีการเรียกผู้โดยสารขึ้นเครื่อง คุณจะได้ไม่พลาดค่ะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการเรียกผู้โดยสารนั้น จะเรียกที่นั่งชั้นธุรกิจหรือผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือขึ้นเครื่องก่อน จากนั้นจะเป็นผู้โดยสารทั่วไป คุณควรทำตามประกาศเหล่านั้นอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การต่อเครื่องบินต่างประเทศเป็นไปด้วยความราบรื่นและเรียบร้อย
ขึ้นเครื่องและมองหาที่นั่งของตัวเอง เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง ให้ตรวจสอบความปลอดภัยผ่านตม. เมื่อทุกอย่างราบรื่น ผู้โดยสารจะได้รับกระเป๋าเดินทางพร้อมกับสัมภาระ หลังจากนี้ก็เดินทางท่องเที่ยวได้เลย
Check Through คือ การส่งกระเป๋าสัมภาระของผู้เดินทางไปยังจุดหมายปลายทางสุดท้าย สมมติผู้โดยสารมีการต่อเครื่องบินสุวรรณภูมิต่างประเทศ ก็ไม่ต้องแวะรับกระเป๋าในช่วงต่อเครื่อง คล้ายๆ กับการฝากกระเป๋าให้เขาส่งไปรษณีย์ไปยังประเทศปลายทางยังไงยังงั้นเลยค่ะ
ทำไมต้องแจ้ง Check Through ก่อนเดินทาง? ก็เพราะว่าสายการบินต้องจัดการเรื่องสัมภาระของผู้โดยสารให้เรียบร้อยตั้งแต่ต้นทาง หากคุณไม่แจ้งว่าจะใช้บริการ Check Through คุณก็อาจจะต้องเสียเวลาเพื่อไปรับกระเป๋าในช่วงระหว่างต่อเครื่อง ซึ่งทำให้เสียเวลามากกว่าเดิมและเป็นกังวลด้วยค่ะ ดังนั้นเพื่อความสะดวกและง่ายต่อการเดินทาง การ Check Through คือสิ่งที่จำเป็นมากๆ ในการเดินทางต่อเครื่องบินต่างประเทศค่ะ
ต่อเครื่องบินทีไร เรียกว่าเป็นเรื่องตื่นเต้นทุกครั้ง เพราะมักจะมีเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ เช่นเที่ยวบินล่าช้า, เกตอยู่ไกลเดินไม่ทันหรือบางทีก็อาจจะเจอปัญหาเกี่ยวกับสัมภาระหรือด่านตรวจต่างๆ ที่ทำให้เสียเวลากว่าที่คิด ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการเดินทางก็คือ การซื้อประกันเดินทางต่างประเทศ เพราะจะช่วยลดความกังวลในขั้นตอนต่อเครื่องบินต่างประเทศให้กับคุณได้เป็นอย่างดี เช็คเบี้ยประกันเดินทางกับ insurverse รับประกันได้ว่าคุณจะได้ความอุ่นใจในการเดินทางคูณสอง ไม่ต้องกลัวว่าจะตกเครื่องหรือเกิดปัญหาระหว่างการต่อเครื่องสุวรรณภูมิหรือดอนเมือง เพราะประกันเดินทางเขาจะคุ้มครองความเสียหายให้คุณเกี่ยวกับเหตุไม่คาดฝันระหว่างเดินทางไปต่างประเทศด้วย ซื้อประกันติดตัวไว้อุ่นใจกว่าแน่นอนค่ะ แล้วคุณจะเที่ยวได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องห่วงเรื่องไม่คาดฝันอีกต่อไปค่ะ
ทีนี้มาดูกันว่าคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการต่อเครื่องบินมีอะไรบ้าง?
บินตรงกับต่อเครื่องบินต่างกันตรงที่ บินตรงคือ การเดินทางจากจุดเริ่มต้นไปยังประเทศปลายทางโดยไม่การเปลี่ยนเครื่อง ทำให้สะดวกสบายและใช้เวลาน้อยกว่า ในขณะที่การต่อเครื่องบินต่างประเทศ ผู้โดยสารจะต้องเผื่อเวลาในการต่อเครื่องระหว่างทางในสนามบินอื่น ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าเพราะต้องรอเปลี่ยนเครื่อง แต่เวลาต่อเครื่องบินส่วนใหญ่จะมาพร้อมค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า ทำให้คนนิยมเลือกเส้นทางที่มีการต่อเครื่องบิน
Transit หรือ Transfer เป็นสิ่งที่พบเจอได้บ่อยตอนต่อเครื่องบิน Transit คือการหยุดพักที่สนามบินกลางโดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง เป็นการนั่งรอเพื่อขึ้นเครื่องบินลำเดิมไปยังปลายทาง ส่วน Transfer คือการเปลี่ยนเครื่องระหว่างทาง เหมือนเวลาเดินทางด้วยรถยนต์แล้วต้องย้ายไปขึ้นรถคันใหม่ค่ะ
หากมีเวลาต่อเครื่องหลายชั่วโมง ตั้งแต่ 5 ชั่วโมงขึ้นไป คุณสามารถออกไปเที่ยวชมสถานที่ละแวกใกล้เคียงสนามบินได้ แต่ควรเผื่อเวลาสำหรับขั้นตอนของการตรวจคนเข้าเมืองและการตรวจความปลอดภัยให้เพียงพอ ไม่เช่นนั้นก็อาจจะมีสิทธิ์ตกเครื่องได้ค่ะ
จริงๆ แล้วการต่อเครื่องบินต่างประเทศโดยไปก่อน 1 ชั่วโมงเป็นอะไรที่ค่อนข้างเสี่ยงค่ะ เพราะคุณต้องเผื่อเวลาสำหรับการลงเครื่อง, เดินไปยังเกตใหม่และผ่านด่านตรวจต่างๆ ซึ่งอาจจะทันหรือไม่ทันก็เป็นได้ ดังนั้นวิธีการต่อเครื่องบินที่เซฟที่สุด ควรเผื่อเวลาต่อเครื่องบินไว้อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงจะดีกว่าค่ะ
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
ไม่อยากเสียสิทธิ์ต้องรีบเช็คสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ใครลงทะเบียนได้บ้าง insurverse พร้อมบอกรายละเอียดขั้นตอนการเตรียมตัวแบบเจาะลึก จบทุกประเด็น
แนะนำกันไปเลย 10 แอพแต่งรูปที่จะทำให้รูปคุณสวยแบบพี่สาวจีน เที่ยวที่ไหนก็มีแต่รูปสวย เหมือนพกช่างภาพส่วนตัวไปแต่งรูปให้ในทุกที่!
เช็คสิทธิ์รับเงินดิจิตอลเฟส 2 ตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดูรายละเอียดล่าสุดเกี่ยวกับ digital wallet 10,000 บาทได้ที่นี่