ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าร้อยละ 90 ของคนที่ออกเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ มักเลือกเดินทางด้วยการขึ้นเครื่องบิน แต่ทำไมพกโลชั่นไปทีไร เจ้าหน้าที่กลับไม่ให้นำขึ้นเครื่อง ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่เราจำเป็นต้องศึกษาเรื่องการพกของเหลว ขึ้นเครื่อง กี่ ml. แล้วเกิน 100 มิลลิลิตรได้ไหม แล้วมีของเหลวอะไรบ้างที่สามารถนำขึ้นเครื่องได้ ไปไขข้อสงสัยกันเลยดีกว่า
เป็นของเหลวที่สามารถพกขึ้นเครื่องได้ แม้ปริมาณเกิน 100 ml แต่เจ้าหน้าจะพิจารณาให้เป็นรายบุคคลไป เพื่อตรวจสอบปริมาณที่เหมาะสมในการใช้งานพอดีกับระยะการเดินทาง ไปดูกันว่าของเหลวที่ได้รับการยกเว้นมีอะไรบ้าง
คลายข้อสงสัยทำไมไม่สามารถที่จะนำของเหลวที่มีปริมาณเกินกว่า 100 ml ขึ้นเครื่องบินได้ นั่นเพราะของเหลวสามารถนำไปใช้เป็นสารประกอบในการทำระเบิดได้หรืออาจผสมสารบางอย่าง จึงทำให้ทางกรมการขนส่งทางอากาศในประเทศไทยจึงอนุญาตให้นำของเหลวขึ้นเครื่อง 100 ml ได้พอดีเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการบินภายในประเทศหรือระหว่างประเทศก็ตาม
หลายคนมีความสงสัย ทำไมของเหลวที่ซื้อจากร้านปลอดอากรที่สนามบิน สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ล่ะ ก็เพราะว่าของเหลวทุกชิ้น มีการผ่านการตรวจสอบส่งตรงจากท่าอากาศยาน ดังนั้นทางสนามบินจึงมีการอนุญาตให้นำขึ้นเครื่องบินได้ แต่ก็มีข้อกำหนดที่จะต้องบรรจุไว้แบบปิดผนึก ไม่มีร่องรอยของการแกะ การฉีกขาดและต้องแสดงหลักฐานว่ามีการซื้อในวันที่เดินทางไว้ชัดเจน
วางแผนเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ด้วยเครื่องบินต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการนำของเหลวขึ้นเครื่องไว้ด้วย เพราะแต่ละประเทศจะมีกฎที่มีความแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้แล้วการเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศเต็มไปด้วยความแปลกใหม่ที่แตกต่างจากบ้านเรา ดังนั้นขอแนะนำให้ทำประกันการเดินทางต่างประเทศเอาไว้ด้วย เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของตัวเราเอง คลิกเลือกซื้อแผนประกันเดินทางต่างประเทศจาก insurverse ได้ที่นี่ เริ่มต้นเพียงหลักสิบ แต่คุ้มครองสูงสุดถึงหลักล้าน รับรองได้รับความคุ้มครองแบบจัดเต็มอุ่นใจทุกการเดินทาง
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การมีบ้านสักหลังเป็นของตัวเองเป็นความฝันของใครหลายคน แต่การต้องผ่อนบ้านยาวนาน 20-30 ปี อาจทำให้รู้สึกเหมือนแบกภาระก้อนใหญ่ไว้ตลอดชีวิต การโปะบ้านจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ปลดหนี้ได้เร็วขึ้น
การเดินทางทางอากาศมีตัวเลือกมากมาย ทั้งสายการบิน Full Service และ Low Cost แต่ละแบบมีข้อดีต่างกัน ขึ้นอยู่กับสไตล์การเดินทางของแต่ละคน
ใครที่เดินทางบ่อย ๆ คงเห็นป้าย "ผู้โดยสารขาเข้า" และ "ผู้โดยสารขาออก" ในสนามบินจนชินตา แต่เคยสงสัยไหมว่าทำไมต้องแบ่งแบบนี้? จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่แค่การบอกว่าใครกำลังมาหรือไป แต่ยังมีรายละเอียดอีกเพียบที่หลายคนไม่เคยรู้