ทุกคนที่มีรถยนต์คงเข้าใจกันอยู่แล้วว่า พ.ร.บ.รถยนต์ 2522 มีความสำคัญ ช่วยให้ผู้ที่มีรถได้รับความช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินไม่คาดฝันบนท้องถนน สำหรับผู้ซื้อรถคันแรกหรือเพิ่งจะขับรถอาจยังไม่เข้าใจว่า พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร ทำไมต้องต่อทุกปี เราคัดสรรสาระความรู้มาแนะนำกัน 5 ข้อ ดังนี้
เจ้าของรถยนต์มือใหม่อาจจะยังไม่รู้จัก พ.ร.บ.รถยนต์ 2522 หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันต้องจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกเพื่อใช้เป็นหลักประกันให้ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึงคนเดินเท้า ได้รับความคุ้มครอง พร้อมรับเงินค่ารักษาพยาบาลในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือประสบภัยจากรถได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะได้รับความเสียหาย บาดเจ็บ ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต
โดยทั่วไป พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประกันภัยภาคบังคับที่แบ่งความคุ้มครองออกเป็น 2 กรณี คือ ค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทน ดังนี้
คำตอบคือ ไม่เหมือนกัน
หากรถยังไม่มี พ.ร.บ. หรือหมดอายุแล้วไม่ต่อ ก็ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ กรณีเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถต้องจ่ายค่าปรับ รวมถึงต้องจ่ายค่าเสียหายและค่าชดเชยด้วยตัวเอง ไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ ทั้งสิ้น
การทำ พ.ร.บ.รถยนต์ สามารถทำได้ทั้งแบบออฟไลน์และแบบออนไลน์ กรณีออฟไลน์สามารถเดินทางไปต่อ พ.ร.บ. ได้ที่ กรมการขนส่งทางบก, สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ, โบรกเกอร์ประกันภัย, บริษัทประกันภัยทั่วไป, ที่ทำการไปรษณีย์, ห้างสรรพสินค้าอย่าง โลตัส (Lotus) และ บิ๊กซี (Big C) ทั่วประเทศ, ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11, และเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ ผ่านทางออนไลน์ได้เลย
อ่านมาถึงตรงนี้คงพอทราบกันแล้วว่า พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร ถ้าจะให้สะดวกก็ดำเนินการต่ออายุของ พ.ร.บ พร้อมกับต่อภาษีรถยนต์ควบคู่กันไปได้เลย สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ insurverse คลิกเช็กเบี้ย พ.ร.บ. ได้ที่นี่!
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย
ทุกคนนน!! วันนี้มีเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับเจ้าของรถทุกคนมาบอกต่อ! ซึ่งก็คือ เรื่องของการต่อประกันภัยภาคบังคับหรือที่เรียกติดปากว่าการต่อพ.ร.บ.