แน่นอนว่าการต่อภาษีรถยนต์และการต่อพ.ร.บ.รถกระบะหรือปิกอัพจำเป็นต้องทำเป็นประจำทุกปีตามกฎหมาย แต่จะดีกว่ามั้ยหากดำเนินการทีเดียวแล้วเสร็จเลย ไม่ต้องมัวมากังวลว่าต้องต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์หรือพ.ร.บ.วันไหนหรือต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าเดือนอะไร? กำลังสงสัยใช่มั้ยว่าสามารถทำได้ยังไง? เดี๋ยวเราจะพาไปดู พร้อมแนะนำขั้นตอนการเตรียมตัวและสิ่งที่ต้องรู้ก่อนต่อพ.ร.บ.และต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์
การต่อภาษีรถยนต์และการต่อพ.ร.บ.สามารถทำพร้อมกันหรือไม่พร้อมกันก็ได้ เพราะตามหลักแล้วการต่อภาษีหรือต่อพ.ร.บ.ในครั้งถัดไปต้องอ้างอิงจากการต่อครั้งล่าสุดของการต่อพ.ร.บ. (ต้องต่อพ.ร.บ.ก่อนถึงจะยื่นต่อภาษีได้) เช่น พ.ร.บ.หมดอายุเดือนมกราคม ภาษีหมดเดือนกุมภาพันธ์ สามารถต่อพ.ร.บ.ได้ตั้งแต่เดือนมกราคม (หรือต่อล่วงหน้าได้สูงสุดนาน 3 เดือน) ส่วนภาษีรถยนต์จะต่อไปพร้อมๆ กับพ.ร.บ.เลยหรือจะต่อเดือนกุมภาพันธ์ก็ได้ แต่ควรต่อล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุ (ต่อล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน) เป็นต้น
แต่หากต้องการความสะดวกแนะนำว่าให้มองหาบริษัทต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ เพื่อนำเอกสารไปต่อภาษีรถยนต์ได้เลยภายในวันเดียวกัน จะช่วยลดความยุ่งยากได้มากกว่า ไม่ต้องกลัวจำไม่ได้ว่าต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าวันไหนเพราะสามารถต่อไปพร้อมๆ กับพ.ร.บ.ได้เลยนั่นเอง
กรณีเป็นรถกระบะหรือปิกอัพ 4 ประตู วิธีการคำนวณภาษีจะใช้ขนาดเครื่องยนต์เป็นตัววัด โดยสามารถแบ่งการคำนวณออกได้ 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 เครื่องยนต์ขนาด 600 cc แรก คิด cc ละ 0.50 บาท
ส่วนที่ 2 เครื่องยนต์ขนาดตั้งแต่ 601-1,800 cc คิด cc ละ 1.50 บาท
ส่วนที่ 3 เครื่องยนต์ขนาดตั้งแต่ 1,801 cc ขึ้นไป คิด cc ละ 4 บาท
เช่น เครื่องยนต์ขนาด 2,500 cc จะได้ (600 x 0.50 = 300) + (1,200 (มาจาก 1,800 – 600) x 1.50 = 1,800) + (700 (มาจาก 2500 – 1800) x 4 = 2,800) ภาษีประจำปีสำหรับรถกระบะหรือรถปิกอัพ 2,500 cc มีค่าเท่ากับ 4,900 บาทต่อปี
นอกจากนั้นการจ่ายภาษีรถยนต์ 4 ประตู ขนาดเครื่อง 2,500 cc ยังลดลงตามอายุการใช้งานด้วย คือ
อายุการใช้งาน 1-5 ปี จ่ายภาษี 4,900 บาท
อายุการใช้งาน 6 ปี จ่ายภาษี 4,410 บาท ลด 10%
อายุการใช้งาน 7 ปี จ่ายภาษี 3,920 บาท ลด 20%
อายุการใช้งาน 8 ปี จ่ายภาษี 3,430 บาท ลด 30%
อายุการใช้งาน 9 ปี จ่ายภาษี 2,940 บาท ลด 40%
อายุการใช้งาน 10 ปีขึ้นไป จ่ายภาษี 2,450 บาท ลด 50%
**หมายเหตุ** การต่อภาษีรถยนต์เกิน 7 ปีเป็นต้นไปก่อนดำเนินการต้องทำการตรวจสภาพรถที่ตรอ.ก่อนทุกครั้ง
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ
2. สำเนาเล่มทะเบียนหรือเล่มทะเบียนตัวจริง
3. ใบผ่านการตรวจรถ กรณีรถกระบะอายุใช้งานเกิน 7 ปี
4. ใบตรวจสภาพถังแก๊ส กรณีรถกระบะติดแก๊ส
1. ใบคู่มือทะเบียนรถพร้อมสำเนา (ระบุรายละเอียดรถ, คนขับและการจดทะเบียน)
2. เอกสารตรวจสถาพรถ กรณีรถอายุเกิน 7 ปี
3. ประกันภัยภาคบังคับหรือพ.ร.บ.
1. กรมขนส่งของแต่ละจังหวัด
2. ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ
3. ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ
4. ธนาคารธ.ก.ส.
5. เคาน์เตอร์เซอร์วิส
6. ต่อภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันกรมขนส่งทางบก
อยากต่อพ.ร.บ.แบบรวดเร็วทันใจ เช็คราคาพ.ร.บ.รถกระบะง่ายๆ ดำเนินการได้ไวภายในไม่กี่นาที ต้องประกัน insurverse บอกเลยว่าจ่ายค่าพ.ร.บ.ราคา 499 บาท ต่อพ.ร.บ.+ภาษีรถกระบะราคาแค่ 5,399 บาทต่อปีเท่านั้น ถูกมากเมื่อเทียบกับความคุ้มครองครอบคลุมความเสียหายแบบไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิดและอื่นๆ ตามเงื่อนไข พร้อมปรับความคุ้มครอง กรอกข้อมูลต่างๆ ด้วยตนเองง่ายๆ รอรับพ.ร.บ.ไปต่อภาษีรถยนต์ได้ทันที ไม่ต้องตรวจสภาพรถ
การต่อภาษีจะเร็วหรือไม่เร็วขึ้นอยู่กับการต่อพ.ร.บ. หากต่อได้เร็วก็จะสามารถต่อภาษีรถยนต์ไปพร้อมๆ กันได้ แต่หากไม่รู้จะต่อที่ไหนถึงจะต่อง่ายต่อไวยิ่งกว่า 5G อยากบอกว่าต้องนี่เลย insurverse กับพ.ร.บ.ราคาแค่ 499 บาทต่อปี ได้ข้อเสนอดีๆ แบบไวจริงถูกจังของแทร่ แต่หากยังมีความสงสัยหรือไม่มั่นใจ ลองเช็คราคาพ.ร.บ.รถกระบะได้ด้วยตนเองง่ายๆ ตรงนี้ แล้วเลือกต่อพ.ร.บ.+ภาษีรถกระบะราคาห้าแบงก์เทากับสี่แบงก์แดงที่ใช่ ได้เลย!
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย
ทุกคนนน!! วันนี้มีเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับเจ้าของรถทุกคนมาบอกต่อ! ซึ่งก็คือ เรื่องของการต่อประกันภัยภาคบังคับหรือที่เรียกติดปากว่าการต่อพ.ร.บ.