vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ก่อนทำใบขับขี่ต้องรู้! 9 โรคที่ห้ามขับรถ มีอะไรบ้าง

ก่อนทำใบขับขี่ต้องรู้! 9 โรคที่ห้ามขับรถ มีอะไรบ้าง

schedule
share

รู้กันหรือไม่ว่า อาการโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังต่าง ๆ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนขึ้น จนทำให้ต้องมีการออกกฎหมายบังคับใช้เป็นกิจจะลักษณะ เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหานี้ลงไป วันนี้ insurverse เลยจะพาไปทำความเข้าใจเรื่องโรคที่ห้ามขับรถ ว่าเป็นอะไรถึงห้าม และผู้ป่วยโรคใดสามารถขับขี่พาหนะได้อยู่เหมือนเดิม และหากทำประกันรถยนต์ชั้น 1 เอาไว้ จะได้รับความคุ้มครองตามปกติไหม เราจะมาคลายข้อสงสัยนี้ให้เอง 

ทำไมถึงห้ามคนมีโรคประจำตัวทำใบขับขี่

ทำไมถึงห้ามคนมีโรคประจำตัวทำใบขับขี่

เพราะคนที่เป็นโรคประจำตัว หรือเป็นโรคเรื้อรัง มีโอกาสเสี่ยงในการกำเริบของโรคได้มาก จึงอาจทำให้สูญเสียการควบคุมในขณะใช้รถแบบฉับพลัน และก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ จึงเป็นสาเหตุที่ออกกฎหมายบังคับใช้ และต้องมีการตรวจสมรรถภาพร่างกาย พร้อมกับใบรับรองแพทย์ในการทำใบขับขี่ทุกครั้ง 

9 โรคที่ห้ามขับรถ มีอะไรบ้าง

มาถึงตรงนี้กันแล้ว ผู้ใช้รถทุกคนคงสงสัยกันว่า แล้วโรคที่ห้ามขับรถนั้นมีอะไรบ้าง เราจะพาไปดูพร้อมอธิบายสาเหตุให้เข้าใจกันเอง 

1. โรคทางสมองและระบบประสาท

โรคทางสมองและระบบประสาท เป็นหนึ่งในโรคห้ามขับรถที่อันตราย เพราะไม่เพียงแต่ส่งผลโดยตรงในด้านความจำ ที่อาจทำให้หลงลืมเส้นทางเพียงเท่านั้น แต่ยังอาจทำให้ตัดสินใจช้า และขาดสมาธิในการขับรถร่วมด้วย จึงเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ง่าย 

2. โรคเบาหวาน (ระยะควบคุมไม่ได้)

โรคเบาหวาน (ระยะควบคุมไม่ได้) เป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังที่อันตราย และบรรจุไว้เป็นโรคห้ามขับรถ เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานระยะนี้ อาจมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ตาพร่า หรือใจสั่นจนถึงขั้นชักหมดสติ จากภาวะน้ำตาลต่ำที่เกิดขึ้น จึงอันตรายเป็นอย่างมากในการขับรถ 

3. โรคลมชัก

โรคลมชัก น่าจะเป็นที่ทราบกันดีว่าอันตรายแค่ไหน เพราะโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าในสมอง ซึ่งมักจะถูกกระตุ้นให้เกิดอาการชัก เกร็ง และกระตุกแบบไม่รู้สึกตัว หากเกิดความเครียดขึ้นมา เลยทำให้เป็นหนึ่งในโรคที่ห้ามขับรถ เพราะหากเกิดอาการขึ้นมา จะสูญเสียการควบคุมในทันที และเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุเป็นอย่างมาก 

4. โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในอาการโรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียดโดยตรง ซึ่งการขับรถจะทำให้เกิดภาวะเครียดได้ง่าย จึงอาจทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ มีความดันสูงขึ้นจนเกิดอาการหน้ามืด และแขนขาอ่อนแรง หรือหนักที่สุดก็คือเส้นเลือดในสมองแตก จนทำให้ไม่สามารถควบคุมรถได้เลย

5. โรคหัวใจ

โรคหัวใจ ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่ถูกกระตุ้นได้ง่ายด้วยความเครียด ซึ่งหากมีอาการกำเริบขึ้นมา ก็จะทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยออก และอาจอันตรายถึงขั้นหัวใจวายเฉียบพลัน ซึ่งไม่เพียงแต่อันตรายในการขับรถเท่านั้น แต่ยังยากที่หาคนช่วยเหลือได้ทันด้วยเช่นกันหากอยู่ในรถเพียงผู้เดียว

6. โรคข้ออักเสบหรือข้อเสื่อม

โรคข้ออักเสบหรือข้อเสื่อม เป็นโรคห้ามที่ห้ามขับรถ เนื่องจากสมรรถภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีอาการปวดข้อ และไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามต้องการเมื่อมีอาการ จึงทำให้เสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุในการขับรถได้ โดยเฉพาะการขับในเส้นทางที่รถติด และต้องเหยียบเบรกกันคันเร่งอยู่บ่อยครั้ง 

7. โรคเกี่ยวกับสายตา

โรคที่เกี่ยวกับสายตา อย่างอาการต้อหิน ต้อลม ต้อกระจก หรือจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อทัศนวิสัยในการขับ จะถูกห้ามขับรถทั้งหมด เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่า ต่างจากอาการสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงทั่วไป ที่สามารถใส่แว่นเพื่อแก้ปัญหาในการมองได้นั่นเอง 

8. โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการเกร็ง มือเท้าสั่นอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เคลื่อนไหวได้ช้า รวมไปถึงการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ จึงเป็นหนึ่งในโรคที่ห้ามขับรถ เพราะสมรรถภาพร่างกายไม่พร้อมเป็นอย่างมาก และจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้สูงกว่าโรคประเภทอื่น 

9. โรคหลอดเลือดสมอง 

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นอีกหนึ่งโรคที่ห้ามขับรถ เพราะเมื่อมีอาการกำเริบ ก็จะทำให้ทรงตัวได้ลำบาก แขนขาไม่มีแรง และอาจรุนแรงถึงขั้นหมดสติลง จึงอันตรายในการขับรถเป็นอย่างมากไม่ต่างกับโรคอื่น ๆ 

ผู้ป่วยโรคใดบ้าง สามารถขับขี่พาหนะได้

ผู้ป่วยโรคใดบ้าง สามารถขับขี่พาหนะได้

โรคที่ไม่ได้ส่งผลด้านสมรรถภาพร่างกายในการขับรถ อย่างกลุ่มโรคทั้ง 9 ด้านบน สามารถใช้งานพาหนะได้ตามปกติ แต่ถึงอย่างไรก็ควรรับการตรวจร่างกาย พร้อมกับปรึกษาแพทย์เพื่อขอใบรับรองอีกที เพื่อความปลอดภัยในการขับรถ

สรุปแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานขับรถได้ไหม

ผู้ป่วยเบาหวานที่ขับรถได้ จะต้องเป็นเป็นคนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่มีปัญหาด้านร่างกาย รวมถึงอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ จะสามารถขับรถได้ตามปกติ แต่หากเป็นผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ และมีอาการกำเริบอยู่บ่อย ๆ จะจัดอยู่ในกลุ่มโรคที่ห้ามขับรถ เพราะเสี่ยงเกิดอันตราย 

หากเป็นโรคที่ห้ามขับรถ แต่ฝืนขับจนเกิดอุบัติเหตุ ประกันคุ้มครองไหม

กรณีเป็นโรคที่ห้ามขับรถ แต่ได้มีการแจ้งทางบริษัทประกันรถยนต์ก่อนทำ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา แล้วพิสูจน์ว่าไม่ได้เกิดจากโรคประจำตัว ก็จะได้รับความคุ้มครองตามปกติ แต่หากไม่ได้แจ้งโรคประจำตัวกับทางบริษัทประกันภัยรถยนต์ก่อนทำประกัน และไม่มีใบรับรองแพทย์ในการขับขี่รถยนต์ จะไม่ได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้ 

สรุปบทความ ก่อนทำใบขับขี่ต้องรู้! 9 โรคที่ห้ามขับรถ มีอะไรบ้าง

ผู้ใช้รถทุกคนเห็นกันแล้วใช่ไหมว่า โรคที่ห้ามขับรถส่วนใหญ่นั้นเป็นโรคร้ายแรงทั้งสิ้น ซึ่งหากเราไม่ได้เป็นโรคเหล่านี้ ก็ไม่ต้องกังวลใจว่าใช้รถไม่ได้แต่อย่างไร ส่วนคนที่มีโรคประจำตัว แต่ยังสามารถขับรถได้ตามปกติ ควรทำการปรึกษาแพทย์เพื่อขอใบรับรองจะดีที่สุด ไม่อย่างนั้นจะถือว่าผิดกฎข้อบังคับ และอาจทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองจากประกันรถยนต์ที่ทำเอาไว้ ส่วนใครที่กำลังมองหาที่ต่อประกันในราคาสุดคุ้ม ต้องไม่พลาดทำประกันกับ insurverse ประกันออนไลน์เจ้าแรกในไทย ภายใต้เครือทิพยประกันภัย ที่เปิดให้คุณสามารถปรับแต่งความคุ้มครองได้ตรงตามความต้องการมากที่สุด

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)