ทุกคนรู้หรือไม่ว่าการทำประกันรถยนต์เอาไว้ มีประโยชน์มากกว่าที่คิด เพราะนอกจากจะได้รับความคุ้มครองรถยนต์เสียหาย หรือค่ารักษาตัวจากอุบัติเหตุแล้ว ยังให้คู่กรณีสามารถเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถในกรณีที่เราเป็นฝ่ายผิดได้อีกด้วย ว่าแต่ค่าขาดผลประโยชน์จากการใช้รถคืออะไร แล้วทำไมถึงต้องเรียกหลังจากเกิดอุบัติเหตุ? มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้!
สารบัญบทความ
สิ่งแรกที่ทุกคนทำหลังจากเกิดอุบัติเหตุ ก็คงเป็นเรื่องของการเคลมประกัน ซึ่งหลังจากเคลมเสร็จ บริษัทประกันก็นำรถไปซ่อม โดยในระหว่างที่รอรถยนต์ซ่อมอยู่ เราก็ต้องเดินทางด้วยวิธีอื่นแทน ไม่ว่าจะเป็นขึ้นรถไฟฟ้า หรือขึ้นรถเมล์ ในทางกฎหมายจึงต้องมีค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถจากบริษัทประกันของคู่กรณี ซึ่งเป็นเงินชดเชยที่เราเรียกร้องได้ แต่ทั้งนี้จะเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้ก็ต่อเมื่อเราเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
โดยการเรียกค่าชดเชยระหว่างซ่อมจะต้องเป็นการชนแบบมีคู่กรณีเท่านั้น ซึ่งไม่ว่าเราจะทำประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2+, ประกันรถยนต์ชั้น 3+ หรือไม่ได้ทำก็ตาม ก็สามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้ และแม้ว่าคู่กรณีจะไม่ได้ทำประกันรถยนต์ไว้ ทางฝ่ายถูกเองก็สามารถเรียกค่าชดเชยโดยตรงได้เช่นกัน
สำหรับเคสที่คู่กรณีไม่ได้ทำประกันรถยนต์เอาไว้ ขั้นตอนการเรียกค่าชดเชยจะซับซ้อนกว่าเล็กน้อย โดยต้องเรียกค่าชดเชยกับทางคู่กรณีโดยตรง พร้อมทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรที่แสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายการเดินทางในแต่ละวัน และระบุจำนวนวันที่คู่กรณีต้องชดเชย ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้คู่กรณีหลีกเลี่ยงการชดเชยนั่นเอง
ค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถ ไม่ใช่ว่าหลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว จะเรียกร้องขอค่าชดเชยได้ทันทีนะ เพราะบริษัทประกันจะพิจารณาเสียก่อนว่าเป็นการชนแบบไหน ใช่การชนแบบมีคู่กรณี หรือการชนแบบไม่มีคู่กรณี
หากเป็นการชนแบบมีคู่กรณีแล้วเราเป็นฝ่ายถูก อันนี้สามารถเบิกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้ชัวร์ 100 % ยิ่งไปกว่านี้แม้ว่าไม่ได้ทำประกันรถยนต์เอาไว้ ก็เรียกร้องค่าเสียประโยชน์ได้เช่นกัน เพียงแต่มีขั้นตอนยุ่งยากกว่าคนที่ทำประกันรถยนต์ โดยจะต้องจัดทำเอกสารเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ พร้อมระบุรายจ่ายค่าเดินทางในแต่ละวัน รวมทั้งระยะเวลาในการขอรับค่าชดเชย
บอกเลยว่าหากเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณีขึ้นมา ถือว่าโชคร้ายแบบสุด ๆ เพราะจะไม่สามารถเรียกค่าเสียโอกาสในการใช้รถได้ เพราะตามกฎหมายแล้วจะเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อมีคู่กรณีเป็นฝ่ายผิดเท่านั้น เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมรถยนต์ทุกคันจึงควรติดกล้องหน้ารถยนต์เอาไว้ เพราะอย่างน้อยเมื่อมีรถคันอื่นมาเฉี่ยวชน เราก็สามารถตามตัวคู่กรณีได้ในภายหลังนั่นเอง
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้มีการกำหนดค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถในอัตราขั้นต่ำไว้ ดังนี้
หากคุณเป็นฝ่ายถูก ไม่ว่าจะทำแผนประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 2+ หรือประกันชั้น 3 หรือไม่ได้ทำประกันเอาไว้ก็ไม่ต้องกังวล เพราะสามารถเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถจากบริษัทประกันของคู่กรณีได้ เพียงแค่เตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ เพื่อใช้ประกอบการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ให้ครบถ้วน
ขั้นตอนการเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถไม่ได้ยากอย่างที่คิด! เพียงเตรียมเอกสารหลักฐานที่ใช้ยื่นประกอบหนังสือเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ให้ครบถ้วน โดยรายละเอียดขั้นตอนที่ทุกคนควรรู้มีดังต่อไปนี้
โดยพื้นฐานแล้ว บริษัทประกันจะมีการประเมินเบื้องต้น ในการนำรถเข้าซ่อมเป็นระยะเวลาไม่เกิน 20-30 วัน แต่หากได้รับความเสียหายหนัก และจำเป็นจะต้องรอการสั่งอะไหล่ทดแทน หรืออู่ที่รับซ่อมมีคิวยาว จะสามารถเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเพิ่มขึ้นได้ สูงสุดที่ 90 วัน แต่ต้องเป็นการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง
การนับวันค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่รถเกิดอุบัติเหตุจนไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ หรือวันที่นำรถเข้าอู่ซ่อม โดยจะนับรวมวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดราชการแบบไม่มีข้อยกเว้น
หากบริษัทประกันรถยนต์ของคู่กรณีจ่ายค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถน้อยเกินไป เพราะรถยนต์ใช้ระยะเวลาซ่อมนานมากกว่านั้น ก็สามารถแจ้งต่อคปภ. เพื่อเรียกร้องค่าเสียเวลา ในการนำรถไปใช้ระหว่างซ่อมเพิ่มเติมได้อีกด้วย ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
หวังว่าทุกคนคงได้คำตอบกันไปแล้วว่าค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ได้สูงสุดกี่วัน และมีขั้นตอนการเรียกร้องอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นสิ่งที่เราควรได้รับหากเกิดอุบัติเหตุ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างที่ไม่มีรถใช้งาน ดังนั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว นอกจากการเคลมประกัน อย่าลืมเรียกร้องค่าชดเชยดังกล่าวกับบริษัทประกันของคู่กรณีด้วย
และหากกำลังมองหาแผนประกันรถยนต์ชั้น 1 ออนไลน์ ในราคาประหยัด ต้องไม่พลาดกับประกันรถยนต์สุดคุ้มจากทาง insurverse ที่ให้คุณออกแบบความคุ้มครองด้วยตนเองแบบง่าย ๆ อยากปรับลด-เพิ่มความคุ้มครองส่วนไหนเป็นพิเศษก็ทำได้ในทันที ที่สำคัญแค่คุณติดกล้องหน้ารถ รับส่วนลดเบี้ยประกันแบบพิเศษไปเลย
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง