เกียร์หลุด เกียร์ค้าง หนึ่งในปัญหาชวนปวดที่มักเกิดขึ้นแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย และบางคนอาจจะจับสังเกตไม่ได้ด้วยซ้ำว่า อาการที่รถเราเป็นอยู่ตอนนี้หมายถึงระบบเกียร์มีปัญหา ถึงแม้ว่าปัญหานี้จะเกิดขึ้นกับรถเก่าเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม แต่รถใหม่ที่ใช้งานมาไม่กี่ปี ก็มีโอกาสเจอปัญหานี้ ที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และต้องโทรเรียกประกันรถยนต์ได้เช่นกัน วันนี้ insurverse เราเลยจะมาอธิบายถึงต้นตอของปัญหานี้ พร้อมวิธีแก้เกียร์ค้างให้ได้เข้าใจกัน
เกียร์หลุด เกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ บูชคันเกียร์แตก คลัตช์เกิดการสึกหรอ น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเกียร์ค้างแตกต่างกันไป ดังนี้
อาการเกียร์หลุด เกียร์ค้าง เกิดขึ้นได้หลากหลายอาการ ไม่ว่าจะเป็นคันเกียร์แข็งที่ทำให้เข้าเกียร์ยาก หรือไม่ก็คันเกียร์ลื่นไปเลย ไม่ว่าจะเป็นไปเกียร์ไหนก็ไม่สามารถขับเคลื่อนได้ และหนักหน่อยก็คืออาการเปลี่ยนเกียร์เอง ที่สร้างความอันตรายในการขับอย่างมาก
เมื่อรู้กันไปแล้วว่า อาการเกียร์ค้าง เกียร์หลุด เกิดจากอะไร ทีนี้เรามาดูกันต่อว่า สัญญาณเตือนก่อนจะเกิดปัญหาเกียร์หลุด เกียร์ค้าง มีอะไรบ้างที่ควรสังเกตให้ดี เพราะหากไม่สนใจอะไรเลย และฝืนขับต่อไปเรื่อย ๆ อาจจะทำให้เกิดความอันตรายในการขับเป็นอย่างมาก
สัญญาณเตือนแรกที่ผู้ใช้รถจำเป็นต้องสังเกต ก็คือการเข้าเกียร์ หากเข้าเกียร์แล้วระบบขับเคลื่อนไม่ได้ตอบสนองทันที อย่างเช่น เข้าเกียร์ D แล้วรถไม่เคลื่อนที่ไปข้างหน้า แต่อาจจะมีช่วงดีเลย์สัก 3 – 5 วินาที แบบนี้ก็เป็นอาการที่ต้องนำรถไปตรวจเช็กแล้ว ไม่ควรฝืนขับต่อไปเรื่อย ๆ แล้วไปลุ้นเอาว่าเกียร์จะมีปัญหาหนักขึ้นเมื่อไหร่
อาการเกียร์กระชากระหว่างเปลี่ยน ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องระวัง เพราะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเกียร์กำลังใกล้จะพัง และเป็นอาการของคลัตช์เกียร์หมดด้วย จึงทำให้รถเกิดการกระชากตัว และไม่ลื่นไหลในการเข้าเกียร์
อีกหนึ่งสัญญาณเตือนที่อันตรายอย่างมาก ก็คือ อาการเกียร์หอน หรือมีกลิ่นเหม็นไหม้เข้ามาในห้องโดยสาร ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากระบบเกียร์กับคลัตช์สึกหรอ หรืออาจเป็นเพราะน้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพด้วย เกียร์จึงต้องทำงานหนักจนความร้อนพุ่งขึ้นสูง และส่งกลิ่นเหม็นไหม้ออกมานั่นเอง
หากเปลี่ยนเกียร์แล้วเร่งไม่ขึ้น นี่ก็เป็นอีกสัญญาณเตือนที่อันตราย เพราะระบบเกียร์กำลังมีปัญหา ที่เกิดขึ้นได้หลากสาเหตุ ทั้งผ้าคลัตช์หมด น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพ เฟืองเกียร์มีปัญหา และอื่น ๆ อีกมากมาย จนทำให้เกิดอาการเกียร์ค้าง
เบื้องต้น หากเกิดเหตุการณ์นี้ในระหว่างขับ ให้ทำการเปิดไฟผ่าหมากทันที แล้วค่อยเหยียบเบรกพร้อมกับดับเครื่องยนต์ เพื่อไม่ให้เกิดการส่งกำลังไปที่เกียร์ ก่อนจะประคองรถเข้าข้างทางอย่างปลอดภัย และอีกหนึ่งวิธีที่สามารถลองได้ ก็คือ เมื่อรถจอดนิ่งสนิทดีแล้ว ให้สตาร์ทเครื่องยนต์แล้วลองเข้าเกียร์ใหม่ดูอีกครั้ง หากยังสามารถขับได้ตามปกติ ก็ให้นำรถไปตรวจเช็กโดยทันที แต่หากเข้าเกียร์แล้วไม่มีการตอบสนองใด ๆ ให้โทรเรียกช่างจะปลอดภัยที่สุด
ค่าซ่อมเกียร์หลุดนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย และจะช่วงราคาตั้งแต่ 500 – 100,000 บาท หรืออาจจะมากกว่านั้น หากเป็นการเปลี่ยนเกียร์ยกชุดเป็นของใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะไม่นิยมทำกัน และจะเปลี่ยนเป็นเกียร์มือสองเสียมากกว่า เพราะสามารถหาเกียร์สภาพดีได้ในราคาแค่หลักหมื่น แต่หากเป็นอาการที่ไม่รุนแรง ก็จะซ่อมเพียงแค่หลักพันเท่านั้น
ระบบเกียร์รถยนต์ เป็นอะไรที่ผู้ใช้รถไม่ต้องไปยุ่งด้วยมากอยู่แล้ว วิธีการดูแลรักษาให้ใช้งานได้นานจึงไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงทำตามนี้เท่านั้น
และทั้งหมดนี้ ก็คือข้อมูลปัญหาเกียร์ค้าง เกียร์หลุด พร้อมวิธีแก้เกียร์ค้าง ที่เรานำมาฝากให้กับผู้ใช้รถทุกคน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาที่ไม่ได้เจอบ่อย แต่รู้ไว้อย่างไรก็ดีกว่า เพราะจะได้รับมือกันถูกเมื่อเจอเหตุการณ์แบบนี้ และอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เลย ก็คือ การทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้การดูแลอย่างครอบคลุม พร้อมบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน อุ่นใจได้ตลอดการเดินทาง หากไม่รู้จะทำประกันเจ้าไหน ต้องที่ insurverse เราเท่านั้น เพราะเราเป็นประกันออนไลน์เจ้าแรกในไทย ภายใต้เครือทิพยกรุ๊ปโฮลดิ้ง (TIPH) ที่เปิดให้มีการปรับแต่งกรมธรรม์ได้อย่างอิสระ ตอบโจทย์คนใช้รถยุคใหม่เป็นที่สุด
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง