vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
รู้ยัง? รถชนส่งซ่อม ค่าขาดประโยชน์การใช้รถ จากคู่กรณีได้

รู้ยัง? รถชนส่งซ่อม ค่าขาดประโยชน์การใช้รถ จากคู่กรณีได้

schedule
share

       เคยหรือไม่ ที่รถเกิดอุบัติเหตุแล้วต้องส่งซ่อม ทำให้ไม่มีรถใช้ และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่ม ค่าใช้จ่ายตรงนี้เราสามารถเรียกร้องจากใครได้บ้างไหม อินชัวร์เวิร์สขอบอกตรงนี้เลยว่าได้! ทุกคนสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นเงินชดเชย จากบริษัทประกันของฝ่ายผิดได้ วันนี้เราจะมาสรุปวิธีการเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถให้ทุกคน การันตีว่าได้ข้อมูลครบ นำไปทำเอกสารยื่นเรื่องกันได้สบาย ๆ

ทำความรู้จัก ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ 

       อย่างแรกเลยเราก็ต้องมาทำความรู้จักกับค่าสินไหมตัวนี้ให้แน่ชัดก่อน ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือ ค่าสินไหมที่ทางบริษัทประกันรถยนต์ของฝ่ายที่พิสูจน์แล้วว่ามีความผิดต้องให้ความรับผิดชอบกับฝ่ายถูก ในกรณีที่รถของฝ่ายถูกต้องส่งซ่อม หรือไม่สามารถใช้รถยนต์ของตัวเองได้ รวมไปถึงการต้องใช้ยานพาหนะอื่นในการโดยสารแทน เช่น รถโดยสารประจำทาง แท็กซี่ รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน วินมอเตอร์ไซต์ การเช่ารถยนต์ และอื่น ๆ โดยการเบิกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนั้น ให้ฝ่ายถูกเตรียมเอกสารที่จำเป็นต่อการทำรายการ ถ้าสามารถทำได้ให้นำใบเสร็จค่าเดินทางระหว่างที่ไม่ได้ใช้งานรถของตัวเองมาเบิกกับบริษัทประกันของฝ่ายผิดได้

การเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

       เอกสารที่ใช้เรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถอาจจะเยอะซักหน่อย แต่ไม่ต้องห่วง เพราะ insurverse รวบรวมมาให้แล้ว ดังนี้เลย!

  1. หนังสือเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถยนต์
  2. เอกสารใบเคลม
  3. ใบรับรองความเสียหาย
  4. เอกสารการนำรถยนต์เข้าซ่อม โดยต้องมีการระบุวันที่ส่งซ่อมรับ และวันที่รับรถไว้อย่างชัดเจน
  5. รูปถ่ายขณะที่รถยนต์ของคุณกำลังถูกซ่อม
  6. สำเนาเล่มทะเบียนรถยนต์
  7. สำเนาตารางกรมธรรม์ของประกันรถยนต์
  8. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  9. สำเนาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์
  10. สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร
  11. เอกสารประกอบการใช้รถยนต์แต่ละวัน (ถ้ามี)
  12. ใบเสร็จค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ของตัวเอง (ถ้ามี)

ขั้นตอนสำหรับการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

       อินชัวร์เวิร์สสรุปขั้นตอนการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถมาให้ 5 ขั้นตอนตามนี้เลย เรียกร้องสินไหมทดแทนได้แน่นอนติดต่อไปยังบริษัมประภันภัยรถยนต์ของฝ่ายที่ถูกตรวจสอบว่ามีความผิด

  1. ยื่นคำร้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
  2. นำส่งเอกสารทั้งหมดให้กับบริษัทประกันของฝ่ายผิด
  3. รอบริษัทประกันของฝ่ายผิดติดต่อกลับมาเมื่อได้ดำเนินเอกสารเสร็จเรียบร้อย โดยอาจมีการต่อรองค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
  4. เมื่อตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ทางบริษัทประกันของฝ่ายผิดจะโอนค่าสินไหมทดแทนมายังบัญชีธนาคารที่คุณแจ้งไปตอนยื่นเอกสาร

ยอดขั้นต่ำของค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่ทุกคนควรได้รับต่อวันเป็นเท่าไหร่

       ส่วนเรื่องสินไหนทดแทนที่คุณจะได้รับจากค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. กำหนดไว้ จะแบ่งออกตามประเภทของรถเป็น 3 ประเภท คือ

  • รถยนต์ส่วนบุคคลขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง จะได้รับสินไหมทดแทนไม่ต่ำกว่า 500 บาทต่อวัน
  • รถยนต์รับจ้างสาธารณะขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง จะได้รับสินไหมทดแทนไม่ต่ำกว่า 700 บาทต่อวัน
  • รถยนต์ทุกประเภทที่มีขนาดเกิน 7 ที่นั่ง จะได้รับสินไหมทดแทนไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทต่อวัน

       ก่อนที่คุณจะตกลงกับบริษัทประกันภัยของฝ่ายผิด insurverse ก็อยากให้คุณรับทราบข้อมูลตรงนี้ไว้ก่อน จะได้ตกลงกันแบบที่คุณไม่เสียเปรียบ

หากฝ่ายผิดไม่ได้ทำประกันไว้ จะเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถจากใครได้บ้าง?

       หากว่าคู่กรณีซึ่งเป็นฝ่ายผิดไม่ได้ทำประกันรถยนต์ไว้ กรณีนี้คุณสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถจากผู้ขับขี่ หรือเจ้าของรถยนต์ที่เป็นฝ่ายผิดได้โดยตรง

       รู้แบบนี้แล้วการมีประกันรถยนต์ไว้ก็ต้องดีกว่าแน่นอน เราอยากแนะนำให้ทุกคนสมัครประกันรถยนต์ไว้ ยังไงก็อุ่นใจกว่า ที่อินชัวร์เวิร์สของเรามีแผนประกันให้คุณเลือกหลากหลาย ในราคาที่จับต้องได้ แถมยังไม่มีค่าเสียหายส่วนแรก สมัครผ่านเว็บไซต์ กรอกข้อมูลง่าย ๆ แค่ 3 อย่าง คือ ยี่ห้อรถ รุ่นรถ และปีที่จดทะเบียน เท่านี้ระบบก็จะค้นหาแผนประกันที่เหมาะสมกับรถของคุณ พร้อมคำนวณราคามาให้เสร็จสรรพ ถ้าคุณยังไม่ถูกใจก็สามารถปรับแผนประกันได้ตามใจ ชำระเงินเรียบร้อยก็รอรับเลขกรมธรรม์ผ่านทางอีเมลได้ทันที เราพร้อมดูแลคุณทุกเมื่อ แค่สมัครก็สบายใจได้อีกหลายต่อ ลองดูประกันรถยนต์ของ insurverse คลิกที่นี่เลย!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)