คำว่า “ทุพพลภาพ” ฟังดูอาจเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้วมันเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากกว่าที่คิด โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือสถานการณ์ไม่คาดฝัน การเข้าใจความหมายและประเภทของทุพพลภาพจะช่วยให้เราเตรียมตัวรับมือได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเพื่อดูแลตัวเองหรือคนรอบข้าง ลองมาดูกันว่าทุพพลภาพมีประเภทไหนบ้าง และมีความแตกต่างกันยังไง
คำว่า “ทุพพลภาพ” หมายถึง การที่ร่างกายหรือจิตใจของคนเราสูญเสียความสามารถในการทำงานบางอย่างไป ซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุ โรคภัย หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ โดยแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและระยะเวลาของอาการที่เกิดขึ้น
ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงหมายถึงการสูญเสียความสามารถในการดำเนินชีวิตหรือทำงานอย่างถาวร โดยไม่สามารถฟื้นฟูความสามารถนั้นได้อีกเลย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน หรือการกลับไปทำกิจกรรมที่เคยทำ เช่น การเดิน การใช้มือ หรือการมองเห็น
ตัวอย่างเช่น
ผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงต้องพึ่งพาผู้อื่นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การกิน การแต่งตัว หรือการเดินทาง นอกจากนี้ยังอาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น รถเข็นคนพิการ อุปกรณ์ช่วยหายใจ หรืออุปกรณ์ช่วยสื่อสาร การเข้าถึงพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น บ้านที่ปรับปรุงให้รองรับผู้พิการจึงเป็นสิ่งสำคัญ
แนวทางการฟื้นฟูและการดูแลแม้ว่าภาวะนี้จะไม่สามารถฟื้นคืนได้ แต่การฟื้นฟูจิตใจและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น เช่น การฝึกใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ การดูแลจากผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด และการสนับสนุนจากครอบครัว
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงบนท้องถนนจนทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพถาวร การมีประกันรถยนต์ที่ครอบคลุมจาก insurverse ช่วยให้คุณได้รับค่าชดเชยและการดูแลอย่างเหมาะสม ลดภาระค่าใช้จ่ายในช่วงเวลาที่ยากลำบาก
หากไม่แน่ใจว่าจะซื้อชั้น 1 หรือประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 ดี ก็สามารถเช็คเบี้ยประกันได้ง่าย ๆ ผ่าน insurverse เพราะเราอยากให้คุณได้ประกันที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณมากที่สุด
ทุพพลภาพถาวรบางส่วนหมายถึงการสูญเสียความสามารถบางอย่างในร่างกายหรือจิตใจ ซึ่งไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาเหมือนเดิมได้ แต่ยังสามารถดำเนินชีวิตในบางด้านได้ เช่น การสูญเสียความสามารถในมือข้างหนึ่ง แต่ยังใช้งานมืออีกข้างได้ตามปกติ
แม้ว่าผู้ที่มีภาวะนี้จะสามารถดูแลตัวเองได้ในระดับหนึ่ง แต่การใช้ชีวิตอาจต้องมีการปรับเปลี่ยน เช่น การใช้ขาเทียมเพื่อเดิน การปรับตัวในเรื่องการใช้มืออีกข้างให้ชำนาญขึ้น หรือการปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสม เช่น การติดราวจับในห้องน้ำ
ภาวะทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิงคือการสูญเสียความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันทั้งหมดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ยังมีโอกาสฟื้นฟูให้กลับมาเป็นปกติได้ การบาดเจ็บที่ต้องใช้เวลารักษาและฟื้นตัว เช่น กระดูกหัก หรือการพักฟื้นหลังการผ่าตัด จะเข้าข่ายนี้
ในช่วงพักฟื้น ผู้ที่มีภาวะนี้จะไม่สามารถทำงานหรือกิจกรรมใด ๆ ได้ เช่น ไม่สามารถเดิน ทำงานบ้าน หรือขับรถได้ และต้องพึ่งพาการช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
ระหว่างการพักฟื้น การมีประกันที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยรายวันช่วยลดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก insurverse มีแผนประกันที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่ต้องการความคุ้มครองในช่วงเวลาที่ต้องหยุดงานหรือต้องการการดูแลพิเศษ
ภาวะทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วนคือการสูญเสียความสามารถในบางส่วนของร่างกายหรือจิตใจในระยะเวลาสั้น ๆ ผู้ที่มีภาวะนี้ยังคงสามารถดูแลตัวเองได้ในระดับหนึ่ง แต่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้งานในส่วนที่บาดเจ็บ
ผู้ที่มีภาวะนี้ยังคงทำกิจกรรมบางอย่างได้ แต่ต้องปรับเปลี่ยนหรือจำกัดการใช้งาน เช่น การเดินโดยใช้ไม้ค้ำหรือการงดออกกำลังกายที่หนักเกินไป
ทุพพลภาพถาวรหมายถึง การสูญเสียความสามารถในการทำงานหรือการดำเนินชีวิตบางอย่างไปอย่างถาวร โดยแบ่งออกได้ 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
ทุพพลภาพชั่วคราวคือ การสูญเสียความสามารถในการทำงานหรือการใช้ชีวิตในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถฟื้นฟูกลับมาได้ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท
อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นได้ทุกเวลา การมีประกันภัยรถยนต์จาก Insurverse ไม่เพียงช่วยคุ้มครองรถของคุณ แต่ยังดูแลคุณในกรณีที่เกิดภาวะทุพพลภาพหรือบาดเจ็บ แถมยังเลือกประกันภัยรถยนต์ที่เหมาะกับคุณได้ง่าย ๆ ในไม่กี่คลิกอีกด้วย
คนพิการเน้นเรื่องความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจที่ต้องการความช่วยเหลือเฉพาะ ทุพพลภาพคือการสูญเสียความสามารถในการทำงานหรือใช้ชีวิต ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราว
คือคนที่สูญเสียความสามารถบางอย่างในร่างกายหรือจิตใจ ทำให้อาจทำงานหรือใช้ชีวิตปกติลำบาก
ถือว่าเป็นทุพพลภาพถาวรบางส่วน เพราะส่งผลต่อการใช้ชีวิต เช่น การขับรถ
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง