ปัญหาอันดับ 1 ที่เมื่อคุณทำประกันรถยนต์ส่วนใหญ่เป็นกัน คือลืมต่อประกันและเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น จึงไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างที่ควรจะได้ การพลาดต่อประกันอาจฟังดูเล็กน้อย แต่เป็นเรื่องที่สำคัญเพราะฉะนั้นอย่าลืมต่อประกันรถยนต์ของคุณอย่างสม่ำเสมอ หรือหากใครลืมหรือจำไม่ได้ว่าประกันรถยนต์ของคุณหมดอายุเมื่อไหร่ เรามีวิธีเช็กประกันรถยนต์ของคุณมาฝาก
ข้อแรกง่าย ๆ หากคุณรู้และจำได้ว่าทำประกันรถยนต์กับบริษัทไหน เพียงแค่คุณติดต่อสอบถามว่าหมดประกันเป็นอันที่เรียบร้อย หรือขอคำแนะนำถึงการต่อประกันว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้างเพื่อให้คุณได้เตรียมพร้อมเมื่อถึงเวลาจะได้รวดเร็วในการต่อประกันของคุณ
สำหรับมือใหม่ออกรถ หรือรถใหม่ที่พึ่งออก หากจำไม่ได้ว่าทำประกันที่ไหนไว้ ลองติดต่อที่ศูนย์บริการจำหน่ายรถยนต์ที่ท่านซื้อทางศูนย์รถยนต์อาจยังมีข้อมูลรถที่พึ่งขายอยู่และมีข้อมูลประกันที่ทางศูนย์ทำให้ในตอนออกรถ เพื่อให้คุณสามารถติดต่อประกันและดำเนินการต่อไปได้
ในกรณีที่คุณมีกรมธรรม์อยู่ในรถ หรือเก็บไว้คุณสามารถเช็กเลขประกัน ดูชื่อบริษัทประกันดูรายละเอียดของประกันรวมถึงวันหมดประกันได้อีกด้วย แต่หากท่านใดทำกรมธรรม์หาย หรือหาไม่เจอสามารถแจ้งขอกรมธรรม์ใหม่ได้ โดยต้องติดต่อที่บริษัทรับทำประกันรถยนต์ของคุณแล้วขอออกกรมธรรม์ใหม่ได้เลย
กรณีสุดท้ายหากคุณจำอะไรไม่ได้เลย ไม่สามารถหาได้ว่าทำประกันกับที่ไหนได้เลย ทางเลือกอีกางคือการติดต่อสอบถามกับทาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องของประกันภัย หากคุณต้องการเช็กประกันรถยนต์ตัวเอง เช็กเลขกรมธรรม์รถยนต์ เช็กประกันรถยนต์หมดอายุ หรือตรวจสอบรายชื่อบริษัทรับทำประกันรถยนต์ สามารถโทรสอบถามได้ที่เบอร์ 0-2515-3999 หรือสายด่วน คปภ.1186
หากเป็นไปได้เมื่อทำประกันรถยนต์ไว้แล้วควรโน้ตหรือจดลงในปฏิทินของคุณว่าวันหมดอายุของประกันรถยนต์คือวันไหน จะได้ไม่พลาดเมื่อเกิดอุบัติเหตุคุณจะได้มั่นใจว่าจะได้รับความคุ้มครองที่แน่นอน ทั้งนี้เราขอแนะนำประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองคุณแบบที่คุณเลือกได้ พร้อมเบี้ยประกันที่ถูกกว่าที่อื่น เลือกซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ที่ insurverse พร้อมให้บริการคุณตลอด 24 ชม. มีการอธิบายประกันแต่ละชนิดให้คุณเข้าใจได้ง่าย ๆ และมีการคำนวณเบี้ยให้คุณพร้อมส่วนลดเมื่อทำตามเงื่อนไข ให้คุณอุ่นใจในทุกเส้นทางที่ขับขี่
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง