vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ

พ.ร.บ.รถยนต์จำเป็นต้องซื้อไหม? แล้วเลือกซื้อที่ไหนดี ใจฟู สุดชิลล์ ถูกชัวร์

schedule
share

เรื่องของพ.ร.บ.รถยนต์เป็นเรื่องที่คนมีรถต้องรู้ โดยเฉพาะคนที่เพิ่งมีรถเป็นของตัวเองครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ จำเป็นต้องทำพ.ร.บ.ใหม่กันทั้งนั้น ส่วนคนที่มีรถอยู่แล้วก็จะต้องต่ออายุพ.ร.บ.ทุกปี ซึ่งหลายคนอาจยังไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องซื้อพ.ร.บ. จะได้ใช้ตอนไหน แล้วถ้ามีประกันรถยนต์ที่ทำเอาไว้อยู่แล้ว ไม่ซื้อพ.ร.บ.ได้หรือเปล่า จะมีผลอย่างไรบ้าง insurverse จะพาทุกคนหาคำตอบเอง ไปดูกันเลย

ความจำเป็นของการมี พ.ร.บ.รถยนต์

หากพูดถึงประวัติพ.ร.บ.รถยนต์ที่เราต้องมีกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ที่มีผลให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2536 มาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนท้องถนนมากมาย ทางภาครัฐจึงต้องการเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนใช้รถใช้ถนนทุกคน จึงบังคับให้รถทุกชนิดที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก รวมถึงรถที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าหรือพลังงานอื่นๆ จำเป็นจะต้องทำประกันภัยภาคบังคับฉบับนี้ทุกคัน เพื่อเป็นหลักประกันต่อส่วนรวมว่าหากใช้ถนนจะได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งพ.ร.บ.รถยนต์จะคุ้มครองผู้ทุกคนจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นคนขับรถเอง, ผู้โดยสาร, ผู้เกี่ยวข้องภายนอกหรือคนเดินถนนที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถ ดังนั้นการทำพ.ร.บ.ใหม่จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของรถใหม่และเก่าต้องใส่ใจและควรทำให้ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด

โทษของการไม่มีพ.ร.บ.รถยนต์ มีอะไรบ้าง

หากเจ้าของรถไม่ทำพ.ร.บ.รถยนต์หรือนำรถที่ไม่มีพ.ร.บ.มาขับขี่บนถนน ก็จะมีโทษปรับทางกฎหมาย อีกทั้งหากรถยนต์ที่ไม่มีพ.ร.บ.นั้นเกิดอุบัติเหตุก็ยังเสียสิทธิ์ต่างๆ อีกหลายอย่างและไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ อีกด้วย

โทษปรับทางกฎหมาย หากรถไม่มีพ.ร.บ.

  • โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บ. ฐานขับรถที่ไม่มีพ.ร.บ.
  • รถที่ไม่มีพร.บ.จะต่อภาษีไม่ได้ หากรถคันไหนไม่มีป้ายภาษีหรือป้ายวงกลม ก็จะถูกปรับ 400-1,000 บ.

เสียสิทธิ์การคุ้มครองหากเกิดอุบัติเหตุ

  • หากรถที่ไม่มีพ.ร.บ.รถยนต์เกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น ขับรถชนต้นไม้หรือชนเสาไฟฟ้า ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ
  • หากผู้ขับรถไม่มีพ.ร.บ.โดนชน จะไม่ได้รับความคุ้มครองจากพ.ร.บ.รถยนต์ แต่สามารถเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณีได้ แต่ทั้งนี้ต้องรอพิสูจน์ว่าอีกฝ่ายผิดจริง
  • เมื่อรถไม่มีพ.ร.บ.ขับชนผู้อื่น คู่กรณีก็จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากพ.ร.บ. แต่จะไปร้องเรียนกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเพื่อขอรับเงินชดเชยแทน จากนั้นกองทุนฯ จะมาเรียกเก็บทุกค่าใช้จ่ายจากคุณ พร้อมทั้งโดนค่าปรับอีก 10,000 บาท เพราะถือว่าทำผิดกฎหมายนำรถที่ไม่มีพ.ร.บ.มาขับขี่บนท้องถนน

พ.ร.บ.รถยนต์แต่ละประเภท ราคาเท่าไหร่

รถยนต์แต่ละประเภทจะเสียค่าพ.ร.บ.แตกต่างกันไปตามประเภทรถ พ.ร.บ.รถยนต์ ราคา 2566 ตามมาตรฐานปกติของกรมการขนส่งทางบกแบบไม่รวมภาษีอากรมีดังนี้

ปกติซื้อพ.ร.บ.รถยนต์ราคาเท่าไหร่

  • รถเก๋ง/กระบะ 4 ประตู 600 บาท
  • รถกระบะ 2ประตู 900 บาท
  • รถตู้ขนาดไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาท

ซื้อพ.ร.บ. ออนไลน์ราคาถูกกับ insurverse ราคาเท่าไหร่

  • รถเก๋ง/กระบะ 4 ประตู ราคา 569 บ.
  • รถกระบะ 2 ประตู ราคา 869 บ.
  • รถตู้ขนาดไม่เกิน 15 ที่นั่ง ราคา 1069 บ.

จะเห็นได้ว่าการเลือกซื้อกับ insurverse พ.ร.บ.ราคาถูกกว่าชัวร์ แถมสุดชิลล์ไม่ต้องเสียเวลาและค่าเดินทางในการไปต่อพ.ร.บ.อีกด้วย แค่เลือกซื้อด้วยตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ง่ายๆ ได้รับความคุ้มครองทันที เป็นที่ต่อ พ.ร.บ.ใกล้ฉันที่สะดวกสบายที่สุด แม้มีมือถือแค่เครื่องเดียวก็จัดการเรื่องพ.ร.บ.ได้แล้ว

ทำประกันพ.ร.บ.รถยนต์ กับประกันภาคสมัครใจที่เดียวกันใจฟูเลย เพราะอะไร

1. เพราะเป็นบริษัทเดียวกัน หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาก็จะทำให้การประสานงานเรื่องการเคลมง่ายไม่ต้องวิ่งวุ่นหลายที่

2. ยื่นเอกสารและจัดการทุกอย่างรอบเดียว ไม่ต้องมานั่งเล่าเหตุการณ์ซ้ำหรือกรอกเอกสารแบบเดิมหลายชุด ทำให้ประหยัดเวลามากขึ้น

3.ได้รับเงินรวดเร็วขึ้น เพราะการซื้อพ.ร.บ.กับประกันภัยไว้ที่เดียวกัน เป็นการลดกระบวนการติดต่อประสานงาน ก็จะได้รับค่าชดเชยเร็วกว่าซื้อแยกบริษัท

สรุป

ทีนี้ก็รู้ชัดแล้วว่าพ.ร.บ.รถยนต์จำเป็นต้องซื้อไหม? แน่นอนว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด เพราะไม่อย่างนั้นก็ถือเป็นความผิดทางกฎหมาย ต้องโดนค่าปรับแถมยังเสียสิทธิ์ในการคุ้มครองต่างๆ อีกมากมาย หากกำลังวางแผนทำพ.ร.บ.ใหม่หรือต่อพ.ร.บ.ขาดให้สบายใจที่สุด พร้อมระบบแจ้งเตือนกันลืม แนะนำซื้อพ.ร.บ.ออนไลน์ราคาถูกกับ insurverse ได้เลย ถูกชัวร์ ซื้อง่าย แจ้งเตือนฟรี สามารถคลิกไปเช็กราคา.ร.บ. รถยนต์ ราคา 2566 และต่ออายุได้เลยที่ insurverse ประกันออนไลน์ที่ชัวร์สุด คุ้มสุด ครบสุดทุกความต้องการของคุณ

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)