ปัญหาฝนตก น้ำท่วมขัง เป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยากในประเทศไทย เพราะเพียงฝนตกแค่ไม่นาน ถนนหลายเส้นในบ้านเราก็มีการจราจรติดขัดถึงขั้นเป็นอัมพาต แต่จะให้เลี่ยงไม่เดินทางเลยก็เป็นไปไม่ได้ การขับรถลุยน้ำท่วมจึงเป็นภาวะจำยอมที่หลายคนต้องทำ แม้จะกลัวรถพังแค่ไหนก็ตาม วันนี้ทาง insurverse เราจะมาแนะแนวทางการขับรถลุยน้ำ ควรปฏิบัติอย่างไร และข้อควรปฏิบัติหลังขับรถลุยน้ำ มีอะไรบ้าง ทำประกันชั้นไหนถึงให้ความคุ้มครองกรณีนี้ เรามาดูกัน
กรณีที่ขับรถลุยน้ำแล้วพัง จะเคลมประกันได้หรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้พัง หากเกิดน้ำท่วมโดยฉับพลันในขณะที่ฝนตก และรถจอดติดไฟแดงอยู่ ประกันภัยรถยนต์จะให้ความคุ้มครองกับความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่หากเป็นกรณีที่ตั้งใจขับฝ่าน้ำท่วม แม้ว่าภาครัฐจะมีการแจ้งเตือนให้หลีกเลี่ยงการใช้ถนนเส้นนั้นแล้ว กรณีนี้ ประกันจะไม่ให้ความคุ้มครองใด ๆ
ผู้ใช้รถหลายคน อาจเกิดความสงสัย หากอยากทำประกันภัยรถยนต์ เพื่อรับความคุ้มครองในกรณีต้องขับรถลุยน้ำท่วมอย่างเลี่ยงไม่ได้ ประกันชั้นไหนจะให้ความคุ้มครองในจุดนี้บ้าง เราจะมาอธิบายให้ได้รู้กัน
ประกันรถยนต์ชั้น 1 คุ้มครองการขับรถลุยน้ำท่วมอย่างแน่นอน รวมไปถึงภัยพิบัติจากน้ำท่วม ที่ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับรถทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็น การท่วมขณะจอดติดไฟแดง หรือจอดรถเอาไว้แล้วเกิดน้ำท่วมฉับพลันขึ้นมาแบบมิดคัน และไม่สามารถขยับรถหนีน้ำได้ เว้นแต่กรณีจงใจขับลุยน้ำท่วมในเส้นทางที่ภาครัฐแจ้งให้หลีกเลี่ยงเท่านั้น ถึงจะเป็นการกระทำที่ไม่สามารถเคลมประกันได้
ประกันชั้น 2+ ก็คุ้มครองการขับรถลุยน้ำท่วมเช่นกัน และเป็นประกันรถยนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีความคุ้มครองเทียบเท่ากับชั้น 1 แต่จ่ายค่าเบี้ยประกันถูกกว่า ผ่านการตัดเงื่อนไขบางประการออกเท่านั้น ซึ่งโดยมากก็จะเป็นการชนโดยไม่มีคู่กรณีนั่นเอง ที่มีความแตกต่างกับประกันรถยนต์ชั้น 1
ประกันรถยนต์ชั้น 3+ ก็ให้ความคุ้มครองในการขับรถลุยน้ำท่วมเช่นกัน แต่เงื่อนไขนี้ อาจจะไม่ได้มีกับประกันทุกเจ้า และอาจเป็นเงื่อนไขเสริมที่เพิ่มเข้ามา จึงต้องอ่านรายละเอียดในการทำประกันให้ดี เพื่อรับความคุ้มครองจากเหตุการณ์น้ำท่วมในการใช้รถ
หากเกิดเหตุน้ำท่วมขึ้นมาแบบเลี่ยงไม่ได้ การจะขับรถลุยน้ำท่วม ควรปฏิบัติอย่างไรให้ปลอดภัย วันนี้เรามีทริกดี ๆ มาฝากทุกคนกัน
เมื่อเห็นระดับน้ำที่ท่วมสูง สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ การชะลอความเร็วในการขับลง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้ากระเด็นเข้ามาที่ห้องเครื่องจนเกิดความเสียหาย และอาจทำให้เครื่องยนต์ดับกลางทางเอาได้ โดยเฉพาะระบบไฟต่าง ๆ ที่หากเสียหายแล้วล่ะก็ เรียกได้ว่าเป็นงานหยาบในการซ่อมแซมอย่างแน่นอน
พยายามรักษาระยะห่างจากคันหน้าเอาไว้ เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน และคลื่นน้ำที่อาจเข้ามาในห้องเครื่องจนเกิดความเสียหาย รวมถึงการลดความเร็วลงให้มาก เมื่อมีรถสวนมาที่เลนตรงข้ามด้วยเช่นกัน
เพราะขณะเปิดแอร์ในระหว่างขับ พัดลมจะหมุนระบายความร้อนอยู่ตลอดเวลา จึงมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก ที่หมุนพัดน้ำที่ไหลเข้ามากระเด็นไปทั่วห้องเครื่องยนต์ จนทำให้เครื่องดับ และระบบไฟฟ้าภายในเสียหายเอาได้ จึงควรปิดแอร์รถยนต์ไว้จะปลอดภัยกว่าเมื่อต้องขับรถลุยน้ำท่วมแบบเลี่ยงไม่ได้
อีกหนึ่งวิธีในการเอาตัวรอดให้รถไม่ดับกลางทาง ก็คือการขับรถลุยน้ำท่วมตามหลังรถใหญ่อย่างรถยกสูง หรือรถบรรทุกนั่นเอง แม้ว่าในสถานการณ์ปกติ การขับตามหลังรถใหญ่จะเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำก็ตาม แต่ในตอนน้ำท่วม การขับตามรถใหญ่ที่ช่วยแหวกน้ำให้ จะช่วยลดความเสี่ยงที่น้ำจะเข้ามาในห้องเครื่องได้ดีไม่น้อย แต่ก็ควรเว้นระยะห่างที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน
อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน นอกจากจะรู้ไปแล้วว่า การขับรถลุยน้ำท่วมควรปฏิบัติอย่างไร ข้อควรปฏิบัติหลังขับรถลุยน้ำ ก็เป็นอีกเรื่องที่ผู้ใช้รถจำเป็นจะต้องทำ เพื่อป้องกันไม่ให้รถพัง และเสียค่าซ่อมโดยใช่เหตุ มาดูดีกว่าว่าต้องตรวจเช็กอะไรบ้าง
เป็นอย่างกันบ้าง กับข้อมูลประกันภัยรถยนต์ ที่ให้ความคุ้มครองในการขับรถลุยน้ำท่วม พร้อมกับเกร็ดความรู้ดี ๆ ในการขับรถลุยน้ำ ควรปฏิบัติอย่างไร พร้อมข้อควรปฏิบัติหลังขับรถลุยน้ำที่จำเป็นต้องทำ หากไม่อยากทำให้รถพัง และหวังว่าทุกคนน่าจะเลือกประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการกันได้แล้วนะ เพราะถึงอย่างไร มีประกันไว้คุ้มครองก็อุ่นใจกว่าเสมอ เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันนั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
ประกันแต่ละชั้นต่างกันยังไง ไขข้อข้องใจให้เข้าใจความแตกต่างของประกันแต่ละชั้นง่าย ๆ ให้คุณตัดสินใจเลือกประกันได้อย่างมั่นใจ ตอบชัดทุกข้อสงสัยแน่นอน
ประกันรถยนต์มีกี่ประเภท เรื่องที่คนมีรถต้องรู้ เคลียร์ชัดทุกข้อสงสัย เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างประกันภาคบังคับและภาคสมัครใจ แจกแจงความคุ้มครองแบบละเอียด
ประกันชั้น 3 คุ้มครองอะไรบ้าง แตกต่างจากประกันชั้น 3+ อย่างไรหาคำตอบได้ในบทความนี้ พร้อมแนะนำประกันชั้น 3 เบี้ยถูก รถอายุ 30 ปี ก็ซื้อประกันออนไลน์ได้