สำหรับใครที่ต้องใช้รถใช้ถนนเป็นประจำ เชื่อว่าจะต้องเคยใช้บริการ “ทางพิเศษ” หรือที่คนส่วนใหญ่ชอบเรียกว่า “ทางด่วน” ซึ่งปัจจุบันการใช้บริการทางด่วนต้องชำระเงินค่าผ่านทาง เลือกได้ว่าจะจ่ายเป็นเงินสด บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเพื่อความสะดวกรวดเร็วก็ต้องยกให้ Easy Pass ที่ตัดเงินจากระบบ Easy Pass ทันที โดยทุกครั้งที่ผ่านช่องชำระเงินรถทุกคันต้องชะลอความเร็ว เพื่อชำระเงินหรือเพื่อให้ระบบ Easy Pass ทำงาน Easy Pass ถือเป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็ว ระบายรถได้เร็วยิ่งขึ้น
แต่คุณทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันได้มีการออกแบบและใช้งานระบบ M Flow อีกขั้นของการชำระเงินค่าผ่านทางที่สะดวก รวดเร็ว และได้มาตรฐาน ใครที่ใช้ทางพิเศษเป็นประจำน่าจะเคยทดลองใช้งาน แต่สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่า M Flow คืออะไร จ่าย m flow อย่างไร ลองมาทำความรู้จักระบบใหม่กันให้มากขึ้นเพื่อการใช้บริการทางด่วนอย่างสะดวกสบายกว่าที่เคย
ทำความรู้จัก M Flow อีกหนึ่งบริการที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ทางพิเศษและมอเตอร์เวย์ ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ทางพิเศษรวมถึงเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบนทางพิเศษ รูปแบบการทำงานจะใช้ระบบ AI ในการบันทึกภาพป้ายทะเบียนรถ หรือ Video Tolling แทนการใช้ไม้กั้น เพราะฉะนั้นคนที่ใช้บริการช่อง M Flow จึงสามารถขับผ่านช่องบริการดังกล่าวได้โดยไม่ต้องชะลอความเร็ว ไม่ต้องจ่าย m flow ทันที เพราะระบบสามารถบันทึกภาพทะเบียนรถด้วยความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยช่องบริการ M Flow สามารถเพิ่มการระบายรถได้ดีกว่าเดิมถึง 5 เท่า ระบายรถได้ 2,000 – 2,500 คันต่อชั่วโมงและต่อช่องทาง นอกจากสะดวกสบายขึ้นแล้วยังแก้ปัญหาการจราจรติดขัดได้อย่างดีเยี่ยม
สำหรับการให้บริการ M Flow ทยอยเปิดให้บริการแล้ว ปัจจุบันนำร่องใช้งานที่ด่านทับช้าง 1 ด่านทับช้าง 2 ด่านธัญบุรี 1 และด่านธัญบุรี 2 ซึ่งกำลังวางแผนขยายเส้นทางให้บริการไปยังเส้นทางอื่น ๆ เชื่อว่าอีกไม่นานคนไทยจะได้ใช้บริการ M Flow อย่างครอบคลุมพื้นที่ยิ่งขึ้น รวมถึงการจ่าย m flow ก็รองรับหลายช่องทางแล้วเช่นกัน
เมื่อทราบแบบนี้แล้วใครที่เคยสงสัยว่า M Flow แตกต่างจาก Easy Pass อย่างไร ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือการใช้บริการ M Flow จะไม่มีไม้กั้น เพราะฉะนั้นเมื่อขับรถผ่านจึงไม่ต้องชะลอความเร็ว ในขณะที่การใช้บริการ Easy Pass ยังคงมีไม้กั้น รถทุกคันที่ผ่านช่องบริการนี้จึงต้องชะลอความเร็ว ในขณะเดียวกันอีกหนึ่งความแตกต่างคือการใช้ M Flow สามารถใช้บริการก่อนแล้วจึงจ่าย m flow ภายหลังตามเวลาที่กำหนดได้ ส่วน Easy Pass ยังคงต้องเติมเงินในระบบก่อนใช้บริการ
นอกจากการรับบริการสะดวกสบายแล้ว การสมัครสมาชิก M Flow และการจ่าย m flow ยังทำได้ง่าย โดยขั้นตอนการสมัครสมาชิกทำได้รวดเร็ว สมัครได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ MFlowThai.com แอปพลิเคชัน MFlowThai และสมัครผ่านจุดบริการทางหลวง
เมื่อสมัครสมาชิกแล้วจะสามารถใช้บริการช่อง M Flow ได้แบบรวดเร็วและสะดวกสบาย แต่สำหรับใครที่ไม่ได้เป็นสมาชิกและเผลอขับเข้าช่องบริการ M Flow ไปแล้วล่ะ ต้องจ่าย m flow อย่างไร
เชื่อว่าบางคนเมื่อใช้บริการ M Flow แล้วลืมจ่ายค่าบริการ อาจจะมานึกได้อีกทีเมื่อเลยกำหนดหรือเมื่อมีข้อความและมีหนังสือแจ้งเตือนส่งมาที่บ้านแล้ว กรณีนี้ต้องจ่าย m flow ย้อนหลัง สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกให้เข้าไปที่แอปพลิเคชัน MFlowThai เลือกเมนูได้รับหนังสือแจ้งเตือนและชำระเงินตามหนังสือแจ้งเตือน หากไม่เป็นสมาชิกให้นำหนังสือไปชำระที่ตู้ ATM เคาน์เตอร์ธนาคารหรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส ทั้งนี้การชำระล่าช้าจะมีค่าปรับและค่าเสียหายเพิ่มเติม เป็นจำนวนเงินสูงสุดถึง 10 เท่าของค่าบริการปกติ เพราะฉะนั้นเลี่ยงการจ่ายล่าช้าจะดีที่สุด
อีกหนึ่งเกร็ดความรู้หากไม่อยากทำผิดกฎจนโดนค่าปรับ ช่องบริการ M Flow ไม่อนุญาตให้รถบางประเภทใช้บริการ ได้แก่ รถยนต์ที่ไม่มีแผ่นป้ายทะเบียน รถยนต์ป้ายแดง หรือรถยนต์ที่ทะเบียนสีซีดจาง มีการดัดแปลง หรือมีอุปกรณ์อื่น ๆ บดบังจนไม่สามารถบันทึกภาพป้ายทะเบียนได้
จะเห็นว่าระบบ M Flow คืออีกขั้นของการให้บริการที่สะดวกสบายและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะช่วยให้การระบายรถคล่องตัว ลดปัญหาการจราจรติดขัด ที่สำคัญยังแม่นยำ ชำระเงินง่าย ดังนั้นใครที่ใช้บริการทางพิเศษเป็นประจำ แนะนำว่าให้สมัครสมาชิก M flow เพิ่มความสะดวกสบายในการชำระเงินและยังจ่าย m flow ง่าย เลือกได้หลายช่องทาง ที่สำคัญขับผ่านได้แบบชิล ๆ ไม่ต้องชะลอรถ เดินทางถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วยิ่งขึ้น และนอกจากการสมัคร M Flow แล้ว ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนอย่าลืมเช็กให้ชัวร์ว่าประกันรถยนต์ยังไม่หมดอายุจะได้ขับขี่มั่นใจตลอดเส้นทาง เกิดเหตุฉุกเฉินเมื่อไหร่ประกันรถยนต์จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบา ขับขี่สบายใจหายห่วง
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง