สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานหลายปี สีของรถย่อมจะเริ่มซีดจางหรือเริ่มหลุดลอกจากการถูกขีดข่วน เจ้าของรถบางคนจึงตัดสินใจนำรถไปเปลี่ยนสีใหม่ไม่ใช่เฉดสีดั้งเดิมที่ระบุในเล่มทะเบียนรถ คำถามที่ตามมาก็คือ หากนำรถไปเปลี่ยนสีแล้วต้องแจ้งเปลี่ยนสีรถก่อนจะนำรถออกมาใช้งานหรือไม่? หากไม่แจ้งจะมีความผิดตามกฎหมายอย่างไรบ้าง และขั้นตอนในการแจ้งขอเปลี่ยนสีรถมีอะไรบ้าง ใครที่ยังไม่รู้ วันนี้ insurverse ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว
การนำรถไปเปลี่ยนสีใหม่ไม่ใช่เฉดสีดั้งเดิมที่ระบุในเล่มทะเบียนรถจะต้องทำการแจ้งเปลี่ยนสีรถทุกครั้ง สาเหตุเพราะพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 13 ระบุว่า รถยนต์คันใดที่มีการเปลี่ยนแปลงสีตัวถังมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เจ้าของรถจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนที่กรมขนส่งฯ ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่เปลี่ยนสีรถแล้วเสร็จ หากไม่แจ้งภายในเวลาที่กำหนดจะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
สำหรับเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการแจ้งเปลี่ยนสีรถต่อนายทะเบียนมีดังนี้
ในกรณีที่เจ้าของรถไม่มีเอกสารยืนยันการเปลี่ยนสีรถ เช่น ไม่มีใบเสร็จรับเงิน ทางกรมขนส่งฯ อนุญาตให้ใช้ “บิลเงินสด” เขียนระบุรายละเอียดค่าเปลี่ยนสีรถเพื่อใช้ยื่นต่อนายทะเบียนได้ โดยจะต้องเขียนระบุชื่อร้าน/อู่ที่ใช้บริการ ชื่อเจ้าของรถที่เข้ารับบริการ วันที่ที่เข้ารับบริการ ที่อยู่เจ้าของรถที่ต้องตรงกับคู่มือจดทะเบียนรถ รวมถึงรายละเอียดสีใหม่ของรถให้ครบถ้วน
เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้วก็สามารถไปยื่นแจ้งเปลี่ยนสีรถได้ที่กรมขนส่งฯ โดยมีขั้นตอนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้
สุดท้ายนี้ใครที่สงสัยว่าสามารถแจ้งเปลี่ยนสีรถแบบออนไลน์ได้ไหม? คำตอบคือยังไม่สามารถทำได้ เพราะการยื่นเปลี่ยนสีรถนั้นต้องใช้เอกสารสำคัญที่มีรายละเอียดมาก อีกทั้งยังต้องให้เจ้าหน้าที่จากกรมขนส่งฯ ทำการตรวจเช็กสภาพรถว่าตรงกับเอกสารที่ยื่นหรือไม่ แต่ถึงอย่างนั้นผู้ใช้รถทุกท่านก็สามารถยื่นเอกสารเปลี่ยนสีรถได้ที่สำนักงานกรมขนส่งฯ ของทุกจังหวัด แม้จะไม่ใช่จังหวัดที่จดทะเบียนรถก็ได้ ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนและรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการแจ้งเปลี่ยนสีรถที่เรารวบรวมมาฝากกันในวันนี้ ส่วนใครที่เพิ่งซื้อรถใหม่หรือเพิ่งจะทำสีรถมาใหม่แล้วกังวลว่าสีรถจะถลอกเสียหายเมื่อเกิดเหตุเฉี่ยวชน แนะนำให้ทำ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองรอบด้าน สามารถเคลมค่าใช้จ่ายในการทำสีรถใหม่ได้อย่างครอบคลุม โดยสามารถ เช็กเบี้ยประกันรถยนต์ ออนไลน์ได้ที่หน้าเว็บไซต์ insurverse เพื่อหาแผนการทำประกันที่ให้ความคุ้มครองคุ้มค่าและค่าเบี้ยประกันเหมาะสมกับงบในกระเป๋า เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้รถใหม่ได้อย่างอุ่นใจ ไม่ต้องห่วงเรื่องอุบัติเหตุ
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง