อุบัติเหตุรถยนต์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าจะขับรถเก่งขนาดไหนก็ต้องมีบางจังหวะที่พลาดพลั้งกันบ้างเป็นธรรมดา แต่ถ้าพลาดขับรถชนเสาไฟฟ้าแบบนี้คงไม่ได้จบแค่แยกย้ายแน่นอน เพราะเสาไฟฟ้าเป็นนับเป็นสินทรัพย์ของทางหลวงที่มีราคาปรับต้องจ่ายค่าปรับที่ต้องจ่าย นอกจากเสาไฟฟ้ายังมีของหลวงชนิดอื่นๆ ที่มีค่าปรับด้วยเช่นกัน เพื่อให้ทุกคนมีความตระหนักในการขับขี่มากขึ้น วันนี้ insurverse ได้รวบรวมข้อมูลค่าปรับเมื่อขับรถชนเสาไฟฟ้าและอุปกรณ์จราจรชนิดอื่นๆ มาให้ดูกัน พร้อมไขข้อสงสัยที่ว่าขับรถชนเสาไฟฟ้าประกันจ่ายมั้ย ถ้าอยากรู้ติดตามกันได้เลย
ขับรถชนเสาไฟฟ้าและของหลวงชนิดอื่นๆ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา หมวดที่ 7 ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ในมาตรา 360 ระบุไว้ว่า “ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
แต่อย่าพึ่งตกใจไป เพราะเมื่อเกิดเหตุคุณสามารถติดต่อขอเจรจาเรื่องค่าเสียหาย กับหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบอุปกรณ์เหล่านี้ก่อนได้โดยไม่จำเป็นต้องถูกดำเนินคดี อย่างเสาไฟฟ้าอยู่ในการดูแลของการไฟฟ้า (การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ป้ายจราจรและอุปกรณ์ต่างๆ ดูแลโดยกรมทางหลวง และต้นไม้ประดับริมทางอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเขตหรือเทศบาลในพื้นที่นั้น แต่ในทางกลับกันหากคุณชนแล้วหนีไม่รับผิดชอบไม่มีการเจรจาแบบนี้มีสิทธิ์โดนดำเนินคดีอย่างแน่นอน
เรามาดูกันดีกว่าว่าค่าปรับสำหรับเสาไฟฟ้าและของหลวงชนิดอื่นๆ มีค่าปรับเท่าไหร่ แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง โดยมีราคาคร่าวๆ ดังนี้
เสาไฟฟ้าเป็นทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การดูแลของการไฟฟ้า ทั้งการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยค่าปรับจะประเมินจากความสูงของเสาไฟฟ้าและกำลังไฟดังนี้
หากบนเสาไฟฟ้ามีการพ่วงสายสัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตจากเอกชนร่วมด้วย ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องชดใช้ให้กับบริษัทที่รับผิดชอบบวกเพิ่มเข้าไปอีกตามความเสียหาย
เสาสัญญาณไฟจราจรทุกประเภท ค่าปรับเริ่มต้นที่ 8,000-15,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของเสา อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเสา และสภาพความเสียหายประกอบด้วย
ขับรถชนป้ายทางหลวงหรือป้ายจราจร ค่าปรับเริ่มต้นที่ 1,000-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดป้าย ประเภทของป้าย ความเสียหาย และค่าแรงติดตั้ง
ขับรถชนแบริเออร์ ค่าปรับเริ่มต้นที่ 800-1,500 บาท/ชิ้น ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ใช้ ค่าแรงติดตั้ง และจำนวนแบริเออร์ที่เสียหาย
แผงกั้นจราจร ค่าปรับเริ่มต้นที่ 1,000-1,500 บาท/ชิ้น ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ ขนาด อุปกรณ์ และจำนวนของแผงกั้นที่เสียหาย
กรวยจราจร มีค่าปรับเริ่มต้นที่ 200-800 บาท ขึ้นอยู่กับราคาสุทธิของอุปกรณ์ และจำนวนกรวยที่เสียหาย
ต้นไม้เป็นทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานเขตและเทศบาล มีค่าปรับเริ่มต้นที่ 2,000 บาท ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของต้นไม้ อายุขัยของต้นไม้ และจำนวนต้นไม้ที่เสียหาย
ในกรณีขับรถชนของหลวงไม่ว่าจะประเภทไหนก็ตาม ประกันรถยนต์ที่เราทำเอาไว้จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าปรับตามทุนประกันที่ตกลงไว้ในกรมธรรม์ แต่มีข้อแม้คือต้องเป็น “ประกันชั้น 1” เท่านั้น ส่วนประกันชั้นอื่นๆ อย่างชั้น 2+, 2, 3+ และ 3 จะไม่รับผิดชอบการชนแบบไม่มีคู่กรณี โดยที่เงินค่าปรับเราจะต้องรับผิดชอบเอง พูดง่ายๆ ก็คือถ้าชนสิ่งที่ไม่ใช่คนหรือรถยนต์ เจ้าของรถจะต้องรับผิดชอบค่าปรับทั้งหมดนั่นเอง
เมื่อรู้ถึงค่าปรับในการขับรถชนเสาไฟฟ้า ป้ายทางหลวงหรือแบริเออร์แล้ว ขอแนะนำว่าควรขับขี่อย่างมีสติและระมัดระวังให้ดีที่สุด เพราะทุกเหตุการณ์ล้วนมีราคาที่คุณต้องจ่าย ถ้าให้ชัวร์ควรทำประกันรถยนต์เอาไว้เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระแก่คุณได้เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด insurverse ประกันรถยนต์ออนไลน์ที่ให้คุณมีอิสระในการเลือกเบี้ยประกันหรือความคุ้มครองที่คุ้มสุดๆ จะขับเยอะหรือขับน้อยก็ตอบโจทย์ได้ทุกความต้องการ
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
ประกันแต่ละชั้นต่างกันยังไง ไขข้อข้องใจให้เข้าใจความแตกต่างของประกันแต่ละชั้นง่าย ๆ ให้คุณตัดสินใจเลือกประกันได้อย่างมั่นใจ ตอบชัดทุกข้อสงสัยแน่นอน
ประกันรถยนต์มีกี่ประเภท เรื่องที่คนมีรถต้องรู้ เคลียร์ชัดทุกข้อสงสัย เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างประกันภาคบังคับและภาคสมัครใจ แจกแจงความคุ้มครองแบบละเอียด
ประกันชั้น 3 คุ้มครองอะไรบ้าง แตกต่างจากประกันชั้น 3+ อย่างไรหาคำตอบได้ในบทความนี้ พร้อมแนะนำประกันชั้น 3 เบี้ยถูก รถอายุ 30 ปี ก็ซื้อประกันออนไลน์ได้