vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
มือใหม่ต้องรู้ เกียร์ออโต้ มีอะไรบ้าง

มือใหม่ต้องรู้ เกียร์ออโต้ มีอะไรบ้าง

schedule
share

           สำหรับมือใหม่หัดขับรถครั้งแรก เกียร์ออโต้นั้นสำคัญกว่าที่คิด เพราะด้วยระบบเกียร์ออโต้ ไม่ต้องคอยเข้าเกียร์ตามจังหวะ เพียงแค่เปลี่ยนตามทิศทางเท่านั้น อาทิ เดินหน้า ถอยหลัง แต่สำหรับมือใหม่แล้วนั้น ควรจะจำสัญลักษณ์หรือตัวอักษรข้างเกียร์ให้ได้ เพราะแต่ละตัว จะทำหน้าที่ต่างกัน ทำให้วันนี้ทาง insurverse จะมาบอกถึงสัญลักษณ์อักษรต่างๆ ว่าแต่ละตัวนั้นทำหน้าที่อะไรกันบ้าง แอบกระซิบเลยว่าจำไม่ยากอย่างที่คิด

เทคนิคการจำระบบเกียร์ ออ โต้

เกียร์ออโต้ คืออะไร

       เกียร์ออโต้ คือ ระบบเกียร์อัตโนมัติของรถยนต์ ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนเกียร์ระหว่างขับขี่แทนคนขับ เพื่อรถใช้กำลังจากเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนส่งไปยังเพลาคลัทช์ ระบบจะมีการปรับเปลี่ยนเกียร์อย่างเหมาะสมตามความเร็วและน้ำหนักรถ ทำให้คนขับรถแบบออโต้สามารถขับขี่ได้อย่างลื่นไหล อีกทั้งการทำงานก็ไม่ซับซ้อน รถเกียร์ออโต้จึงเหมาะสำหรับมือใหม่หัดขับและคนที่ขี้เกียจเปลี่ยนเกียร์เอง ยิ่งขับรถในตัวเมืองยิ่งขับได้ง่าย ไม่ต้องเมื่อยขาคอยเหยียบคลัทช์แล้วเปลี่ยนเกียร์เองอยู่บ่อยๆ อีกทั้งยังสะดวกต่อการควบคุมการขับขี่ไม่ว่าจะขึ้นเนินสูงหรือลงเนิน ทุกเส้นทางขับได้ง่ายและปลอดภัยกว่าเดิมค่ะ

ระบบเกียร์ออโต้ มีกี่แบบ? สำหรับมือใหม่ที่กำลังหัดขับรถ

           รูปแบบเกียร์ออโต้จะหน้าที่เหมือนกันทุกคัน เมื่อได้ทำการสับเปลี่ยนตัวเกียร์ตัวเครื่องยนต์จะส่งกำลังไปยังตัวเพลาและส่งไปยังล้อ เพื่อให้ทำหน้าที่ ไม่ว่าจะเดินหน้า ถอยหลัง ต่อมาเรามาเรียนรู้กันเลยดีกว่าว่า แต่ละตัวบนเกียร์ทำหน้าที่อะไรกันบ้าง? เกียร์ออโต้ มีกี่แบบ? ควรใช้อย่างไร? แต่ละแบบมีเทคนิคการจำอย่างไร? มาดูกันค่ะ

1.ตัว P หรือ Parking

สำหรับ P ย่อมาจาก Parking หรือที่เรียกว่าจอด จำง่ายๆว่า ถ้าจะจอดรถให้ดันเกียร์ไปตัว P เพราะล้อจะล็อคสนิท ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ไม่จำเป็นต้องเหยียบเบรคไว้ ซึ่งจะใช้ในกรณีต้องการจะจอดรถเท่านั้น แต่ถ้าหากอยู่บริเวณที่ลาดชันมากๆ แนะนำว่าให้ดึงเบรคมือช่วยอีกแรง และข้อสำคัญสำหรับมือใหม่หัดขับรถเกียร์ออโต้ จะดันไปตัว P ได้ ต้องสังเกตด้วยว่าไม่จอดซ้อนคันอื่นไว้ เพราะรถจะไม่สามารถเข็นไปไหนได้

2.ตัว R หรือ Reverse

สำหรับ R ย่อมาจาก Reverse หรือเป็นเกียร์สำหรับถอยหลังนั้นเอง ไม่ควรเหยียบเร่งเร็วจนเกินไป ควรจะออกตัวอย่างช้าๆ และควรดูกระจกหลังและกระข้างให้รอบคอบว่าจะไม่มีสิ่งกีดขวาง

3.ตัว N หรือ Neutral

สำหรับ N ย่อมาจาก Neutral หรือเรียกว่าเกียร์ว่าง หน้าที่ในเกียร์ออโต้ของ N จะทำงานคล้ายกับ P เลย แต่ต่างกันตรงที่ตัว N สามารถเคลื่อนไหวล้อได้อย่างอิสระ โดยส่วนใหญ่จะปรับเปลี่ยนเกียร์ N ในขณะที่กำลังติดไฟสัญญาณจราจร เพื่อความประหยัดน้ำมัน และกรณีที่จอดซ้อนคัน ต้องการเปลี่ยนเกียร์ให้ว่าง เพื่อจะได้เข็นรถออกได้ง่ายนั้นเอง

4.ตัว D หรือ Drive

สำหรับ D ย่อมาจาก Drive เป็นเกียร์ออโต้เดินหน้า เหมาะสำหรับใช้บนท้องถนนแนวราบ ซึ่งเรียกว่าเป็นเกียร์ที่จะต้องใช้บ่อยสุดนั้นเอง ภายในระบบจะทำการเปลี่ยนจังหวะเกียร์ให้อัตโนมัติ

5.ตัว DL(D1)

สำหรับตัว D2 เป็นเกียร์ออโต้ ที่บางรุ่นก็อาจจะไม่มี แต่ด้วยหน้าที่ของ D2 จะสับเปลี่ยนเกียร์ในกรณีที่ต้องขึ้นเขา ทางลาดชันมากๆ หรือกรณีขึ้นบริเวณลาดจอดตามห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ก็สามารถสับเปลี่ยนเป็นเกียร์ D2 ได้

6.ตัว D3

สำหรับตัว D3 จะใช้กับทางตรงเหมือนกับตัว D เลย แต่ด้วย D3 จะสับเปลี่ยนขณะที่ต้องขึ้นสะพาน หรือต้องการจะแซงรถข้างหน้า เพราะด้วยระบบจังหวะเกียร์ D3 เกียร์จะปรับเปลี่ยนให้กำลังอยู่ที่จังหวะ 1-3 เท่านั้น เพื่อไม่ให้แรงม้าตกนั้นเอง

7.ตัว L หรือ Low

สำหรับ L ย่อมาจาก Low ของเกียร์ ออ โต้ นั้นเอง หากเปรียบกับเกียร์กระปุกก็คือเกียร์ 1 หน้าที่ของ L จะโดนสับเปลี่ยนขณะที่จะขึ้นเนินชันมากๆ อีกทั้งยังช่วยต่ออายุกับผ้าเบรคให้ใช้งานได้ยาวนานอีกด้วย เพราะด้วยเครื่องยนต์จะช่วยลดในการเหยียบเบรคเอาไว้

8.ตัว S หรือ Sport

สำหรับ S ย่อมาจาก Sport จะพบเจอในรถรุ่นใหม่ๆในปัจจุบันมากกว่า ซึ่งหน้าที่จะช่วยในเรื่องการเปลี่ยนอัตราให้เกียร์ทำงานช้าลง อาทิ ในกรณีต้องการแซงรถข้างหน้า

9.ตัว B หรือ Break

สำหรับ B ย่อมาจาก Break จะเจอในรถเกียร์ออโต้ในปัจจุบัน ซึ่งจะทำงานเหมือนกับตัว L เลย อาทิ ลงทางลาดชันมากๆ หรือกำลังขึ้นเนินชัน

รูปแบบเกียร์ออโต้

ข้อควรรู้เพิ่มอายุเกียร์

      การใช้งานเกียร์ออโต้มีอายุการใช้งานด้วยนะคะ จะมีระยะเวลาในการเสื่อมสภาพ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานด้วยค่ะ ถ้าคุณดูแลเอาใส่ใจและรู้วิธีดูแลเกียร์ออโต้ที่ถูกต้องและใช้เกียร์ออโต้ถูกวิธี ก็จะช่วยเพิ่มอายุเกียร์ ทำให้ใช้งานต่อได้อีกยาวๆ เลยค่ะ ดังนั้นตามมาดูวิธีดูแลเกียร์ออโต้และข้อควรรู้ในการถนอมเกียร์ว่ามีอะไรบ้าง? ตามนี้ค่ะ

  1. อย่าปล่อยให้แบตหมด : เกียร์ออโต้ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นควรใส่ใจเรื่องแบตเตอรี่เป็นพิเศษ อย่าปล่อยให้แบตหมดหรือใช้รถจนแบตเสื่อมสภาพแล้วไม่ยอมเปลี่ยนแบตลูกใหม่สักที ส่วนใครที่นิยมซื้อรถมาจอดไม่ค่อยได้ใช้งานรถ อาจจะถอดขั้วแบตเอาไว้ก่อนค่ะ เพื่อป้องกันไม่ให้แบตเสื่อมหรือแบตหมดค่ะ
  2. หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ทุกๆ 40,000-60,000 กิโลเมตร ตามรายละเอียดในคู่มือ
  3. เหยียบเบรกก่อน : เมื่อได้รู้แล้วว่าเกียร์ออโต้ มีกี่แบบ? ก่อนเปลี่ยนเกียร์เป็น D, P, N, R หรือ DL (D1), D2 หรือ D3 ควรเหยียบเบรกก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนเกียร์ค่ะ เพื่อถนอมชุดเฟืองเกียร์และช่วยให้กำลังส่งเกียร์ไม่สะดุด ถ้าหากเปลี่ยนเกียร์ทันทีโดยที่ไม่ได้เหยียบเบรกก่อน อาจทำให้เกียร์กระชาก, รถกระตุกหรือชุดเกียร์มีปัญหาได้ค่ะ
  4. การจอดรถบนทางลาดชัน : สำหรับระบบเกียร์ออโต้ หากต้องการในการจอดรถบนทางลาดชัน ควรใส่เกียร์ P คู่ กับการดึงเบรกมือจะช่วยให้อุ่นใจได้ค่ะว่า จอดรถได้ชัวร์ รถไม่ไหลตามเนินแน่นอน แต่ถ้าใส่เกียร์อื่นๆ ด้วยน้ำหนักรถที่มากอาจจะทำให้รถไหลและมีปัญหากระทบกับชุดเกียร์ได้ค่ะ นอกจากเกียร์จะเสื่อมสภาพไวแล้วยังอาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดกับรถได้ด้วยค่ะ จุดนี้ต้องระวังให้มากค่ะ
  5. ขณะขับขี่ไม่ควรเข้าเกียร์ N เด็ดขาด : เพราะจะทำให้เกิดความร้อนสูงเนื่องจากน้ำมันหล่อลื่นหยุดไหล จนเกิดความเสียหายตามมาในระยะยาว ลามไปถึงส่วนอื่นๆ ของเครื่องยนต์ อาจต้องเสียค่าซ่อมบำรุงที่บานปลายมากกว่าเดิม หากต้องการเปลี่ยนเป็นเกียร์ N ให้เปลี่ยนตอนที่รถจอดค่ะ เช่น ช่วงจอดรอไฟแดงและเพิ่มความอุ่นใจด้วยการดึงเบรกมือทุกครั้งค่ะ รถจะได้ปลอดภัยไม่ไหลไปชนใครค่ะ

สรุป การสับเปลี่ยนเกียร์ออโต้ เป็นสิ่งที่สำคัญของการขับรถ

           แน่นอนการสับเปลี่ยนเกียร์ออโต้ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับมือใหม่อย่างเรา แต่ด้วยมีสถานการณ์ตรงหน้าที่ต้องเจอ นอกจากทักษะการจำเกียร์แล้ว นั้นคือความปลอดภัยในการขับขี่บนท้องถนน การมีประกันรถยนต์ชั้น 1 ไว้ข้างกาย เพราะด้วยอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันอาจจะเกิดขึ้นที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นใครที่อยากจะหาประกันรถยนต์ออนไลน์ insurverse เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะไม่ทำให้คุณผิดหวังแน่นอน

คำถามที่พบบ่อย

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)