vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ไฟผ่าหมาก คืออะไร ควรใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

ไฟผ่าหมาก คืออะไร ควรใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

schedule
share

ผู้ใช้รถเคยสงสัยกันหรือเปล่า ว่าไฟผ่าหมาก หรือไฟฉุกเฉินต้องใช้ตอนไหน เพราะในหลาย ๆ ครั้ง เรามักเจอการใช้ไฟผ่าหมากในหลากหลายสถานการณ์ จนบางทีก็สับสนว่า ต้องใช้ในสถานการณ์ไหนถึงจะถูก และแบบไหนไม่ควรใช้ เพราะอาจเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุจนต้องเรียกประกันรถยนต์ วันนี้ insurverse จะพาไปทำความเข้าใจเรื่องนี้กันเอง 

ไฟผ่าหมาก คืออะไร

ไฟผ่าหมาก คือ สัญญาณไฟที่ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อแจ้งเตือนรถคันอื่นว่า รถคันที่เปิดไฟผ่าหมากอยู่ ไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ตามปกติ เพราะได้รับอุบัติเหตุ หรือมีสิ่งกีดขวางอยู่ด้านหน้าจนต้องจอดอยู่กับที่ ซึ่งปุ่มสัญลักษณ์ไฟผ่าหมาก หรือไฟฉุกเฉินรถยนต์ จะถูกออกแบบมาให้เป็นสีแดงอยู่บริเวณกลางคอนโซลรถ และมีสัญลักษณ์เป็นรูปสามเหลี่ยมบนปุ่ม เพื่อสำหรับใช้งานในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น  

ไฟผ่าหมากหรือไฟฉุกเฉิน ควรใช้ตอนไหน

ไฟผ่าหมากหรือไฟฉุกเฉิน ควรใช้ตอนไหน

ไฟฉุกเฉิน ควรใช้ตอนไหน น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถหลายคนสงสัย คำตอบก็คือ “ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น” ในที่นี้หมายถึง เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน รถเสีย หรือมีสิ่งกีดขวางด้านหน้ารถ ที่จำเป็นจะต้องจอดแบบเลี่ยงไม่ได้ แบบนี้ถือว่าเปิดใช้งานไฟฉุกเฉินรถยนต์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย 

หากไม่เปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ ผิดกฎหมายข้อไหน

หากจะอ้างอิงถึงกฎหมายจราจรทางบก ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดใช้งานไฟผ่าหมากโดยตรงแล้ว จะแบ่งออกเป็น 2 มาตราที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีเนื้อหาใจความ ดังนี้

  • มาตรา 11 : ถ้าเป็นการจอดรถอยู่ในที่มืด และมีแสงสว่างไม่เพียงพอจะมองเห็นคนหรือรถ ผู้ขับขี่จำเป็นจะต้องเปิดสัญญาณไฟในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร เพื่อให้ผู้อื่นสามารถมองเห็นได้ หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 500 บาท
  • มาตรา 59 : หากเกิดเหตุการณ์รถเสียขึ้นกลางทาง แต่ไม่สามารถนำรถออกจากเส้นทางจราจรได้ทันที ให้จอดรถไว้ข้างทาง และเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ เพื่อส่งสัญญาณให้รถคนอื่นที่สัญจรไปมาบนถนนรับรู้ หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 1,000 บาท

4 สถานการณ์ที่ไม่ควรใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์

4 สถานการณ์ที่ไม่ควรใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์

เมื่อรู้กันไปแล้วว่า สถานการณ์แบบไหนควรใช้ไฟผ่าหมาก ทีนี้เรามาดูกันต่อบ้างว่า สถานการณ์แบบไหนที่ไม่ควรเปิดไฟผ่าหมากเด็ดขาด เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ผู้ใช้รถหลายคนก็ยังเปิดแบบผิด ๆ กันอยู่  

1. เปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ตอนฝนตกหนัก

การเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ตอนฝนหนัก เป็นหนึ่งในสถานการณ์ที่หลายคนมักทำผิด โดยมักจะคิดกันไปเองว่า ในช่วงที่ฝนตกลงมาหนัก ทัศนวิสัยบนท้องจะย่ำแย่ การเปิดไฟผ่าหมากที่เป็นสัญญาณฉุกเฉิน จะช่วยให้รถคันอื่นมองเห็นเราได้ชัดขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นการกระทำที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าเดิม เพราะไฟผ่าหมากจะทำงานทั้งหน้าหลัง 4 จุด จึงอาจทำให้รถคันอื่นมองผิดเป็นไฟเลี้ยว และเสี่ยงเกิดการชนกันได้มากกว่าเดิม จึงไม่ควรเปิดใช้ในสถานการณ์นี้เด็ดขาด 

2. เปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ตอนขับผ่านแยก

การเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ตอนขับผ่านแยก เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเช่นกัน แม้ว่าแยกนั้นจะไม่ได้มีสัญญาณไฟจราจรติดตั้งอยู่ก็ตาม เพราะอย่างที่เราได้บอกไปว่า ไฟผ่าหมากจะทำงานทั้ง 4 จุด บริเวณไฟหน้า และไฟท้ายรถ จึงทำให้รถที่จอดรถอยู่อีกด้านหนึ่ง อาจมองเห็นไฟสัญญาณจากรถเราเพียงข้างเดียว และเข้าใจผิดว่าเราต้องการเลี้ยวแทนการขับตรงไป ซึ่งจะทำให้เกิดอุบัติเหตุโดยไม่จำเป็นอีกสถานการณ์หนึ่ง 

3. เปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ตอนจอดซื้อของ

การเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ตอนจอดซื้อของ เป็นสถานการณ์ที่ผู้ใช้รถหลายคนน่าจะรู้กันดีว่าผิดกฎหมายเต็ม ๆ เพราะไม่ใช่สถานการณ์ฉุกเฉินที่ควรใช้แต่อย่างใด และถ้าจอดในที่ที่ควรจอดจนทำให้รถติด ก็จะโทษปรับร่วมเข้าไปอีก จึงควรจอดรถให้เป็นที่เป็นทางตามที่กฎหมายระบุไว้จะถูกต้องกว่า 

4. เปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ตอนเปลี่ยนเลน

การเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ตอนเปลี่ยนเลน คืออีกหนึ่งสถานการณ์คนใช้กันแบบผิด ๆ เพราะมึเหตุผลไม่ต่างเรื่องอื่นตรงที่ จะทำให้ผู้ใช้รถคันอื่นที่ขับตามมาสับสน และเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม จึงควรใช้ไฟเลี้ยวตามปกติ โดยไม่ต้องใช้ไฟฉุกเฉินร่วมด้วยแต่อย่างใด  

เวลาถอยรถต้องเปิดไฟฉุกเฉินไหม

การถอยรถไม่จำเป็นต้องเปิดไฟฉุกเฉิน เพราะมีไฟท้ายที่จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้กับรถคันอื่นรู้อยู่แล้ว โดยเฉพาะการถอยจอดตามลานจอดรถด้วยเช่นกัน ผู้ใช้รถหลายคนชอบเลือกที่จะเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ โดยคิดว่าเป็นไฟขอทาง แต่ความเป็นจริงไม่ควรทำอย่างนั้น เพราะไม่ได้เป็นสถานการณ์ที่จำเป็นจะต้องเปิดใช้

สรุปบทความ ไฟผ่าหมาก คืออะไร ควรใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

หวังว่าผู้ใช้รถทุกคนจะเข้าใจกันแล้วนะว่า ไฟผ่าหมาก หรือไฟฉุกเฉินควรใช้ตอนไหนถึงจะถูกกฎหมาย และสถานการณ์ไปบ้างที่ไม่ควรเปิด เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากกว่าเดิม ส่วนคนที่อยากได้รับความคุ้มครองในการใช้รถทุกวันแบบครอบคลุม เลือกทำประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือประกันชั้น 2+ กับทาง insurverse ได้เลย เพราะทำง่ายได้ตลอด 24 ชม. แถมยังปรับความคุ้มครองได้ตามต้องการอีกด้วย

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)