ผู้ใช้รถเคยสงสัยกันหรือเปล่า ว่าไฟผ่าหมาก หรือไฟฉุกเฉินต้องใช้ตอนไหน เพราะในหลาย ๆ ครั้ง เรามักเจอการใช้ไฟผ่าหมากในหลากหลายสถานการณ์ จนบางทีก็สับสนว่า ต้องใช้ในสถานการณ์ไหนถึงจะถูก และแบบไหนไม่ควรใช้ เพราะอาจเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุจนต้องเรียกประกันรถยนต์ วันนี้ insurverse จะพาไปทำความเข้าใจเรื่องนี้กันเอง
ไฟผ่าหมาก คือ สัญญาณไฟที่ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อแจ้งเตือนรถคันอื่นว่า รถคันที่เปิดไฟผ่าหมากอยู่ ไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ตามปกติ เพราะได้รับอุบัติเหตุ หรือมีสิ่งกีดขวางอยู่ด้านหน้าจนต้องจอดอยู่กับที่ ซึ่งปุ่มสัญลักษณ์ไฟผ่าหมาก หรือไฟฉุกเฉินรถยนต์ จะถูกออกแบบมาให้เป็นสีแดงอยู่บริเวณกลางคอนโซลรถ และมีสัญลักษณ์เป็นรูปสามเหลี่ยมบนปุ่ม เพื่อสำหรับใช้งานในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น
ไฟฉุกเฉิน ควรใช้ตอนไหน น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถหลายคนสงสัย คำตอบก็คือ “ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น” ในที่นี้หมายถึง เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน รถเสีย หรือมีสิ่งกีดขวางด้านหน้ารถ ที่จำเป็นจะต้องจอดแบบเลี่ยงไม่ได้ แบบนี้ถือว่าเปิดใช้งานไฟฉุกเฉินรถยนต์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
หากจะอ้างอิงถึงกฎหมายจราจรทางบก ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดใช้งานไฟผ่าหมากโดยตรงแล้ว จะแบ่งออกเป็น 2 มาตราที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีเนื้อหาใจความ ดังนี้
เมื่อรู้กันไปแล้วว่า สถานการณ์แบบไหนควรใช้ไฟผ่าหมาก ทีนี้เรามาดูกันต่อบ้างว่า สถานการณ์แบบไหนที่ไม่ควรเปิดไฟผ่าหมากเด็ดขาด เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ผู้ใช้รถหลายคนก็ยังเปิดแบบผิด ๆ กันอยู่
การเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ตอนฝนหนัก เป็นหนึ่งในสถานการณ์ที่หลายคนมักทำผิด โดยมักจะคิดกันไปเองว่า ในช่วงที่ฝนตกลงมาหนัก ทัศนวิสัยบนท้องจะย่ำแย่ การเปิดไฟผ่าหมากที่เป็นสัญญาณฉุกเฉิน จะช่วยให้รถคันอื่นมองเห็นเราได้ชัดขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นการกระทำที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าเดิม เพราะไฟผ่าหมากจะทำงานทั้งหน้าหลัง 4 จุด จึงอาจทำให้รถคันอื่นมองผิดเป็นไฟเลี้ยว และเสี่ยงเกิดการชนกันได้มากกว่าเดิม จึงไม่ควรเปิดใช้ในสถานการณ์นี้เด็ดขาด
การเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ตอนขับผ่านแยก เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเช่นกัน แม้ว่าแยกนั้นจะไม่ได้มีสัญญาณไฟจราจรติดตั้งอยู่ก็ตาม เพราะอย่างที่เราได้บอกไปว่า ไฟผ่าหมากจะทำงานทั้ง 4 จุด บริเวณไฟหน้า และไฟท้ายรถ จึงทำให้รถที่จอดรถอยู่อีกด้านหนึ่ง อาจมองเห็นไฟสัญญาณจากรถเราเพียงข้างเดียว และเข้าใจผิดว่าเราต้องการเลี้ยวแทนการขับตรงไป ซึ่งจะทำให้เกิดอุบัติเหตุโดยไม่จำเป็นอีกสถานการณ์หนึ่ง
การเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ตอนจอดซื้อของ เป็นสถานการณ์ที่ผู้ใช้รถหลายคนน่าจะรู้กันดีว่าผิดกฎหมายเต็ม ๆ เพราะไม่ใช่สถานการณ์ฉุกเฉินที่ควรใช้แต่อย่างใด และถ้าจอดในที่ที่ควรจอดจนทำให้รถติด ก็จะโทษปรับร่วมเข้าไปอีก จึงควรจอดรถให้เป็นที่เป็นทางตามที่กฎหมายระบุไว้จะถูกต้องกว่า
การเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ตอนเปลี่ยนเลน คืออีกหนึ่งสถานการณ์คนใช้กันแบบผิด ๆ เพราะมึเหตุผลไม่ต่างเรื่องอื่นตรงที่ จะทำให้ผู้ใช้รถคันอื่นที่ขับตามมาสับสน และเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม จึงควรใช้ไฟเลี้ยวตามปกติ โดยไม่ต้องใช้ไฟฉุกเฉินร่วมด้วยแต่อย่างใด
การถอยรถไม่จำเป็นต้องเปิดไฟฉุกเฉิน เพราะมีไฟท้ายที่จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้กับรถคันอื่นรู้อยู่แล้ว โดยเฉพาะการถอยจอดตามลานจอดรถด้วยเช่นกัน ผู้ใช้รถหลายคนชอบเลือกที่จะเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ โดยคิดว่าเป็นไฟขอทาง แต่ความเป็นจริงไม่ควรทำอย่างนั้น เพราะไม่ได้เป็นสถานการณ์ที่จำเป็นจะต้องเปิดใช้
หวังว่าผู้ใช้รถทุกคนจะเข้าใจกันแล้วนะว่า ไฟผ่าหมาก หรือไฟฉุกเฉินควรใช้ตอนไหนถึงจะถูกกฎหมาย และสถานการณ์ไปบ้างที่ไม่ควรเปิด เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากกว่าเดิม ส่วนคนที่อยากได้รับความคุ้มครองในการใช้รถทุกวันแบบครอบคลุม เลือกทำประกันรถยนต์ชั้น 1 หรือประกันชั้น 2+ กับทาง insurverse ได้เลย เพราะทำง่ายได้ตลอด 24 ชม. แถมยังปรับความคุ้มครองได้ตามต้องการอีกด้วย
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
แหนบรถยนต์ช่วยรองรับน้ำหนัก ดูดซับแรงกระแทก และเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ รู้จักหน้าที่ของแหนบและวิธีดูแลจะช่วยให้ใช้งานได้ยาวนาน
ปีกนกรถยนต์อยู่ใต้ท้องรถกว่าที่จะรู้ว่ามีปัญหาก็อาจทำให้ความเสียหายลุกลามไปยังจุดอื่น ๆ ของช่วงล่าง ควรตรวจเช็กตามระยะและเปลี่ยนอะไหล่ตามวงรอบ
รู้สัญญาณเตือนก่อนถ่านรีโมทรถยนต์จะหมด พร้อมแนะนำเลือกถ่านรีโมทแบบไหนให้เหมาะกับรุ่นรถและควรทำอย่างไรหากถ่านรีโมทหมดกะทันหัน