vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
provident fund

ชวนทำความรู้จักกับ Provident Fund คืออะไร

schedule
share
ที่มารูปภาพ: https://www.freepik.com/free-photo/hand-putting-coin-inside-jar_3981003.htm

           กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund (PVD) คือ กองทุนที่มีความสำคัญและมีประโยชน์มากสำหรับมนุษย์เงินเดือน รวมถึงพนักงานบริษัทเอกชนที่อาจไม่มีสวัสดิการกองทุนบำเหน็จบำนาญยามเกษียณเหมือนข้าราชการ แต่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือ อะไร เงินที่หักแล้วไปอยู่ไหน และหากคุณลาออกก่อนเกษียณจะได้เงินหรือไม่ insurverse รวมคำตอบของทุกข้อสงสัยมาให้แล้ว

Provident Fund (PVD) คือ อะไร

           กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund (PVD) คือ กองทุนที่นายจ้างหรือบริษัทจัดตั้งขึ้นร่วมกับลูกจ้างหรือพนักงานโดยสมัครใจ จุดประสงค์ของกองทุนคือเพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมสำหรับใช้ยามเกษียณหรือลาออกจากงาน เพื่อเป็นหลักประกันยามฉุกเฉินให้แก่ลูกจ้างและครอบครัว

           โดยเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทจะถูกบริหารจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เพื่อนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ให้งอกเงย จากนั้นจึงเฉลี่ยดอกเบี้ยให้กับสมาชิกกองทุนตามจำนวนเงินของแต่ละคน ดังนั้นนอกจากเงินสมทบจากทางบริษัทที่คุณจะได้รับเมื่อสิ้นสุดสภาพสมาชิกกองทุนแล้ว คุณยังได้รับผลประโยชน์จากดอกเบี้ยของกองทุนด้วย

Provident Fund คิดยังไง

           การคิดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  • เงินสะสมหรือเงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนโดยสมัครใจ สามารถเลือกหักเงินสะสมได้ตั้งแต่ 2 – 15% ของเงินเดือน เช่น หากคุณได้รับเงินเดือน 15,000 บาท และต้องการหักเงินเข้ากองทุนทุกเดือน เดือนละ 15% ยอดเงินที่จะถูกหักในทุกเดือนคือ 2,250 บาท
  • เงินสมทบหรือเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนให้กับลูกจ้าง โดยนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบได้ตั้งแต่ 2 – 15% แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราเงินสะสมของลูกจ้าง

Provident Fund ลาออกได้เงินเท่าไร

           หากทำงานไปหลายปีแล้วเกิดอยากลาออกจะได้เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืนหรือไม่ คำตอบก็คือได้คืนแน่นอน เพราะการลาออกถือเป็นการสิ้นสุดสมาชิกรูปแบบหนึ่ง โดยเงินกองทุนที่จะได้รับประกอบด้วยเงินส่วนที่คุณถูกหักทุกเดือน ดอกเบี้ยซึ่งเป็นผลประโยชน์จากกองทุนและเงินสมทบจากนายจ้าง ซึ่งส่วนนี้อาจขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท บางบริษัทอาจกำหนดระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างว่าทำงานกี่ปีจะได้รับเงินสมทบจากบริษัทและดอกเบี้ยซึ่งเป็นผลประโยชน์ของกองทุนเท่าไรด้วยก็ได้

ตัวอย่าง

  • นาย ก ทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งมา 3 ปี หากลาออกจะได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนที่ตัวเองถูกหัก 100% แต่จะได้รับเงินสมทบจากนายจ้างหรือบริษัท รวมถึงผลประโยชน์จากกองทุน 50%
  • นาย ข ทำงานในบริษัทเดียวกับนาย ก แต่อายุงานของนาย ข ยาวนานถึง 8 ปี หากลาออกจะได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนที่ตัวเองถูกหัก 100% และจะได้รับเงินสมทบจากนายจ้างหรือบริษัท รวมถึงผลประโยชน์จากกองทุน 100% เพราะบริษัทมีเงื่อนไขว่าหากทำงาน 5 ปีขึ้นไปจะได้รับเงินสมทบจากบริษัท 100% นั่นเอง

รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Provident Fund

  • หากลาออกแล้วไม่ต้องการปิดกองทุนสามารถฝากเงินไว้กับกองทุนเดิมได้ โดยแจ้งระยะเวลาที่ต้องการฝากให้บริษัทจัดการหลักทรัพย์รู้ ระหว่างนี้คุณยังได้รับดอกเบี้ยตามปกติ แต่ไม่สามารถหักเงินสมทบเพิ่มเติมได้ มีค่าธรรมเนียม 500 บาทต่อปี
  • หากลาออกแล้วเปลี่ยนที่ทำงานสามารถโอนย้ายเงินสมทบเดิมไปยังกองทุนของบริษัทใหม่หรือจะโอนย้ายไปกองทุนรวม RMF ก็ได้ โดยการโอนย้ายกองทุนจะไม่มีค่าธรรมเนียมและยังนับอายุสมาชิกต่อจากกองทุนเดิมด้วย
  • นอกจากการลาออกแล้ว หากเกษียณเมื่ออายุครบ 55 ปี และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาอย่างน้อย 5 ปี สามารถปิดบัญชีกองทุนเพื่อรับเงิน รวมถึงรับผลประโยชน์ทางภาษีหรือก็คือไม่ต้องเสียภาษีจากเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่คุณได้รับ
  • หากต้องการปิดบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อนครบอายุเกษียณหรือก่อนครบระยะเวลา 5 ปี ต้องศึกษารายละเอียดให้ดีว่าต้องจ่ายภาษีในส่วนใดบ้าง แนะนำให้เป็นสมาชิกกองทุนครบระยะเวลาเพื่อรับผลประโยชน์ทางภาษีอย่างเต็มที่จะดีที่สุด

           กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ Provident Fund (PVD) คือ หลักประกันสำหรับมนุษย์เงินเดือนและพนักงานบริษัทเอกชนที่อาจไม่มีสวัสดิการด้านเงินบำนาญเหมือนกับข้าราชการ แต่หากวางแผนหักเงินสมทบเข้ากองทุนให้ดี บริหารการโอนย้ายกองทุนอย่างเหมาะสมเมื่อเปลี่ยนงาน จะช่วยให้คุณมีทุนสำรองสำหรับใช้ชีวิตยามเกษียณอย่างสบายใจ หรือหากต้องลาออกจากงานก็ยังช่วยให้มีเงินก้อนเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินช่วงหางานใหม่ได้ด้วย ที่สำคัญเมื่อมีเงินก้อนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว อย่าลืมปกป้องความเสี่ยงด้วยการมองหาประกันภัยส่วนบุคคลคุณภาพดี ครบถ้วน และคุ้มค่า จาก insurverse เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้ครบรอบด้าน เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันก็ไม่กระทบกับเงินสำรองยามเกษียณของคุณ สบายใจกว่าแน่นอน หรือหากใครต้องการเครื่องมือมาช่วยป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับรถ insurverse ก็มีประกันภัยรถยนต์ให้เลือกหลายประเภท เพื่อให้ความคุ้มครองครอบคลุมความเสี่ยงตามที่คุณต้องการ ที่สำคัญคุณสามารถ เช็กเบี้ยประกันรถยนต์ และเปรียบเทียบความคุ้มครองก่อนตัดสินใจซื้อได้

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)