vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
คอลเซ็นเตอร์ประกันสังคม

สายด่วนคอลเซ็นเตอร์ประกันสังคมเบอร์ไหน พร้อมตอบคำถามยอดนิยม

schedule
share
ที่มารูปภาพ : https://pixabay.com/th/photos/ชาย-การเขยน-แลปทอป-คอมพวเตอร-2562325/

มั่นใจว่าคนส่วนใหญ่รู้จักสำนักงานประกันสังคมกันดีอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ให้การดูแลแรงงานในด้านต่าง ๆ ทั้งการเจ็บป่วย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และว่างงาน ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ต้องติดต่อสื่อสารกับผู้ประกันตนและประชาชนทั่วไปอยู่ตลอดเวลา แต่คอลเซ็นเตอร์ประกันสังคมติดต่อได้ที่เบอร์ไหน insurverse มีคำตอบมาฝาก

สายด่วนคอลเซ็นเตอร์ประกันสังคมเบอร์อะไร

สำหรับคนที่ต้องการติดต่อกับหน่วยงานประกันสังคมแบบเร่งด่วน ปัจจุบันสามารถติดต่อผ่านคอลเซ็นเตอร์ประกันสังคม หมายเลข 1506 ให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับส่วนต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานประกันสังคม กรมการจัดหางาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งเปิดให้ผู้ประกันตนของประกันสังคม รวมถึงประชาชนทั่วไปสามารถโทรติดต่อหรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประกันสังคมได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ช่องทางติดต่อประกันสังคมอื่น ๆ

นอกจากการโทรศัพท์สอบถามข้อมูลจากคอลเซ็นเตอร์ประกันสังคม หมายเลข 1506 แล้ว ยังสามารถติดต่อและติดตามข้อมูลข่าวสารของสำนักงานประกันสังคมด้วยวิธีอื่น ๆ ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • Facebook เพจสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน Social Security Office https://www.facebook.com/ssofanpage
  • Instagram แอคเคาน์ sso_1506 https://www.instagram.com/sso_1506/
  • X (Twitter) แอคเคาน์ สำนักงานประกันสังคม @sso1506 https://x.com/sso1506
  • Line ชื่อสำนักงานประกันสังคม https://page.line.me/?accountId=ssothai
  • Live Chat ชื่อสำนักงานประกันสังคม http://www.sso1506.com/ssolivechat/
  • E – mail ที่อยู่ [email protected]
  • สำนักงานประกันสังคม สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ เลขที่ 88/28 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2956-2345 เปิดทำการวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.

รวมคำถามที่ประกันสังคมพบบ่อย

ถึงแม้สำนักงานประกันสังคมมีบริการคอลเซ็นเตอร์ประกันสังคม แต่สำหรับใครที่อยากหาคำตอบด้วยตัวเองหรือไม่อยากเสียเวลาโทรศัพท์ติดต่อคอลเซ็นเตอร์ประกันสังคม insurverse ได้รวบรวมคำถามที่พบได้บ่อยเพื่อหาคำตอบให้กับผู้ประกันตนที่มีความสงสัย ดังนี้

  • คำถาม : ผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้ลาออกจากงานแล้ว แต่ยังต้องการใช้สิทธิประโยชน์ของประกันสังคมอยู่ต้องดำเนินการอย่างไร
  • คำตอบ : ต้องดำเนินการสมัครประกันสังคมมาตรา 39 ภายใน 6 เดือน เพื่อใช้รักษาสิทธิ 6 กรณี ตามเงื่อนไขของประกันสังคม
  • คำถาม : ผู้ประกันตนที่ลาออกจากงานแล้ว และต้องการสมัครประกันสังคมมาตรา 39 สามารถสมัครได้ที่ไหน
  • คำตอบ : สามารถสมัครได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง ยกเว้นสำนักประกันสังคม สำนักใหญ่ กระทรวงสาธารณสุข
  • คำถาม : หากสถานประกอบการมีลูกจ้างอายุน้อยกว่า 15 ปี หรืออายุเกิน 60 ปี ต้องดำเนินการอย่างไร
  • คำตอบ : สถานประกอบการต้องดำเนินการและยื่นแบบแสดงรายชื่อของลูกจ้างที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี และเกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์ พร้อมเอกสารระบุตัวตน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน แต่ในกรณีชาวต่างชาติให้ใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และสำเนาใบอนุญาตทำงาน
  • คำถาม : ขึ้นทะเบียนว่างงานกับสำนักงานประกันสังคมล่าช้าเกินกว่า 30 วัน ต้องดำเนินการอย่างไร
  • คำตอบ : การยื่นเรื่องรับสิทธิว่างงานสามารถดำเนินการได้ในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่พ้นสถานะพนักงาน แต่ทั้งนี้ต้องยังไม่ได้เข้าทำงานกับนายจ้างใหม่
  • คำถาม : สามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลแห่งใหม่ได้ช่วงไหนบ้าง
  • คำตอบ : สำนักงานประกันสังคมเปิดให้ผู้ประกันตนเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี แต่ถึงอย่างนั้นสามารถเปลี่ยนสิทธิระหว่างปีได้เฉพาะกรณีย้ายที่อยู่หรือย้ายที่ทำงานข้ามจังหวัดเท่านั้น
  • คำถาม : กรณีผู้ประกันตนฝ่ายหญิงหรือภรรยาของผู้ประกันตนไปคลอดบุตรในต่างประเทศและมีสูติบัตรเป็นภาษาอังกฤษ ต้องดำเนินการเพื่อขอรับสิทธิประกันสังคมอย่างไร
  • คำตอบ : ต้องดำเนินการแปลสูติบัตรของบุตรให้เป็นภาษาไทยก่อน จึงสามารถนำมายื่นเบิกเงินตามสิทธิของประกันสังคมได้
  • คำถาม : ผู้ประกันตนสามารถนำเงินสมทบไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
  • คำตอบ : สามารถนำเงินสมทบไปลดหย่อนภาษีได้ กรณีผู้ประกันตนมาตรา 33 แจ้งขอลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท กรณีผู้ประกันตนมาตรา 39 แจ้งขอลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 5,184 บาท และกรณีผู้ประกันตนมาตรา 40 แจ้งขอลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 3,600 บาท
  • คำถาม : ผู้ประกันตนมาตรา 39 ลืมจ่ายเงินสมทบต้องดำเนินการอย่างไร
  • คำตอบ : สามารถติดต่อขอจ่ายเงินย้อนหลังได้ที่สำนักงานประกันสังคม แต่หากลืมจ่ายเงินสมทบติดต่อกัน 2 เดือน ต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน

เป็นอย่างไรบ้างสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับคอลเซ็นเตอร์ประกันสังคม ช่องทางติดต่ออื่น และคำถามคำตอบยอดฮิตที่นำมาฝาก ซึ่งจะเห็นว่าการติดต่อสำนักงานประกันสังคมนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะมีทั้งช่องทางคอลเซ็นเตอร์ สื่อโซเชียล หรือจะเดินทางไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมก็ได้

สำหรับผู้ต้องการความคุ้มครองมากกว่าที่ได้รับจากประกันสังคม สามารถทำประกันภัยเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองทุกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับคุณ ไม่ว่าจะเป็นการทำประกันอุบัติเหตุ ประกันเดินทาง หรือแม้แต่การทำ ประกันรถยนต์ แต่หากยังไม่รู้ว่าจะไปซื้อประกันที่ไหนดี แนะนำ insurverse บริษัทประกันออนไลน์ที่มีประกันภัยหลายรูปแบบให้เลือก อีกทั้งยังสามารถเช็กค่าเบี้ยประกันและเปรียบเทียบความคุ้มครองก่อนตัดสินใจซื้อได้ เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ insurverse

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย