vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเบิกประกันอุบัติเหตุค่าอะไรจากฝ่ายผิดได้บ้าง

บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเบิกประกันอุบัติเหตุค่าอะไรจากฝ่ายผิดได้บ้าง รู้แล้วตาสว่าง

schedule
share

เมื่อเอ่ยถึงอุบัติเหตุ ต่างเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดและเกิดขึ้นได้เสมอ ยิ่งผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นประจำย่อมพบเจออุบัติเหตุบนท้องถนนอยู่บ้างแล้ว ฉะนั้นประกันอุบัติเหตุจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับการใช้ชีวิตให้มีความปลอดภัย ยิ่งประเทศไทยที่มีสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงสุด ครองตำแหน่งอันดับ 1 จนต้องกลับมาฉุกคิดกันว่า ที่เห็นข่าวเรื่องชนแล้วหนีหรือชนคนเดินข้ามถนน อะไรทำนองนี้ หากเกิดกรณีแบบนี้? สามารถเคลมเงินประกันอุบัติเหตุได้ไหม? และเรื่องสำคัญที่หลายคนไม่รู้ว่าโดนรถชนเรียกค่าทําขวัญเท่าไหร่ ? โดยเฉพาะการเป็นฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องอะไรจากฝ่ายผิดได้บ้าง ตามไปหาคำตอบกันเลย

ค่าทำขวัญ

ค่าคำขวัญ คืออะไร

      ค่าทําขวัญ คือ เงินเยียวยาทางร่างกายและจิตใจที่ฝ่ายผิดหรือคนขับรถที่เป็นฝ่ายชน ควรรับผิดชอบจ่ายให้ผู้ที่ถูกชนหรือผู้บาดเจ็บ ให้ได้รับเงินไปใช้ในการฟื้นฟูสภาพร่างกาย, จิตใจและค่าเสียรายได้ เพราะต้องพักรักษาตัว แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีกฎหมายบังคับเอาไว้ชัดเจนว่าโดนรถชนเรียกค่าทําขวัญเท่าไหร่? ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับทั้งสองฝ่ายตกลงกันค่ะ

โดนรถชน เรียงร้องอะไรได้บ้าง

หากใครซื้อประกันอุบัติเหตุเอาไว้แล้ว แต่เกิดอุบัติเหตุแล้วเป็นฝ่ายถูกหรือที่หลายคนเรียกกันว่า ฝ่ายผู้เสียหาย หลายคนอาจจะมีความสงสัยในเรื่องความรับผิดชอบของประกัน ว่ากรณีแบบนี้สามารถเรียกร้องความเสียหายจากฝ่ายผิดอย่างไรได้บ้าง ไปดูกันเลย

1. โดนชนเรียกร้องค่าเสียหายต่อยานพาหนะ

แน่นอนว่ากรณีรถโดนชนแล้วเป็นฝ่ายถูก ก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าสามารถที่จะเคลมเงินประกันอุบัติเหตุเรียกร้องค่าเสียหายต่อรถยนต์กับประกันของอีกฝ่ายได้เลย โดยทางฝั่งบริษัทประกันอุบัติเหตุของคู่กรณีจะเป็นผู้จ่ายเงินชดเชยให้ ซึ่งเราจะต้องไปจัดการในเรื่องของเอกสารให้กับทางประกันภัยของคู่กรณี เมื่อฝั่งนั้นออกใบเคลมมาให้แล้ว เพื่อเป็นการยืนยันว่าได้มีการเกิดอุบัติเหตุขึ้นจริง ฝั่งที่เป็นฝ่ายถูกก็สามารถกำหนดได้เลยว่าต้องการซ่อมอู่ที่เลือกเองหรือซ่อมอู่ที่ทางคู่กรณีกำหนดให้

2. โดนชนเรียกร้องค่าเคลื่อนย้ายรถจากจุดเกิดอุบัติเหตุ

หากเกิดอุบัติเหตุแบบไม่คาดฝัน มีคนมาขับรถชนรถของเราจนไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนไปต่อได้ ซึ่งแน่นอนว่าส่วนนี้สามารถเรียกร้องค่าเคลื่อนย้ายรถจากจุดเกิดอุบัติเหตุได้ โดยให้ทางฝั่งบริษัทประกันอุบัติเหตุของคู่กรณี ออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายรถให้ ซึ่งทางฝ่ายถูกไม่ต้องจ่ายเงินเลยแม้แต่นิดเดียว หากคู่กรณีข่มขู่แล้วบอกให้ออกไปก่อนอย่าเผลอทำเด็ดขาด ต้องจำไว้ให้แม่นว่าคู่กรณีต้องจ่ายให้เท่านั้น

3. โดนชนเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากคู่กรณี

เมื่อเดินอยู่บนถนนดีๆ มีรถขับมาชนจนเราได้รับการบาดเจ็บทางด้านร่างกาย แล้วเราเป็นฝ่ายถูกเรียกค่าสินไหมจากคู่กรณีได้ไหม? คำตอบคือเรียกได้เลย ทางบริษัทประกันอุบัติเหตุฝั่งคู่กรณีจะต้องมีการเยียวยาค่ารักษาพยาบาลให้กับเราจนกว่าจะหายเป็นปกติ รวมถึงคู่กรณีจะต้องจ่ายเงินชดเชยกรณีที่เราขาดรายได้เพราะต้องนอนพักรักษาตัวจากอุบัติเหตุอีกด้วย ซึ่งสามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลได้ตามความสมควร แต่การชดเชยก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทางบริษัทประกันอุบัติเหตุอีกที

4. โดนชนเรียกร้องค่าทำขวัญ

     เมื่อเอ่ยถึงค่าทำขวัญหลายคนอาจจะสงสัยว่าค่าทำขวัญคืออะไร? ซึ่งค่าทำขวัญในที่นี้ ก็มีความคล้ายคลึงกับค่ารักษาตัวทางกาย แต่ค่าทำขวัญจะเป็นค่ารักษาทางใจนั่นเอง สามารถเรียกร้องจากทางฝั่งบริษัทประกันอุบัติเหตุคู่กรณีได้ เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์จากการเกิดอุบัติเหตุแบบไม่คาดคิด แน่นอนว่าทางบริษัทประกันจะจ่ายให้ตามวงเงินชดเชยที่อยู่ในเงื่อนไขของบริษัทอีกที

พ.ร.บ. จ่ายค่าทำขวัญไหม

     นอกจากฝ่ายถูกจะเรียกร้องค่าทำขวัญตามตกลงกับฝ่ายผิดได้แล้ว ถ้ารถของคู่กรณีได้ทำพ.ร.บ.เอาไว้ ฝ่ายถูกจะได้รับความคุ้มครองจากพ.ร.บ. ที่ฝ่ายผิดทำติดรถเอาไว้ด้วยค่ะ แต่ไม่ใช่การจ่ายค่าทำขวัญนะคะ เป็นการเบิกความคุ้มครองจากพ.ร.บ. ซึ่งฝ่ายถูกสามารถเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้ได้ค่ะ ค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน, ค่าชดเชยกรณีเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อคนจ่ายตามจริงไม่เกิน 20 วันและหากทุพพลภาพหรือเสียชีวิตจะเบิกค่าชดเชยได้ 200,000-500,000 บาทค่ะ

      แต่ถ้าฝ่ายผิดไม่ได้ทำพ.ร.บ.ติดรถเอาไว้ ฝ่ายผิดจะต้องเสียค่าปรับกรณีไม่มีพ.ร.บ.สูงสุดถึง 10,000 บาท ส่วนฝ่ายถูกให้ติดต่อรับความคุ้มครองต่างๆ จากพ.ร.บ.รถตัวเองมาใช้จ่ายค่ารักษาและเบิกค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้เลยค่ะ

ประกันชั้น 1 จ่ายค่าทําขวัญไหม

      แม้ว่าประกันรถยนต์ชั้น 1 จะไม่ได้ให้ความคุ้มครองครอบคลุมไปถึงค่าทำขวัญ แต่จะมอบความคุ้มครองที่ครอบคลุมเรื่องรถ ดังนี้ค่ะ

  • ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยไม่น้อยกว่า 500,000 บาทต่อคน
  • ชดใช้ค่าความเสียหายต่อทรัพย์สินของคู่กรณี
  • ชดเชยค่าเสียหายอันเกิดจากการประโยชน์จากการใช้รถยนต์ไม่น้อยกว่า 500 บาทต่อวัน

สรุป

      ยามเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน หากเป็นฝ่ายถูกต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ์ อย่าปล่อยให้ถูกกระทำแบบไม่รู้ตัว ยิ่งมีประกันอุบัติเหตุยิ่งต้องศึกษาสิทธิ์ที่ควรจะได้รับเอาไว้ให้ดี เพื่อรักษาสิทธิ์ที่เราพึงได้ พร้อมกับเลือกแผนความคุ้มครองที่ตรงกับไลฟ์สไตล์เอาไว้เป็นเกราะป้องกันให้กับชีวิต เพราะนี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิต ไม่ใช่เรื่องสนุกเลยแม้แต่นิดเดียวที่จะถูกปล่อยทิ้งขว้างไว้กลางทาง แล้วต้องมาจัดการจ่ายเงินรักษาตัวเอง หากสนใจใช้ชีวิตแบบมีเกราะป้องกันสามารถคลิกเข้ามาซื้อประกันอุบัติเหตุกับทาง insurverse ได้เลยที่นี่ เพื่อเป็นตัวช่วยเพิ่มความปลอดภัยและเซฟค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ จะได้ไม่เจ็บตัวฟรีและจ่ายเงินก้อนโตเพื่อรักษาพยาบาลตัวเอง

คำถามที่พบบ่อย

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)