vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
อุบัติเหตุจากรถ พ.ร.บ.คุ้มครองอย่างไร

อุบัติเหตุจากรถ พ.ร.บ.คุ้มครองอย่างไร

schedule
share
อุบัติเหตุจากรถ พ.ร.บ.คุ้มครองอย่างไร
ที่มารูปภาพ : https://www.freepik.com/premium-photo/two-drivers-checking-cars-after-traffic-accident_10195847.htm

เชื่อว่าคนใช้รถยนต์อยู่เป็นประจำย่อมเล็งเห็นถึงความสำคัญของการต่อ พ.ร.บ. หรือประกันภัยภาคบังคับกันทุก ๆ ปี อย่างน้อยเวลาที่ รถ เกิด อุบัติเหตุ พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่ประสบภัย

เป็นที่รู้กันดีว่า พ.ร.บ. รถยนต์คือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่ให้สิทธิความคุ้มครองในกรณีที่มีอุบัติเหตุจากรถ พ.ร.บ.จะคุ้มครองและช่วยเหลือตัวคนขับ รวมไปถึงผู้โดยสารและคนใช้ทางเท้าด้วย ส่วนจะคุ้มครองอะไรบ้างนั้น เรามาติดตามหาคำตอบกัน

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ. คุ้มครองอย่างไร

คำว่า พ.ร.บ.รถยนต์ คือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งกฎหมายบังคับให้รถทุกคันและรถทุกประเภทต้องทำทุกปี แน่นอนว่าอุบัติเหตุนั้นเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น พอเกิดเหตุขึ้นแล้วประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับจะช่วยเหลือและให้ความคุ้มครองทั้งกรณีที่คุณเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด เป็นความช่วยเหลือเฉพาะตัวบุคคล ไม่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ที่เสียหายแต่อย่างใด

พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด
  2. จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท/คน หากภายหลังเกิดพิการหรือทุพพลภาพ รับสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาท/คน
  3. จ่ายค่าเสียหายจากการสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวรทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่เกิน 35,000 บาท/คน
  4. กรณีเกิดอุบัติเหตุรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตทันที จ่ายค่าปลงศพ 35,000 บาท/คน หรือเสียชีวิตภายหลัง จะเหมาจ่ายรวมกับค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 65,000 บาท/คน
  5. คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง
  6. กรณีบาดเจ็บจะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทดแทนรวมกันไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  7. ค่าเสียหายจากการสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร รวมกับค่ารักษาพยาบาล ระหว่าง 200,000 – 500,000 บาท/คน
  8. ค่าเสียหายจากการสูญเสียอวัยวะสำคัญ ทำให้หูหนวก เป็นใบ้ จ่ายชดเชยรวมกับค่ารักษาพยาบาล สูงสุด 250,000 บาท
  9. กรณีทุพพลภาพถาวร จ่ายชดเชยรวมกับค่ารักษาพยาบาล สูงสุด 300,000 บาท
  10. กรณีเกิดอุบัติเหตุรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต จ่ายชดเชยรวมกับค่ารักษาพยาบาล สูงสุด 500,000 บาท/คน
  11. กรณีเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน จ่ายชดเชยรายวัน 200 บาท สูงสุด 20 วัน

อุบัติเหตุแบบไหนที่ พ.ร.บ. ไม่คุ้มครอง

จุดประสงค์ของการจ่าย พ.ร.บ. รถยนต์เพื่อช่วยคุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลอื่น ๆ ที่ได้รับความเสียหายจาก รถ เกิด อุบัติเหตุ ยกเว้นกรณีที่ขับรถแล้วเกิดอุบัติเหตุนอกประเทศไทย ถือว่า พ.ร.บ. ไม่คุ้มครอง รวมถึงการใช้รถยนต์ทำผิดกฎหมาย เช่น ขนยาเสพติด ใช้เป็นยานพาหนะในการดักจี้ปล้น กรรโชกทรัพย์ ขนแรงงานผิดกฎหมาย หรือนำรถยนต์ไปแข่งขับซิ่ง จะไม่อยู่ในข่ายที่ พ.ร.บ. คุ้มครองด้วย

ไม่ทำประกัน พ.ร.บ. รถยนต์ได้ไหม

พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นประกันภัยภาคบังคับที่เจ้าของรถทุกคนต้องทำไว้ ไม่ทำไม่ได้ จะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งมีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท เมื่อต่อ พ.ร.บ. แล้วจึงนำไปใช้เป็นหลักฐานเสียภาษีรถยนต์ ถ้าไม่ต่อภาษีอีกจะถูกจับเสียค่าปรับ 400 – 1,000 บาท ตามด้วยดอกเบี้ยที่ขยับเพิ่มขึ้นเดือนละ 1% และถ้าขาดการต่อภาษีต่อเนื่องเกิน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับและโดนโทษปรับอีก 1,000  บาทด้วย

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาผู้ให้บริการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ เราขอแนะนำ Insurverse บริษัทประกันออนไลน์ที่มากด้วยประสบการณ์และมีความมั่นคงสูงเนื่องจากบริษัทอยู่ในเครือเดียวกันกับทิพยประกันภัย คุณจึงใช้บริการได้อย่างมั่นใจ หากสนใจสามารถเข้าไปเช็กราคาเบี้ยได้ที่นี่!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)