พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับที่มีความจำเป็นต่อผู้ขับขี่ทุกคน แต่การต่อ พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองเพียง 1 ปีเท่านั้น ต้องต่อ พ.ร.บ. เป็นประจำทุกปี เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองต่อเนื่อง ทั้งยังนำเอกสารไปใช้ในขั้นตอนการชำระภาษีรถยนต์ต่อไปด้วย หลายคนกำลังเตรียมซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์ แต่ยังสงสัยว่าการซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์ด้วยตัวเอง กับแบบผ่าน ตรอ. นั้นต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน
ก่อนอื่นเรามาพิจารณาการ ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ว่ามีวิธีการอย่างไร เริ่มแรกคิดการเปิดคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนที่เชื่อมต่อออนไลน์ได้ง่าย ไม่ต้องเดินทางไปถึงกรมการขนส่งทางบก ขั้นตอนการต่อ พ.ร.บ. ผ่านแอปพลิเคชันทำได้ง่าย เริ่มจากเข้าไปทางเว็บไซต์ของบริษัทประกันหรือเปิดแอปแล้วเลือกเมนู “ซื้อ พ.ร.บ.” ก็ได้ เมื่อเข้าไปแล้วจะพบกับแบบฟอร์มกรอกข้อมูล เลือกประเภทรถและกรอกข้อมูลผู้ขับขี่ให้ครบถ้วน จากนั้นเลือกวิธีการชำระเงิน ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที ก็เสร็จเรียบร้อย หลังจากทำทุกอย่างครบถ้วนแล้ว เจ้าของรถจะได้รับกรมธรรม์ทางอีเมลและรอรับเอกสารทางไปรษณีย์ที่หน้าบ้านได้เลย จากนั้นก็เป็นขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ซึ่งทำผ่านเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกได้ที่ https://eservice.dlt.go.th/ ซึ่งนับว่าสะดวกดีและลดขั้นตอนยุ่งยากไปได้มากทีเดียว
สถานตรวจสภาพรถเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการตรวจสภาพรถ เหมาะสำหรับรถยนต์ที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป ตรอ. ตรวจสภาพรถล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือนก่อนวันหมดอายุภาษีประจำปี โดยจะต้องใช้เอกสารเล่มทะเบียนรถหรือสำเนาทะเบียนรถก็ได้
พ.ร.บ.รถยนต์ราคา แตกต่างกันตามประเภทของรถ การต่อ พ.ร.บ. เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องดำเนินการทุกปี จะเลือกซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์หรือซื้อที่ ตรอ. ก็ได้แล้วแต่ความสะดวก หลายคนอาจจะคิดว่าทำ พ.ร.บ.รถยนต์ราคา แพงเพราะต้องจ่ายกันทุกปี แต่ความจริงแล้วความคุ้มครองนั้นคุ้มค่า ทั้งยังครอบคลุมทั้งผู้เอาประกันและคู่กรณี มีทั้งเงินชดเชยและเงินค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนดด้วย ถัดจาก พ.ร.บ. แล้วต่อไปก็เป็นขั้นตอนการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ซึ่งสามารถทำผ่านช่องทางออนไลน์ได้สะดวกมาก ๆ
เมื่อถึงเวลาต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เพื่อนำไปยื่นต่อภาษีรถประจำปี หากต้องการต่อแบบออนไลน์ สามารถเช็กเบี้ยเลยที่นี่
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
พ.ร.บ. ประกันภัยภาคบังคับที่เจ้าของรถทุกคันต้องมี เพื่อคุ้มครองผู้เสียหายจากอุบัติเหตุไม่คาดฝัน ทั้งคนขับ ผู้โดยสาร และคู่กรณี รวมค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยอื่น ๆ
การต่อภาษีรถยนต์เป็นหน้าที่ของคนมีรถยนต์ทุกคน โดยเราต้องต่อภาษีประจำปีและเตรียมเอกสารให้พร้อม ซึ่งรถแต่ละประเภท ก็จะเสียภาษีในราคาที่ต่างกันไปตามข้อกำหนด
สมรรถนะรถยนต์ไฟฟ้าเทียบเท่าได้กับรถยนต์ทั่วไป เหนือระดับด้วยความเป็น รถไฟฟ้า ev ประหยัดพลังงาน