vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
เช็กพิกัด ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ไหนได้บ้าง

เช็กพิกัด ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ไหนได้บ้าง

schedule
share

อย่างที่ทราบกันว่า พ.ร.บ.รถยนต์ มีอายุการใช้งาน 1 ปี และจำเป็นต้องต่อทุกปี เพราะนอกจากจะมีโทษทางกฎหมายแล้ว เราจะไม่ได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน แล้วมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บไม่ว่าจะเล็กน้อย หรือรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตก็ตาม ดังนั้น ไม่ว่าอย่างไรก็ห้ามอย่าลืมต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ โดยเด็ดขาด 

ความสำคัญของการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์

ความสำคัญของการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์

การทำ พ.ร.บ.รถยนต์ นอกจากจะให้ความคุ้มครองทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องบนท้องถนนแล้ว พ.ร.บ.รถยนต์ ก็ยังเปรียบเหมือนเป็นหลักประกันกับทางโรงพยาบาลที่รับการรักษาผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ว่าจะได้รับค่าใช้จ่ายอย่างแน่นอน

หากไม่มีการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีความผิดทางกฎหมาย โดยจะมีค่าปรับสูงสุด 10,000 บาท ในกรณีที่เป็นเจ้าของรถ หรือผู้ที่นำรถไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. ออกมาใช้ และมีค่าปรับสูงสุด 20,000 หากเป็นทั้งเจ้าของรถ และนำรถไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. ออกมาใช้ นอกจากนี้ยังทำให้ไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ หรือป้ายภาษีประจำปีได้ และหากเกิดอุบัติเหตุก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองในทุกกรณี

หากขาดการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ จะเป็นอย่างไร

ขาดไม่เกิน 1 ปี

รถที่ขาดการต่อ พ.ร.บ. ไม่เกิน 1 ปี สามารถต่อภาษีโดยไม่เสียค่าปรับเพิ่มเติมในส่วนของ พ.ร.บ. แต่อาจโดนปรับในส่วนของภาษีรถยนต์

ขาดเกิน 2 ปี

รถที่ขาดการต่อ พ.ร.บ. เกิน 2 ปี ต้องตรวจสภาพรถก่อน และต้องไปดำเนินเรื่องที่ขนส่ง โดยทำการต่อทะเบียนรถ และเสียค่าปรับ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของค่าจดทะเบียน ค่าต่อภาษี รวมไปถึงค่าเช็กสภาพด้วย

ขาดเกิน 3 ปี

รถที่ขาดการต่อ พ.ร.บ. เกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียน และหากต้องการใช้รถอีกครั้ง จะต้องทำการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ พร้อมเสียค่าปรับ และจะมีการเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลัง

ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ไหนได้บ้าง

สำหรับใครที่กำลังกังวลว่าจะต่อ พ.ร.บ. ไม่ทัน และไม่รู้ว่าจะต่อ พ.ร.บ. ที่ไหนดี? ต้องบอกก่อนว่าในปัจจุบันมีช่องทางในการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ให้เลือกอย่างหลากหลายตามความสะดวกของแต่ละคน สำหรับเอกสารที่ต้องใช้ในการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และสมุดทะเบียนรถ หรือสำเนาทะเบียนรถ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ได้แล้ว

ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ แบบออฟไลน์

  • สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
  • ที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขา
  • ห้างสรรพสินค้า
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 

ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ แบบออนไลน์

  • เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก e-Service
  • เว็บไซต์ประกันภัย
ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ไหนได้บ้าง

สรุป

การต่อ พ.ร.บ. ทางออนไลน์ เป็นทางเลือกที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันอย่างมาก แค่มีสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งจะใช้เวลากรอกข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วนโดยใช้เวลาไม่นาน และรอรับ พ.ร.บ.รถยนต์ได้เลย

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)