vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
พ.ร.บ. รถเก๋งราคาแตกต่างกับรถตู้หรือไม่?

พ.ร.บ. รถเก๋งราคาแตกต่างกับรถตู้หรือไม่?

schedule
share

หลายคนอาจสงสัย ว่าในเมื่อ พ.ร.บ. รถยนต์ของรถแต่ละประเภทราคาไม่เท่ากันแล้ว นอกจากนี้จะมีความแตกต่างกันในด้านอื่น ๆ อีก หรือไม่ และทำไมถึงมีความแตกต่างทางด้านราคา เรามีคำตอบมาให้กับคุณแล้ว พร้อมบอกถึงช่องทางการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ถูกและง่ายให้กับคุณอีกด้วย

ความคุ้มครอง พ.ร.บ.รถยนต์ในรถแต่ละประเภทแตกต่างกันหรือไม่

ความคุ้มครอง พ.ร.บ.รถยนต์ในรถแต่ละประเภทแตกต่างกันหรือไม่

พ.ร.บ. รถยนต์ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องความคุ้มครอง แปลว่า รถยนต์ทุกคันทุกประเภทมีความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุเหมือนกันทุกอย่าง โดยคุ้มครองคุณดังนี้

1 คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นหลังเกิดอุบัติเหตุ โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกหรือผิด

  • กรณีบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน 
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย ถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร บริษัทประกันจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท/คน 
  • กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท/คน 

2. คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน หลังพิสูจน์ความผิดแล้ว

  • กรณีได้รับบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง (มีหลักฐานการชำระเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น) แต่ไม่เกิน 80,000 บาท/คน 
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร  ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าทดแทน เป็นจำนวนเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 200,000 – 500,000 บาท/คน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดที่สูญเสียอวัยวะและเงื่อนไขอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนด 
  • กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/คน

ในกรณีนี้มีเพียงผู้ที่เป็นฝ่ายถูกเท่านั้นที่จะได้รับค่าชดเชยที่กล่าวมา หากเป็นฝ่ายผิดจะได้รับการคุ้มครองเพียงแค่ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นเท่านั้น 

ความแตกต่างของ พ.ร.บ. รถเก๋งและรถตู้มีเพียงแค่ค่าต่อ พ.ร.บ. เท่านั้น

สาเหตุที่ต้องมีการเรียกเก็บค่า พ.ร.บ. รถยนต์ที่แตกต่างกัน เป็นเพราะว่า รถแต่ละประเภทมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุไม่เท่ากัน โดยรถตู้จะมีค่า พ.ร.บ. รถยนต์ที่แพงกว่า เนื่องจาก พ.ร.บ. รถยนต์จะคุ้มครองทุกคนที่โดยสารนั้นเอง ซึ่งมีจำนวนคนนั่งมากกว่ารถเก๋งเกือบเท่าตัว โดยราคาของการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์แต่ละประเภทมีดังนี้

 ประเภทรถยนต์โดยสาร

  • รถยนต์เก๋ง ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ค่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 600 บาท
  • รถตู้ จำนวน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง ค่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 1,100 บาท
  • รถโดยสาร เกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ค่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2,050 บาท
  • รถโดยสาร เกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ค่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 3,200 บาท      

ประเภทรถกระบะ – รถบรรทุก

  • รถกระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน ค่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 900 บาท
  • รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน ค่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 1,220 บาท
  • รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน ค่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 1,310 บาท

รถประเภทอื่น ๆ

  • รถลากรถพ่วง รถหัวลากจูง ค่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 2,370 บาท
  • รถพ่วง ค่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 600 บาท
  • รถยนต์ใช้ในการเกษตร ค่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 90 บาท

บทสรุป 

ความแตกต่างของ พ.ร.บ. รถเก๋งและรถตู้มีเพียงแค่ค่าต่อ พ.ร.บ. เท่านั้น

พ.ร.บ. รถยนต์มีความคุ้มครองที่เหมือนกัน จะแตกต่างแค่ราคาเท่านั้น เนื่องจากรถทุกคันมีความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกัน แต่ความคุ้มครองเหมือนกัน จึงไม่แฟร์หากต้องเก็บค่า พ.ร.บ. รถยนต์ในจำนวนที่เท่ากัน จึงมีการปรับราคาให้เหมาะสมกันนั้นเอง

หาก พ.ร.บ. รถยนต์ของคุณหมดอายุ จะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ ตามที่กล่าวมา เพราะฉะนั้นอย่าลืมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ของคุณก่อนวันหมดอายุเสมอ โดยสามารถต่อล่วงหน้าได้ 3 เดือนก่อนถึงวันหมดอายุ
ปัจจุบันสามารถต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว โดยสามารถเข้ามาต่อพ.ร.บ. รถยนต์กับทาง insurverse ได้ตลอด 24 ชม. และยังได้ราคาที่ถูกกว่า สะดวกสบาย ทั้งเรื่องการต่อและเรื่องค่าใช้จ่าย เลือกต่อพ.ร.บ. รถยนต์ เลือก insurverse ให้เราดูแลคุณ

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)