vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ชวนรู้จักกับความแตกต่างระหว่างพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์กับการต่อภาษีรถจักรยานยนต์

ชวนรู้จักกับความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ กับการต่อภาษีรถจักรยานยนต์

schedule
share
ชวนรู้จักกับความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ กับการต่อภาษีรถจักรยานยนต์

ผู้ขับขี่รถยนต์ครั้งแรกคงมีคำถามว่าระหว่าง พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ กับการต่อภาษีรถแตกต่างกันอย่างไร เพราะทั้งสองอย่างนี้คล้ายกันจนแยกไม่ออก ทำให้หลายคนเข้าใจผิดไปต่าง ๆ  นานาว่าเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ความจริงขอบอกตรงนี้เลยว่าไม่ใช่อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน ดังนั้นเพื่อเคลียร์ข้อสงสัย มาดูกันเลยดีกว่าว่า พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ กับการต่อภาษีไม่เหมือนกันตรงไหนบ้าง!

พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับผู้ใช้รถ

พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ เปรียบเสมือนการทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งแตกต่างจากประกันชั้น 1 หรือประกันชั้น 2 ที่เราเห็นตามโฆษณาของบริษัท เพราะช่วยคุ้มครองความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ผู้ขับขี่ แต่ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. ต้องยอมรับว่าน้อยกว่าประกันรถยนต์ภาคสมัครใจอยู่มากเลยทีเดียว

เมื่อคุณทำ พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ ความคุ้มครองที่จะได้รับในกรณีที่ไม่ต้องพิสูจน์ความผิด คือ 1.ค่าเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะชดเชย 35,000 บาทต่อคน 2.ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามจริงวงเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน โดยเป็นความคุ้มครองที่ได้รับทั้งคนขับและผู้ซ้อนท้าย

ส่วนในกรณีที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก จะได้รับสิทธิความคุ้มครองดังต่อไปนี้

1.หากเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ พ.ร.บ.รถ ชดเชย 300,000 บาท

2.ค่ารักษาพยาบาล โดยจ่ายตามจริง ไม่เกิน 80,000 บาท

3.ถ้ามีการรักษาถึงขั้นต้องแอดมิทเป็นผู้ป่วยใน รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน

4.กรณีสูญเสียอวัยวะ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กรณี ได้แก่

            4.1นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป พ.ร.บ.ชดเชย 200,000 บาท

            4.2 สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ชดเชย 250,000 บาท

            4.3 สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ชดเชย 300,000 บาท

รู้จักกับ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ แล้ว มาดูกันเลยว่าการต่อภาษีรถยนต์ คืออะไร

การต่อภาษีรถยนต์เปรียบเสมือนการเสียภาษีให้รัฐ คล้ายกับภาษีที่ดิน ภาษีป้าย หรือการยื่นภาษีเงินได้ การขับรถยนต์ก็ไม่พ้นต้องเสียภาษีด้วยเช่นกัน เพราะการขับรถบนท้องถนนแต่ละครั้งก็ทำให้ถนนเกิดความเสียหาย ซึ่งรัฐก็ต้องการเงินเพื่อพัฒนาและบำรุงถนนใหม่ในทุก ๆ  ปี

โดยหากไม่ต่อภาษีรถยนต์ในช่วงเวลา 1 – 3 ปี จะต้องเสียค่าปรับกับกรมการขนส่งทางบกในอัตราร้อยละ 1% ของค่าต่อทะเบียนที่ต้องชำระต่อเดือน และจ่ายค่าปรับใบสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในอัตราไม่เกิน 2,000 บาท

ส่วนในกรณีที่ไม่ต่อภาษีรถยนต์เกินกว่าระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป โทษจะหนักยิ่งขึ้น เพราะมอเตอร์ไซค์จะถูกระงับป้ายทะเบียน และต้องนำรถไปทำเรื่องจดทะเบียนใหม่ภายใน 30 วัน หากไม่ทำต้องเสียค่าปรับในอัตราไม่เกิน 1,000 บาท

การต่อภาษีรถยนต์สามารถทำเรื่องได้ที่สำนักงานของกรมการขนส่งทางบกทั่วประเทศ, ไปรษณีย์ไทย หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ  เช่น DLT Vehical Tax,mPay หรือแม้แต่ True Money Wallet

หากสนใจต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกใช้บริการกับบริษัทไหนดี เราแนะนำ Insurverse ที่นอกจากจะรวบรวมประกันชื่อดังจากค่ายต่าง ๆ  แล้ว ยังมีบริการต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์อีกด้วย ทำให้ไม่ต้องไปทำเรื่องถึงสำนักงานขนส่งฯ และหากเกิดอุบัติเหตุต้องการเคลมประกันแล้ว ยังสามารถค้นหาโรงพยาบาล กับสถานพยาบาลใกล้เคียงผ่านเว็บไซต์ได้เลย เรียกได้ว่าสะดวกสุด ๆ เช็กเบี้ย พ.ร.บ. ที่นี่!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)