วันหยุดยาวใกล้เข้ามาแล้ว ใครที่กำลังวางแผนเดินทางขับรถท่องเที่ยวต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นทริปครอบครัว ทริปกับเพื่อน ๆ หรือไปกับคู่รัก สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยคือ การตรวจเช็คความเรียบร้อยของรถคู่ใจให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด เพื่อทริปที่สนุกสนานไม่มีติดขัด
เพราะการเดินทางท่องเที่ยวจะใช้เวลานาน และมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ ไม่ว่าจะด้วยสภาพแวดล้อม หรือเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจะต้องมีการตรวจเช็คดังต่อไปนี้
ก่อนออกเดินทางทุกครั้งควรจะดูการเชื่อมต่อของขั้วแบตและฉนวนสายไฟ ตรวจดูสภาพโดยรวมของแบตเตอรี่ว่ายังใช้งานได้ดี ไม่ว่าจะเป็นแบบน้ำ แบบแห้ง และแบบกึ่งแห้ง หมั่นทำความสะอาดคราบขี้เกลือที่อยู่บริเวณขั้วแบต และเช็คระดับน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับที่กำหนด
จะต้องตรวจเช็คความลึกร่องดอกยาง รอยเจาะ ยางแตกลายงา ยางบวม หรือดอกยางหมดหรือไม่ หากพบว่ามีปัญหาต้องรีบทำการเปลี่ยนทันทีเพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้จะตรวจเช็คและเติมลมยางให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
วิธีที่ง่ายที่สุดในการตรวจเช็คช่วงล่างก็คือ การทดลองขับบนถนนจริง โดยให้สังเกตไปที่พวงมาลัยว่าระหว่างขับขี่พวงมาลัยตั้งตรงหรือไม่ หากมีองศาที่แปลก หรือระหว่างขับขี่รถมีเสียงแปลก ๆ โดยเฉพาะตอนที่เจอพื้นถนนที่ไม่เรียบก็ให้ส่งตรวจที่ศูนย์ได้เลย
น้ำมันเครื่องจะต้องอยู่ในระดับปกติเสมอ ไม่ควรปล่อยให้น้ำมันเครื่องอยู่ในระดับที่มากหรือน้อยเกินไป เพราะน้ำมันเครื่องเป็นสิ่งที่จำเป็นของระบบกลไกต่าง ๆ ในเครื่องยนต์ และยังช่วยให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพและอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น
ตรวจสอบให้น้ำมันเบรกอยู่ในระดับปกติอยู่เสมอ ซึ่งจะสามารถสังเกตได้จากความหนืดระหว่างเหยียบเบรก หากเหยียบแล้วรู้สึกแข็งทื่อผิดปกติ อาจเกิดจากอาการระบบหม้อลมเบรกรั่วซึมได้ จะต้องรีบนำส่งศูนย์เพื่อทำการตรวจสอบอย่างละเอียด
เพราะไฟส่องสว่างมีความสำคัญต่อการขับขี่บนท้องถนนอย่างมาก โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ไม่ว่าจะเป็นไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเลี้ยว ไฟเบรค ไฟฉุกเฉิน หรือไฟในส่วนอื่น ๆ ควรอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา
เพราะในขณะที่ระบบเครื่องยนต์ทำงาน จะมีความร้อนสะสม บวกกับอุณหภูมิภายนอกของประเทศไทยที่ร้อนอย่างมาก ถ้าหากหม้อน้ำมีน้ำอยู่น้อย จะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงกับเครื่องยนต์ได้ ซึ่งมีจุดที่จะต้องเช็ค คือ การทำงานของพัดลม รอยรั่วของหม้อน้ำ และท่อซีลต่าง ๆ
เนื่องจากไฟต่าง ๆ บนหน้าปัดรถยนต์จะบอกสถานะผิดปกติของรถ เช่น ระบบเบรก ระบบไฟฟ้า น้ำมัน และอุณหภูมิของเครื่องยนต์ ดังนั้น หากมีสัญลักษณ์ไฟเตือนขึ้น แสดงว่ามีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์อย่างแน่นอน
เอกสารจำเป็นที่จะต้องมีติดตัวไว้สำหรับการเดินทาง มีดังนี้ สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยรถยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์
ทุกการเดินทางย่อมมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การมีประกันภัยรถยนต์ก็เหมือนเป็นหลักประกันอย่างหนึ่งที่สร้างความอุ่นใจให้กับทุกการเดินทางของเรา ซึ่งสามารถเลือกทำได้ตามความเหมาะสมและตามความคุ้มครองที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2, หรือประกันชั้น 3
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง