เมื่อนึกถึงรถมือสอง ความคุ้มค่าน่าจะเป็นสิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่มองหา ด้วยราคาค่าตัวที่จับต้องได้ บวกกับตัวเลือกในตลาดที่เยอะ เพียงแค่เปิดแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ก็มีรถให้เลือกกันอย่างมากมาย เลยทำให้หลายคนอาจตัดสินใจผิด ไปซื้อรถหลุดจำนำมาใช้งานเพราะราคาถูกกว่าราคาตลาดทั่วไป โดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ารถหลุดจำนำ คืออะไร ผิดกฎหมายไหม ทำไมราคาถึงได้ถูกผิดปกติขนาดนั้น วันนี้ insurverse เราจะมาอธิบายเรื่องนี้ให้เข้าใจกันเอง
รถหลุดจำนำ คือรถที่พ่อค้าคนกลางนำมาขายต่อ จากการยึดรถที่รับจำนำมาจากเจ้าของตัวจริง เพราะไม่สามารถคืนเงินก้อนที่ยืมไปได้ ซึ่งรถประเภทนี้ อาจเป็นรถที่ยังผ่อนกับทางไฟแนนซ์ไม่หมด เลยทำให้ชื่อเจ้าของรถตัวจริงยังเป็นธนาคาร ไม่ใช่ผู้นำรถเข้าไปจำนะ ทางพ่อค้าคนกลางเลยนำไปขายในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด เพราะเป็นรถที่ไม่มีเล่ม จึงไม่ต่างอะไรกับการขโมยรถมาขายต่อแบบผิดกฎหมายนั่นเอง
เพราะรถหลุดจำนำส่วนใหญ่ไม่มีเล่ม มีแต่ตัวรถ แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ผู้ครอบครองที่โอนให้ได้ เพราะชื่อยังคงเป็นของเจ้าของเดิมอยู่ ซึ่งก็คือทางธนาคาร หรืออาจเป็นเจ้าของเดิมที่โดนขโมยรถมา จึงทำให้ไม่มีเล่มทะเบียนในโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ เลยต้องตั้งราคาให้ถูกกว่าเพื่อหลอกล่อให้คนมาซื้อ
การซื้อรถหลุดจำนำ ควรหลีกเลี่ยงทุกกรณี แต่หลายคนอาจยังสงสัยต่อ ว่ารถหลุดจำนำมีแหล่งที่มาจากไหนบ้าง และแบบไหนที่ควรเลี่ยง หรือนำไปเตือนคนใกล้ตัวไม่พลาดไปซื้อในตลาดรถมือสอง เรามาดูกันดีกว่า
รถหลุดจำนำที่เป็นรถหนีไฟแนนซ์ คือสิ่งที่พบได้บ่อยมากที่สุดในตลาดรถมือสอง ที่ชอบเอามาวางขายในราคาค่าตัวที่เตะตา เพราะอย่างที่บอกไปว่า รถประเภทนี้มีแต่ตัวรถ แต่ไม่มีเล่มที่จะโอนเปลี่ยนชื่อเป็นของเราได้ ถึงต่อให้ถูกแค่ไหนก็ไม่ควรซื้อมาใช้งานอยู่ดี เพราะเราไม่ได้ถือครองกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของแต่อย่างใด มิหนำซ้ำ อาจจะโดนทางธนาคารที่เป็นเจ้าของรถตัวจริงฟ้องได้อีกด้วย
รถขโมยมา ก็เป็นอีกหนึ่งประเภทที่มักนำมาหลอกขายว่าหลุดจำนำ ซึ่งพบได้มากเช่นกันในกลุ่มตลาดรถมือสอง ที่มักจะพวกพ่อค้าคนกลาง ในการรับรถประเภทนี้มาแบบไม่สนใจที่มา และขายตัดตอนทำกำไร พร้อมกับปลอมแปลงเอกสารเพื่อสวมทะเบียน หรือเปลี่ยนเลขตัวถัง ทำให้หลายคนพลาดไปซื้อโดยไม่ตรวจเช็กดูให้ดี
หลายคนมักคิดว่า การมีเล่มทะเบียนรถ นั่นหมายถึงเป็นรถที่ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถซื้อมาใช้งานได้อย่างแน่นอน ต้องบอกว่าไม่เสมอไป เพราะอาจมีการสวมทะเบียนมาก่อน จึงทำให้สามารถโอนเป็นชื่อเราได้ แต่อาจโดนหมายศาลตามมาในภายหลังได้ หากเจ้าของรถตัวจริงมีการแจ้งความรถหายเพราะถูกขโมยมา ทางที่ปลอดภัยที่สุด ก็คือการนัดโอนกันที่สำนักงานขนส่งกับทางผู้ขายโดยตรง หากเป็นรถที่ถูกกฎหมาย ย่อมไม่มีการบ่ายเบี่ยงในการไปโอนด้วยกันอย่างแน่นอน
รถหลุดจำนำ เป็นรถที่ไม่มีเล่มทะเบียน เมื่อไม่มีเล่มทะเบียน ก็จะไม่สามารถต่อ พ.ร.บ. หรือ ต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ ซึ่งก็คือการใช้รถแบบผิดกฎหมาย หรือหากเป็นรถหลุดจำนำที่มีเล่มมาด้วย อาจจะต่อภาษีในการใช้งานได้ตามปกติ แต่หากถูกตรวจพบในภายหลังว่าเป็นรถที่มีการสวมทะเบียน หรือปลอมแปลงเลขตัวถังมา ก็จะโดนคดีความตามหลังอยู่ดี จึงเป็นการกระทำที่ผิดทั้งหมด เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อรู้ตัวว่าโดนหลอก และไม่มีความรู้เรื่องการซื้อรถจริง ๆ ให้ทำการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ พร้อมกับส่งเรื่องฟ้องในชั้นศาลต่อไปจะดีที่สุด
สำหรับคนที่ยังเห็นภาพไม่ชัด ว่าการซื้อรถหลุดจำนำมาใช้มันแย่แค่ไหน เราจะมาชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่ตามมาในภายหลังให้ดูกัน
ทุกคนเห็นกันแล้วใช่ไหมว่า รถหลุดจำนำคือสิ่งผิดกฎหมาย ที่มักจะล่อเราด้วยราคาที่ถูกจนน่าตกใจ หากไปหลงซื้อมาใช้งานเพียงเพราะคิดว่าไม่น่าจะเป็นไร ก็อาจจะโดนคดีความที่ต้องเสียทั้งเงิน และโดนยึดรถไปพร้อม ๆ กัน อีกทั้งยังอาจโดนรีดไถจากแก๊งหลอกลวงได้อีก เมื่อเทียบกันแล้ว แถมจะไม่มีความคุ้มค่าใด ๆ กับการซื้อรถมือสองในตลาดที่ราคาสูงขึ้นมาอีกสักหน่อยเท่านั้น และสำหรับใครที่วางแผนจะซื้อรถอยู่ แต่ยังไม่รู้จะทำประกันรถยนต์ที่ไหนดี ให้ทาง insurverse บริษัทประกันรถยนต์ออนไลน์ดูแลคุณดีกว่า เพราะเรามีรูปแบบกรมธรรม์ที่พร้อมให้คุณเลือกปรับแต่งได้ตามความต้องการ อยากได้ความคุ้มครองแบบไหน ก็เลือกได้ตามใจชอบกันเลย
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง