ขับรถคันเดิมมาตั้งนานเบื่อสีรถเดิมๆ มีรอยด่างและรอยข่วนรอบคัน จนรู้สึกอยากทำสีรถใหม่ทั้งคัน เพื่อให้ดูสวยสดและมีชีวิตชีวามากขึ้น แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าการทำสีรถใหม่ทันคันไม่ได้จบแค่ออกจากอู่ แต่ต้องเดินเรื่องเอกสารต่างๆ หลายขั้นตอน เพื่อให้คนที่กำลังวางแผนเปลี่ยนสีรถทั้งคันเข้าใจว่ามีรายละเอียดอะไรบ้างที่ไม่ควรมองข้ามบ้าง insurverse ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำสีรถรอบคัน เพื่อให้คุณไม่เสียสิทธิประโยชน์ส่วนตัวไปแบบฟรีๆ และไม่ผิดกฎหมาย พ.ร.บ. จราจรทางบก
การทำสีรถใหม่ทั้งคันควรแจ้งกับ 2 ฝ่ายที่เกี่ยวข้องคือ กรมการขนส่งทางบก ที่เป็นผู้ดูแลและจัดระเบียบของผู้ใช้รถทุกประเภทให้อยู่ภายใต้กฎหมาย พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 และอีกฝ่ายที่ควรแจ้งคือบริษัทประกันรถยนต์ที่เราทำอยู่ เพื่อให้พวกเขาอัปเดตรูปลักษณ์รถยนต์ของเราตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด
หลังจากเปลี่ยนสีมาแล้วหากมีการแจ้งอัปเดตสีรถใหม่กับทางบริษัทประกัน พร้อมส่งเอกสารยืนยันเรียบร้อยแล้วสามารถใช้ประกันได้ตามปกติ แต่ถ้าคุณเพิกเฉยไม่แจ้งประกันให้ทราบ อาจทำให้เคลมประกันยากหรืออาจเคลมไม่ได้เลยก็ได้เช่นกัน เพราะถือว่าสีของรถยนต์ไม่ตรงตามข้อมูลที่ระบุไว้ในเอกสารกรมธรรม์
การทำสีรถใหม่ทั้งคันสามารถเคลมประกันได้ แต่สามารถทำได้เฉพาะประกันชั้น 1 ในรูปแบบการเคลมรอบคันจากอุบัติเหตุ หมายความว่าคุณจะต้องจ่ายค่า Excess ประมาณ 1,000-5,000 บาท ตามเงื่อนไขที่บริษัทประกันกำหนดเอาไว้ในกรมธรรม์ วิธีนี้ทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้พอสมควร เพราะการทำสีรถใหม่ทั้งคันมีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ 8,000 บาท ขึ้นอยู่กับชิ้นส่วนของรถยนต์ เทคนิคการทำสี และการประเมินหน้างานของแต่ละอู่หรือศูนย์บริการ
การแจ้งเปลี่ยนสีรถใหม่ทั้งคันสามารถดำเนินการที่สำนักงานกรมการขนส่งทางบกได้ทุกสาขาทั่วประเทศ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่นได้เลย โดยจะต้องใช้เอกสารสำคัญเพื่อดำเนินการดังนี้
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 105 บาท
ในกรณีที่ทำสีเฉพาะจุด ติดสติกเกอร์ ทำสีคาดแถบ หรือการตกแต่งที่ไม่ได้ทำให้สีหลักของรถเปลี่ยนแปลงถึง 30% ไม่จำเป็นต้องแจ้งเปลี่ยนสีกับกรมการขนส่งทางบก เพราะกรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสี
การตกแต่งรถแบบสองสีหรือสไตล์ทูโทน หากสีที่สองกินบริเวณจนทำให้แตกต่างไปจากสีเดิม 30% ของทั้งคันรถต้องแจ้งเปลี่ยนสีกับกรมการขนส่งทางบก เช่น ทำฝากกระโปรงลายคาร์บอนสีดำ ทำสีกระโปรงท้าย ทำสีประตูทั้ง 4 บาน เป็นต้น
การแร็ปรถ (Wrap Car) แม้ว่าจะเป็นการทำสีชั่วคราว แต่ก็จำเป็นต้องแจ้งเปลี่ยนสีกับกรมการขนส่งทางบก ไม่ต่างจากการทำสีรถใหม่ทั้งคัน ถ้าให้ดีควรแจ้งกับทางประกันด้วยเช่นกัน และถ้าหากลอกสีที่แร็ปไว้ออกทั้งหมดก็ต้องกลับไปแจ้งเปลี่ยนสีอีกรอบไม่มีข้อยกเว้น
ตามกฎหมาย พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตราที่ 13 กำหนดไว้ว่า “รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงสีของรถให้ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้ เจ้าของรถต้องแจ้งนายทะเบียนภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่เปลี่ยนแปลง” หากเกินกำหนดจะมีความผิดตามมาตราที่ 60 ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
การเปลี่ยนสีรถใหม่ทั้งคันเป็นวิธีเติมแต่งรถยนต์ของเราให้ดูสวยถูกใจตามที่เราต้องการ แต่ก็ต้องทำตามขั้นตอนที่ภาครัฐกำหนดเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจและยืนยันในสิทธิ์ที่พวกเราจะได้รับ รวมไปถึงบริษัทประกันก็จะสามารถคุ้มครองรถของเราได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องกังวลว่าจะเคลมได้มั้ย สำหรับใครกำลังมองหาประกันรถยนต์ออนไลน์ ที่รู้ใจคุณแบบครบจบทุกความคุ้มครอง insurverse พร้อมให้บริการ ไม่ว่าจะไลฟ์สไตล์แบบไหนพร้อมดูแลแบบชัวร์ๆ
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง