vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ขับรถชนคนบาดเจ็บสาหัส ไม่มีเงินจ่าย พ.ร.บ. ช่วยได้ไหม

ขับรถชนคนบาดเจ็บสาหัส ไม่มีเงินจ่าย พ.ร.บ. ช่วยได้ไหม

schedule
share

ตามกฎหมาย พ.ร.บ. รถยนต์ รถทุกคันต้องมีการทำประกันภัยภาคบังคับ หากเกิดเหตุ พ.ร.บ. ขาด รถชนเสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บสาหัส จะสามารถรับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากทางไหนบ้าง ส่วนผู้ที่ พ.ร.บ.ขาด รถชนเสียชีวิต ต้องรับผิดชอบโทษทางกฎหมายอย่างไร นอกเหนือจากนั้นรถไม่มี พ.ร.บ. ยังต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุบานปลายโดยเฉพาะกรณีที่รถไม่มี พ.ร.บ. โดนชนเสียชีวิต ควรได้รับรู้สิทธิ์ที่ตนควรรักษาเอาไว้ หรือปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องการต่อ พ.ร.บ. อย่างเคร่งครัด ดังข้อมูลทั้งหมดในบทความที่ insurverse เรียบเรียงมาให้

พ.ร.บ. ครอบคลุมความคุ้มครองอะไรบ้าง

พ.ร.บ. ครอบคลุมความคุ้มครองอะไรบ้าง

พ.ร.บ. รถยนต์ครอบคลุมความคุ้มครองโดยหลัก 2 ด้าน คือ ค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทน ซึ่งการดูแลคุ้มครองจากที่กล่าวมา มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปตามกรณี รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ดูแลได้สูงสุดไม่เท่ากัน เพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์และประโยชน์ของผู้ที่มี พ.ร.บ. รถยนต์ทุกคัน ควรอ่านข้อมูลและจดจำเบื้องต้นไว้อย่างครบถ้วน ดังข้อมูลต่อไปนี้

ค่าเสียหายเบื้องต้น

ค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นความคุ้มครองที่จะได้รับทันที โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด โดยมีความคุ้มครองขั้นต้น คือ ค่ารักษาพยาบาล (ตามค่าเสียหายจริง) ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน และกรณีเสียชีวิต เสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน แต่หากเกิดเหตุร้ายแรงอย่าง พ.ร.บ. ขาด รถชนเสียชีวิต จะทำให้ไม่สามารถเบิกความคุ้มครองในส่วนนี้ได้

ค่าสินไหมทดแทน

ค่าสินไหมทดแทน จะมีการดูแลชดเชยก็ต่อเมื่อได้รับการพิสูจน์หลักฐานจากที่เกิดเหตุแล้ว ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกหรือผิด ในกรณีที่มีการตัดสินจากเจ้าหน้าที่ในเหตุการณ์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อดูแลคุ้มครองเพิ่มเติมดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล หรือค่าเสียหายอื่น (ตามค่าเสียหายจริง) ไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
  • กรณีเสียชีวิต เสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 500,000 บาทต่อคน
  • ค่าชดเชยรายวันเมื่อเป็นผู้ป่วยใน วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

ในส่วนของค่าสินไหมทดแทน หากเป็นฝ่ายผิดก็จะไม่ได้รับการคุ้มครองใด ๆ ตามลิสต์รายการด้านบนเลย รวมถึงเมื่ออยู่ในสถานการณ์ พ.ร.บ. ขาด รถชนเสียชีวิต ด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทางฝ่ายผู้เสียหายยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหาย จากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถได้ โดยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสำนักงานฯ ดังกล่าวสามารถเลื่อนลงไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมกันได้ที่หัวข้อถัดไป

รถ พ.ร.บ. ขาด โดนรถชนเสียชีวิต เรียกร้องอะไรได้บ้าง

พ.ร.บ. ขาด รถชนเสียชีวิต สามารถเรียกร้องขอความคุ้มครองได้จาก สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งทางกองทุนฯ จะมีการสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุให้แก่ผู้ที่เป็นฝ่ายถูกก่อน หลังจากนั้นจะมีการเรียกเก็บค่าเสียหายย้อนหลังจากเจ้าของรถยนต์คันที่ไม่มี พ.ร.บ. ทั้งหมด พร้อมกับชาร์จค่าเสียหายเพิ่มเติมอีก 20% ทั้งยังมีค่าปรับเพิ่มเติมอีก 10,000 บาท เพราะรถยนต์ไม่ได้ต่ออายุ พ.ร.บ. ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นถ้าหากเกิดเหตุการณ์รถไม่ หรือร้ายแรงตามที่กล่าวมา สามารถติดต่อสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้เลยทันที

กรณีที่เป็นฝ่ายผิด

กรณีเป็นฝ่ายผิดหาก พ.ร.บ. ขาด รถชนเสียชีวิต จะต้องถูกทางสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เรียกร้องค่าเสียหายที่จ่ายไปตามจริงทั้งหมด บวกเพิ่มกับชาร์จค่าเสียหายอีก 20% ทั้งยังต้องถูกปรับเพิ่มเติม 10,000 บาทตามที่ได้กล่าวไปด้านบน

กรณีที่เป็นฝ่ายถูก

กรณีที่เป็นฝ่ายถูก ทางสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจะมีการชำระค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายที่กฎหมายครอบคลุมทั้งหมดให้แก่ผู้เสียหาย ถึงแม้ว่าฝ่ายผิดจะไม่มีเงินค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น คุณจะยังได้รับความคุ้มครองจากกองทุนฯ เช่นเดิม

ประสบเหตุแบบไม่มีคู่กรณี

กรณีประสบอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี ต่อให้ไม่ถึงขั้น พ.ร.บ. ขาด รถชนเสียชีวิต คุณก็จะไม่ได้รับการคุ้มครองใด ๆ อยู่ดีเช่นกัน นอกจากนั้นยังต้องจ่ายค่าเสียหายด้วยตัวเองทั้งหมดอยู่ดี เว้นแต่ว่าจะมีการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเสริมเอาไว้ ก็จะได้รับการดูแลตามเงื่อนไขของกรมธรรม์อีกทีหนึ่ง

พ.ร.บ. ขาด เสียค่าปรับเท่าไหร่

พ.ร.บ. ขาด เสียค่าปรับเท่าไหร่

ได้ทราบข้อมูลการเรียกร้องหากต้องเจอสถานการณ์ พ.ร.บ. ขาด รถชนเสียชีวิต กันไปเรียบร้อยแล้ว ลองมาดูกันว่าถ้า พ.ร.บ. รถยนต์ขาดในแต่ละช่วงเวลา ต้องโดนค่าปรับกันเท่าไหร่บ้าง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ขาดไม่เกิน 1 ปี, ขาดไม่เกิน 2 ปี และขาด 3 ปีขึ้นไป

ขาดต่อ พ.ร.บ. ไม่เกิน 1 ปี

สามารถต่อ พ.ร.บ. ได้ทันที ยังไม่มีค่าปรับเกี่ยวกับ พ.ร.บ. โดยตรง แต่จะมีค่าปรับในเรื่องของการขาดต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งปรับประมาณ 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน

ขาดต่อ พ.ร.บ. ไม่เกิน 2 ปี

กรณีที่ขาดไม่เกิน 2 ปี ต้องมีการตรวจสภาพรถยนต์ใหม่อีกครั้ง เพื่อทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ด้วยตัวเองที่กรมขนส่ง พร้อมกับเสียค่าปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และต้องเตรียมเอกสารสมุดทะเบียนรถกับสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถไปด้วย

ขาดต่อ พ.ร.บ.  3 ปีขึ้นไป

กรณีที่ขาดต่อ พ.ร.บ. นาน 3 ปีขึ้นไป มีโอกาสสูงมากที่จะถูกระงับป้ายทะเบียนรถยนต์ ซึ่งต้องเสียทั้งค่าปรับกรณีขาดภาษีรถยนต์อย่างหนัก ค่าปรับ พ.ร.บ. ขาดสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และต้องมีการส่งป้ายทะเบียนคืนให้กับกรมขนส่ง หากไม่ส่งภายใน 30 วัน จะโดนปรับเพิ่มอีก 1,000 บาท หากจะต่อ พ.ร.บ. ใหม่อีกครั้งในกรณีนี้ ต้องเตรียมเอกสารไปทั้งหมด 3 รายการ คือ ทะเบียนบ้านเจ้าของรถ, สมุดทะเบียนรถ และสำเนาบัตรประชาชน

โทษตามกฎหมายจราจรทางบก

โทษตามกฎหมายจราจรทางบกหากขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ คือ หากถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจสอบ สามารถโดนค่าปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาทเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นการขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ แปลว่าจะต้องขาดต่อภาษีรถยนต์ด้วย ดังนั้นอาจถูกปรับเพิ่มอีก 400-1,000 บาทได้อีกต่างหาก

ขับรถชนคนเสียชีวิตมีโทษทางกฎหมายอย่างไรบ้าง

กรณีขับรถชนคนเสียชีวิตที่ต่อให้มี หรือ พ.ร.บ. ขาด รถชนเสียชีวิต จะต้องเผชิญหน้ากฎหมายขั้นต้นในชุดเดียวกัน คือ การขับรถชนคนเสียชีวิต เป็นความผิดทางอาญา โทษสำหรับผู้ที่ขับรถชนคนเสียชีวิตผิดฐานขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ยิ่งไปกว่านั้นต้องมีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทางแพ่งให้กับฝ่ายผู้เสียหาย ซึ่งเป็นกรณีเข้าข่าย ประมาท แต่มิใช่ เจตนา ขับรถชนคู่กรณี 

สรุปเกี่ยวกับกรณี พ.ร.บ. ขาด รถชนเสียชีวิต

สรุปแล้วหาก พ.ร.บ. ขาด รถชนเสียชีวิต เป็นฝ่ายผิด ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมดด้วยตัวเอง พร้อมกับโดนค่าปรับอีกมหาศาล ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายแรงจนไม่สามารถรับผิดชอบได้ กฎหมายจึงกำหนดให้เจ้าของรถยนต์ทุกคันต้องมีการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ อยู่ทุกปี เพื่อให้ทุกคนได้รับการคุ้มครองขั้นพื้นฐานด้านการรักษาพยาบาลเบื้องต้นตามสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งในสมัยนี้ช่องทางการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์มีให้เลือกใช้บริการมากมาย โดยง่ายและสะดวกสบายที่สุดต้องยกให้ ต่อผ่านระบบออนไลน์กับ insurverse รวดเร็ว คุ้มค่า นำกรมธรรม์ไปต่อภาษีได้ทันที และยังมีระบบเตือนก่อนวันหมดอายุให้ด้วย

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)