เชื่อว่าเจ้าของรถทุกคนต้องรู้จักการทำ พ.ร.บ.รถยนต์ เพราะเป็นข้อบังคับทางกฎหมายที่รถทุกคันจำเป็นต้องทำ ข้อควรระวังอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ การหมดอายุของ พ.ร.บ. ของรถยนต์คู่ใจนั่นเอง และหากใครที่กำลังจะไปต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ วันนี้เราจะได้รวบรวม 5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ มาให้ทุกคนได้อ่านกัน
รถยนต์เก๋ง ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 600 บาท
รถตู้ จำนวน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาท
รถโดยสาร เกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
รถโดยสาร เกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
รถกระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน 900 บาท
รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท
รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท
รถลากรถพ่วง รถหัวลากจูง 2,370 บาท
รถพ่วง 600 บาท
รถยนต์ใช้ในการเกษตร 90 บาท
เป็นข้อบังคับทางกฎหมายที่เจ้าของรถจำเป็นต้องทำ หากใครที่ไม่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีความผิดเป็นโทษปรับ และมีทำให้ไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ หรือป้ายภาษีประจำปีได้
หากไปชำระภายหลัง หรือล่าช้าเกินกำหนด ก็จะต้องเสียค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน และหาก พ.ร.บ.รถยนต์ ขาดต่อกัน 3 ปี ก็จะส่งผลให้เลขทะเบียนรถถูกระงับ ต้องไปจดทะเบียนรถใหม่ที่กรมขนส่งทางบก รวมทั้งต้องยื่นชำระภาษีคงค้างย้อนหลังพร้อมเสียค่าปรับ จึงจะสามารถใช้รถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
พ.ร.บ.รถยนต์ จะไม่สามารถให้ความคุ้มครองย้อนหลังได้ แต่สามารถซื้อล่วงหน้าได้สูงสุดไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือน
ในปัจจุบันสามารถต่อ พ.ร.บ. ได้ 2 ช่องทาง คือแบบออนไลน์ ในเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก e-Service หรือเว็บไซต์ประกันภัยที่ไว้วางใจ หรือเดินทางไปที่สำนักงานขนส่ง ที่ทำการไปรษณีย์ ห้างสรรพสินค้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 ทั่วประเทศไทย ซึ่งสามารถเลือกทำได้ตามความสะดวกของเรา
เพราะการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์มีความสำคัญ และจำเป็นจะต้องทำต่อเนื่องทุกปี แต่ไม่ต้องกังวลเรื่องการต่อ พ.ร.บ. ไม่ทันอีกต่อไป เพราะ insurverse มีบริการแจ้งเตือนก่อนหมดอายุ เช็กราคาและซื้อ พ.ร.บ. ด้วยตัวเองได้ที่นี่ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเดินทางได้อย่างสบายใจ ท่ามกลางยุคสมัยที่มีแต่ความรีบเร่งได้เลย
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
พ.ร.บ. ประกันภัยภาคบังคับที่เจ้าของรถทุกคันต้องมี เพื่อคุ้มครองผู้เสียหายจากอุบัติเหตุไม่คาดฝัน ทั้งคนขับ ผู้โดยสาร และคู่กรณี รวมค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยอื่น ๆ
การต่อภาษีรถยนต์เป็นหน้าที่ของคนมีรถยนต์ทุกคน โดยเราต้องต่อภาษีประจำปีและเตรียมเอกสารให้พร้อม ซึ่งรถแต่ละประเภท ก็จะเสียภาษีในราคาที่ต่างกันไปตามข้อกำหนด
สมรรถนะรถยนต์ไฟฟ้าเทียบเท่าได้กับรถยนต์ทั่วไป เหนือระดับด้วยความเป็น รถไฟฟ้า ev ประหยัดพลังงาน