คนขับรถยนต์ต้องมี พ.ร.บ.คุ้มครอง แล้วคนขับมอเตอร์ไซค์จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์หรือไม่ ตามกฎหมายแล้วก็มี พ.ร.บ.จักรยานยนต์ เหมือนกันเพื่อให้คนขับและผู้โดยสารปลอดภัยหายห่วงระหว่างเดินทาง เนื่องจากมอเตอร์ไซค์ขับขี่รวดเร็ว เสี่ยงอันตราย และเกิดอุบัติเหตุบ่อยด้วย มาดูกันว่า พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง
ปัจจุบัน พ.ร.บ.จักรยานยนต์มีความสำคัญมากเพื่อเป็นหลักประกันกรณีเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันบนท้องถนน ช่วยคุ้มครองและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของผู้ขับขี่ค่อนข้างครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยต่าง ๆ ก่อน พ.ร.บ.หมดอายุสามารถต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์ ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปเข้าแถวต่อคิว พร้อมรับกรมธรรม์ผ่านอีเมลและจัดส่งทางไปรษณีย์ได้
การต่อ พ.ร.บ.ทำได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเข้าไปในเว็บไซต์ระบบ e-service ของกรมการขนส่งทางบกที่ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf โดยใช้เวลาเพียง 15 นาทีเท่านั้น
สามารถนำไปยื่นต่อทะเบียนตามช่องทางที่สะดวก ไม่ว่าจะเป็นการยื่นต่อทะเบียนรถออนไลน์, Drive-Thru ที่กรมการขนส่งทางบก และเคาน์เตอร์เซอร์วิสต่าง ๆ
พ.ร.บ.คุ้มครองครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อน บุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บ สามารถเบิกจ่ายได้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด มีรายละเอียดดังนี้
พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์จะชดเชยค่าใช้จ่ายให้ในกรณีที่คนขับมอเตอร์ไซค์เป็นฝ่ายถูก ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อนที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ แต่ไม่ครอบคลุมค่าซ่อมแซมยานพาหนะอื่น ๆ ที่เสียหายจากอุบัติเหตุ ดังนี้
จะเห็นได้ว่าการต่อพ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ ทำได้ง่ายและรวดเร็วด้วย เพราะมีเพียงไม่กี่ขั้นตอน อย่าลืมเช็กอายุรถจักรยานยนต์ว่าหากมีอายุเกิน 5 ปี ต้องนำไปส่งตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสอบสภาพรถเอกชนก่อน จึงจะต่อ พ.ร.บ.ได้ หากพร้อมต่อ พ.ร.บ. แล้ว สามารถ เช็กเบี้ย พ.ร.บ. ที่นี่!
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประจำทุกปีนั้นเป็นสิ่งที่จะสร้างความอุ่นใจ แต่หากลืมว่าทำ พ.ร.บ. รถยนต์ กับที่ไหน หมดอายุเมื่อไหร ตรวจสอบได้ดังนี้
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กี่บาท? ราคาเท่าไหร่? คำตอบขึ้นอยู่กับประเภทรถยนต์ เช่น รถเก๋ง 499 บาท รถกระบะ 799 บาท รถตู้ราคา 999 บาท ราคาถูกชัวร์แบบนี้ต้องที่ insurverse
พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นประกันภาคบังคับที่เจ้าของรถทุกคันต้องทำ ซึ่งให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด