vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
car-tax-is-lacking-but-compulsory-not-what-are-the-consequences

ภาษีขาด แต่ พ.ร.บ. ไม่ขาด ส่งผลอะไรบ้าง?

schedule
share

       คนมีรถต้องคอยหมั่นเช็ก อย่าปล่อยให้ภาษีขาด ลืมต่อภาษีรถยนต์  พ.ร.บ. หมดอายุ ประกันหมดอายุ หรือหากเป็นกรณีภาษีขาด แต่ พ.ร.บ. ไม่ขาด ก็ตาม เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะมาเสียใจภายหลังไม่ได้นะ

       แต่ insurverse จะขอยกกรณีภาษีขาด แต่ พ.ร.บ. ไม่ขาด จะเคลมประกันได้หรือเปล่า จะได้ค่าชดเชยหรือไม่ จะโดนค่าปรับอะไรไหม ปัญหาที่ใครหลายคนเกิดข้อสงสัย วันนี้เรามีคำตอบดี ๆ มาฝากกัน

ทำความรู้จักภาษีรถยนต์ กับ พ.ร.บ. รถยนต์

       ก่อนอื่นสำหรับคนที่เป็นมือใหม่หัดมีรถ มาทำความเข้าใจกันก่อนเลยว่า ภาษีขาด แต่ พ.ร.บ. ไม่ขาด มีความแตกต่างกัน โดยการการต่อภาษีรถยนต์ หรือการต่อทะเบียนรถยนต์นั้น ก็เป็นคนละส่วนกับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ อย่าคิดว่า ต่ออายุอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจะเป็นการต่ออายุพ่วงกัน ต้องระมัดระวังให้ดี ไม่อย่างนั้นจะเสียโอกาส เสียเงิน และเสียเวลา

 ภาษีรถยนต์ หรือทะเบียนรถยนต์

       ภาษีรถยนต์ คือภาษีที่เจ้าของรถ หรือผู้ใช้รถ มีหน้าที่เสียตามกฎหมายในทุก ๆ ปี โดยภาษีรถยนต์จะถูกนำไปใช้ในการสร้างถนน ปรับปรุงพัฒนาระบบการจราจรต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อทำการต่อภาษีรถก็จะได้รับป้ายวงกลมจากกรมการขนส่งทางบก เพื่อนำมาติดตรงหน้ากระจกรถนั่นเอง โดยหากไม่ต่อภาษีรถยนต์หลังจากหมดอายุจะถือเป็นความผิดตามกฎหมาย ต้องเสียค่าปรับ 1%  ต่อเดือน หรือหากรถที่ไม่ต่อทะเบียนติดต่อกันเกิน 3 ปี จะถูกยกเลิกทะเบียนเดิม ต้องนำรถยนต์ไปจดทะเบียนใหม่

 พ.ร.บ.รถยนต์

       พ.ร.บ. รถ เป็นประกันรถส่วนที่กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องทำ เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงเบื้องต้นจากอุบัติเหตุ  ให้ความช่วยเหลือคุ้มครองผู้ประสบอุบัติหตุจากรถยนต์ ทั้งในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยจะคุ้มครองทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร ตลอดจนบุคคลที่ 3 เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องต่อ พรบ รถยนต์ทุกปีเช่นเดียวกัน หากไม่ทำจะถือว่ามีความผิดและมีโทษตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ปี พ.ศ.2535 ระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ภาษีขาด แต่ พรบ ไม่ขาด จะส่งผลอะไรบ้าง

       ในกรณีที่ภาษี กับ พ.ร.บ. รถยนต์ หมดไม่พร้อมกัน เช่น ลืมต่อทะเบียนรถยนต์ หรือยังไม่มีเวลาไปต่อ ส่วน พ.ร.บ. จะหมดอายุแล้วหรือไม่ก็ตาม จะถือว่ารถยนต์ที่ใช้อยู่นั้นผิดกฎหมาย และถ้าหากไม่ต่อภาษีจะส่งผลดังนี้

  • ต้องเสียค่าปรับ

       ใครที่กลัวลืมต่ออายุ ก็ไม่ต้องห่วงเพราะการต่อภาษีหรือต่อทะเบียนรถยนต์ สามารถทำล่วงหน้าก่อนที่ทะเบียนขาด หรือหมดอายุได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือต่อทะเบียนออนไลน์ ได้ที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก ควรหาเวลาทำก่อน ไม่ต้องรอให้ถึงวันทะเบียนหมดอายุ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นนั่นเอง ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์ล่าช้า จะต้องเสียค่าปรับ 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน เช่น หากต้องภาษีรถยนต์ปีละ 2,000 บาท จะต้องเสียค่าปรับล่าช้า เดือนละ 20 บาท หรือหากเจอเรียกตรวจก็ต้องเสียค่าปรับให้กับตำรวจเช่นเดียวกัน

  • ถูกระงับ หรือยกเลิกทะเบียนรถ

       ใครที่ชะล่าใจไม่ได้ต่อทะเบียนรถยนต์นานเกิน 3 ปี กรมการขนส่งจะสามารถระงับทะเบียนรถยนต์ได้ทันที กลายเป็นเรื่องยุ่งยากมากกว่าเก่า เพราะเมื่อจะนำรถมาใช้ต้องไปยื่นขอจดทะเบียนใหม่ รวมไปถึงต้องชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย แต่กรณีที่รถต้องจอดเพื่อซ่อมข้ามปี หรือซ่อมป็นเวลายาวนาน สามารถยื่นเรื่องให้กรมการขนส่งระงับการใช้รถชั่วคราวได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีรถยนต์ในระยะเวลานั้น

ภาษีขาด แต่ พรบ ไม่ขาด หากเกิดอุบัติเหตุทำอย่างไร

       ในกรณีนี้จะยึดเอาการทำ พ.ร.บ. หรือทำประกันรถเป็นหลัก หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจริง ๆ ก็ไม่ต้องกังวล เพราะการทำประกันภัยรถยนต์ ไม่เกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์ เมื่อประกันยังไม่ขาดก็ยังอยู่ในความคุ้มครองตามประเภทของ พ.ร.บ. นั่นเอง หรือหาก พ.ร.บ. ใกล้ขาด ก็สามารถซื้อประกันออนไลน์ง่าย ๆ ได้ที่ www.insurverse.co.thได้เช่นกัน

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)