vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
บอกต่อ ต่อภาษีรถยนต์ย่านสาทร ทำได้กี่ช่องทาง

บอกต่อ ต่อภาษีรถยนต์ สาทร ทำได้กี่ช่องทาง

schedule
share
บอกต่อ ต่อภาษีรถยนต์ สาทร ทำได้กี่ช่องทาง

“หน้าที่” เป็นส่วนหนึ่งของคนเราทุกคน อย่างตอนเล็ก ๆ ต้องเรียนหนังสือ ตอนโตแล้วมีงานทำก็ต้องหารายได้จุนเจือครอบครัว นอกจากนี้ผู้มีรายได้ทุกคนต้องมีหน้าที่ในการยื่นภาษีรายได้ส่วนบุคคลเป็นประจำทุกปีด้วย สำหรับคนที่มีรถยนต์เป็นของตัวเองก็มีหน้าที่ในการต่อภาษีรถยนต์เป็นประจำทุกปีเช่นกัน ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ ก็มีจุดบริการต่อภาษีรถยนต์หลากหลายแห่ง การต่อภาษีรถยนต์ สาทร ก็สามารถทำได้หลายช่องทางเช่นกัน วันนี้จะมาบอกถึงการต่อภาษีรถยนต์ สาทร ว่าทำได้กี่ช่องทางและต้องทำอย่างไรบ้าง

การต่อภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์ สำคัญอย่างไร

เป็นหน้าที่สำคัญของเจ้าของรถทุกคนที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายคือ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหรือ พ.ร.บ. ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance) โดยสาระสำคัญคือรถทุกคันที่มีการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องมีการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ เพื่อเป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคันหรือแม้กระทั่งบุคคลที่ 3 ที่ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนก็ต้องได้รับการชดเชยด้านการรักษาพยาบาลทุกคน

ค่าชดเชยเบื้องต้นต่อคนสำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุ

ประกอบด้วยค่ารักษาพยาบาลจ่ายตามจริงไม่เกิน 30,000 บาท หากสูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิตได้รับการชดเชย 35,000 บาท หากเสียชีวิตหลังจากการรักษาพยาบาลแล้วจะได้รับการชดเชยไม่เกิน 65,000 บาท และหากพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก ก็มีค่าสินไหมทดแทนให้อีกส่วนหนึ่งด้วย เพื่อเยียวยาผู้ประสบภัยและครอบครัว ทั้งนี้ก่อนจะต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้จะต้องมีการซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ เสียก่อน กฎหมายกำหนดเช่นนี้เพื่อเป็นการบังคับให้รถยนต์ทุกคันไม่ลืมที่จะต่ออายุ พ.ร.บ. รถยนต์ 

สถานที่-ช่องทาง สำหรับต่อภาษีรถยนต์

หากมี พ.ร.บ. พร้อมอยู่แล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่าสามารถต่อภาษีรถยนต์ที่ไหนได้บ้าง

  1. สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ หรือจุดที่มีบริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) ที่ให้บริการในวันจันทร์ – วันศุกร์ ซึ่งถ้าเป็นพื้นที่ในกรุงเทพฯ ก็ง่ายหน่อยที่สามารถต่อภาษีได้ที่ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1-5 หากจะต่อภาษีรถยนต์ สาทร ก็แนะนำให้ไปที่ศูนย์บริการร่วมคมนาคม สะพานตากสินที่จะมีเครื่อง Kiosk ตั้งคอยให้บริการอยู่ ซึ่งวิธีการก็ง่ายมากแค่กรอกเลขบัตรประชาชนเจ้าของรถ กรอกเลขหาง พ.ร.บ. และป้ายทะเบียน ระบบจะแสดงราคาที่ต้องจ่ายภาษี จากนั้นสามารถสแกน QR Code แล้วชำระเงินพร้อมปริ้นท์ป้ายภาษีได้เลย
  2. ที่ทำการไปรษณีย์หรือจุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส
  3. ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปให้พอแล้วต่อภาษี” (Shop Thru For Tax) เช่น ห้าง Big C
  4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)
  5. ช่องทางออนไลน์คือ https://eservice.dlt.go.th/ โดยลงทะเบียนเพื่อขอรหัสผ่าน เข้าไปที่เมนู “ยื่นภาษีรถยนต์ประจำปี” และทำตามขั้นตอนที่แจ้งไว้ หรือต่อภาษีผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax เพียงแค่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันพร้อมลงทะเบียนเพื่อรับรหัส OTP แล้วเข้าไปดำเนินการที่เมนู “ชำระภาษี” ได้ด้วยตัวเอง

จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้มีช่องทางบริการการต่อภาษีรถยนต์ให้เลือกใช้บริการตามความสะดวกของแต่ละคนหลายช่องทางมาก หากคุณกำลังจะซื้อ พ.ร.บ. หรือประกันภัยรถยนต์ ขอแนะนำบริการดี ๆ ของ insurverse ที่ให้บริการด้านการทำประกันภัยแบบครบวงจร แถมขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก และยังมีพนักงานคอยให้บริการตอบข้อซักถามด้วย เช็กเบี้ย พ.ร.บ. ได้ที่นี่!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)