พ.ร.บ.รถ หรือประกันรถยนต์ภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องต่อเป็นประจำทุกปี เพื่อคุ้มครองความเสียหายในส่วนที่เกิดจากการชน แต่น้อยคนจะทราบว่าพ.ร.บ. รถยนต์ให้ความคุ้มครองอะไรอีกบ้าง ดังนั้นมารู้จักข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ให้มากขึ้นกัน
พ.ร.บ.รถ ให้คุ้มครองทั้งคู่กรณี ผู้โดยสาร และผู้ไม่เกี่ยวข้องที่ถูกลูกหลงจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ค่าชดเชยความเสียหายประกอบด้วย
รวมแล้วค่าชดเชยความเสียหายทั้ง 2 ส่วนจะไม่เกิน 65,000 บาท
จะสามารถเบิกค่าชดเชยความเสียหายเพิ่มเติมซึ่งประกอบด้วย
เมื่อพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูกนอกจากได้รับความคุ้มครองตามที่กล่าวไปข้างต้นบริษัทประกันของฝ่ายที่กระทำผิดกฎหมาย จะชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มเติม อีก 2 ส่วนได้แก่
1. กรณีบาดเจ็บจะชดเชยไม่เกิน 80,000 บาท
2. กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ จะชดเชยให้อีก 300,000 บาท
จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ.รถยนต์ ให้ความคุ้มครองน้อยมาก เพราะชดเชยความเสียหายในกรณีที่เกิดอาการบาดเจ็บทางกายเท่านั้น ไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากรถยนต์ ทำให้หากต้องเสียเงินค่าซ่อมรถเองต้องจ่ายเงินจำนวนมาก
ปัญหาจะหมดไปเมื่อคุณทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจควบคู่ไปกับ พ.ร.บ. รถ ซึ่งประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ รู้จักกันในชื่อประกันชั้น 1 หรือประกันชั้น 2+ นั่นเอง โดยให้ความคุ้มครองสูงกว่าพ.ร.บ.รถยนต์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เพิ่มเติมความคุ้มครองจากพ.ร.บ.รถยนต์ ได้แก่
1.ความเสียหายของรถยนต์ที่ไม่มีคู่กรณี เช่นการชนเสาไฟฟ้า, ตอม่อ, ชนแบริเออร์
2.ความเสียหายของรถยนต์ที่มีคู่กรณี
3.ความเสียหายของรถยนต์จากเหตุธรรมชาติ เช่น ไฟฟ้า น้ำท่วม แผ่นดินไหว
4.รถหาย
5.ค่าใช้จ่ายในการประกันตัวสู้คดี
ให้ความคุ้มครองเหมือนกับประกันชั้น 1 แทบทุกประการ ยกเว้นเหตุชนที่ไม่มีคู่กรณี
เมื่อทราบแล้วว่า พ.ร.บ.รถ ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง ก็ควรต่อพ.ร.บ.เป็นประจำทุกปี เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีที่เกิดการชน ซึ่งจะช่วยลดค่ารักษาพยาบาลไปได้ไม่น้อย และถ้ากำลังมองหาช่องทางต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ ขอแนะนำ insurverse บริษัทประกันภัยรถยนต์ในเครือทิพย ที่รวบรวมบริการต่อพ.ร.บ.รถยนต์แบบครบวงจร ครอบคลุมทั้งรถเก๋ง รถกระบะ รถตู้และอื่น ๆ เช็กเบี้ย พ.ร.บ. ได้ที่นี่!
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
พ.ร.บ. ประกันภัยภาคบังคับที่เจ้าของรถทุกคันต้องมี เพื่อคุ้มครองผู้เสียหายจากอุบัติเหตุไม่คาดฝัน ทั้งคนขับ ผู้โดยสาร และคู่กรณี รวมค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยอื่น ๆ
การต่อภาษีรถยนต์เป็นหน้าที่ของคนมีรถยนต์ทุกคน โดยเราต้องต่อภาษีประจำปีและเตรียมเอกสารให้พร้อม ซึ่งรถแต่ละประเภท ก็จะเสียภาษีในราคาที่ต่างกันไปตามข้อกำหนด
สมรรถนะรถยนต์ไฟฟ้าเทียบเท่าได้กับรถยนต์ทั่วไป เหนือระดับด้วยความเป็น รถไฟฟ้า ev ประหยัดพลังงาน