vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
พ.ร.บ. รถยนต์แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร

พ.ร.บ. รถยนต์แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร

schedule
share
พ.ร.บ. รถยนต์แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร
ที่มารูปภาพ: https://pixabay.com/th/vectors/รถยนต-ประกนภย-สญญา-รม-7628693/

พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งเป็นกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของรถแต่ละประเภทจะต้องจัดทำก่อนจึงจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ หากไม่ทำจะโดนเจ้าหน้าที่ดำเนินการจับปรับจนกว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จ

สาเหตุที่ต้องออกกฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ นั้น เหตุมาจากในอดีตเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ผู้บาดเจ็บมักจะไม่ค่อยได้รับการเยียวยาหรือได้รับการเยียวยาที่ล่าช้า เพราะกว่าที่จะพิสูจน์หลักฐานว่าใครถูกใครผิดผู้ป่วยบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตไปแล้วจึงจะได้รับเงินรักษา หรือบางรายไม่มีแม้กระทั่งเงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล จึงทำให้มีการออกกฎหมายนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งโรงพยาบาลมั่นใจได้ว่ามีผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายแน่นอน

ความแตกต่างของ พ.ร.บ. รถยนต์

ยานพาหนะทางบกแต่ละชนิดจะมีกฎหมายดูแลและบังคับใช้ที่แตกต่างกัน ในส่วนของ พ.ร.บ.รถยนต์ก็เช่นกัน แบ่งออกได้ดังนี้

  1. พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

สำหรับรถจักรยานยนต์จะเสียเงินค่าเบี้ย พ.ร.บ. แตกต่างกันตามจำนวนซีซีของรถ โดยเริ่มต้นประมาณ 150 บาท/ปี โดยรถจักรยานยนต์ที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนก่อน จึงจะสามารถซื้อ พ.ร.บ. และต่อภาษีรถจักรยานยนต์ได้

  • พ.ร.บ. รถยนต์

ในส่วนของ พ.ร.บ. รถยนต์ หลายคนคงจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี ส่วนใหญ่ พ.ร.บ.รถยนต์ราคา จะแตกต่างกันตามขนาดของรถโดยจะคิดตามรถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง พ.ร.บ.รถยนต์ราคา เริ่มต้นที่ 600บาท/ปี

  • พ.ร.บ.รถบรรทุก

สำหรับรถบรรทุกจะมีในส่วนของกฎหมายรถบรรทุกควบคุมและกำกับดูแล เพราะเป็นรถที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งจะเน้นหนักที่การบรรทุกน้ำหนักที่บรรทุกได้, ประเภทของเชื้อเพลิง ราคาของ พ.ร.บ.จึงมีความแตกต่างกัน โดยจะเริ่มที่ 1,200 บาท

จะเห็นว่าพ.ร.บ. รถแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันในส่วนของค่าเบี้ยที่รถแต่ละคันต้องจ่าย ในขณะที่ความรับผิดชอบต่อประกันภัยที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายให้กับผู้เสียหายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจะเหมือนกัน ดังนี้

ความคุ้มครองที่จะได้รับจาก พ.ร.บ.

  • ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยไม่สนว่าฝ่ายใดผิด ฝ่ายใดถูก จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท
  • ในกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเพิ่มอีก 35,000 บาท
  • หากเสียชีวิตหลังจากรักษาพยาบาลหรือระหว่างการรักษา จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพอีก 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
  • หากมีการพิสูจน์แล้วหากผู้บาดเจ็บเป็นฝ่ายถูก ค่ารักษาพยาบาลจะได้รับเพิ่มเป็นไม่เกิน 80,000 บาท
  • หากสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้รับเงินชดเชย 200,000 – 500,000 บาท (ขึ้นอยู่กับกรมธรรม์แต่ละบริษัท แต่จะไม่น้อยกว่านี้)
  • กรณีเสียชีวิต รับเงินชดเชย 500,000 บาท
  • หากมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง ในกรณีเป็นผู้ป่วยใน จะได้รับค่าชดเชยรายได้ 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน

สำหรับใครที่เป็นเจ้าของรถไม่ว่าจะเป็นรถจักรยานยนต์, รถยนต์, รถบรรทุก หรือแม้แต่คนธรรมดาทั่วไปแม้จะไม่มีรถยนต์ใช้งานก็ควรรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายนี้ เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง โดยเฉพาะเมื่อถึงเหตุฉุกเฉินและจำเป็นต้องใช้ ก็จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาลงได้ แต่ถ้าใครกำลังมองหา พ.ร.บ.รถยนต์ราคาถูก สามารถ ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ได้ ให้ความคุ้มครองที่คุ้มค่ากับเงินค่าเบี้ย ขอแนะนำ Insurverse หนึ่งในผู้ให้บริการประกันและ ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ สามารถเช็กเบี้ยได้เลยที่นี่!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)