vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ตารางความคุ้มครอง ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ

ตารางความคุ้มครอง ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ      

schedule
share
ตารางความคุ้มครอง ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ
ที่มารูปภาพ : https://pixabay.com/th/photos/การจราจร-เมอง-ถนน-ฝน-ไฮเดอราบาด-7272520/

เชื่อว่า พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง เป็นหนึ่งในหลายคำถามที่คนมีรถสงสัยทุกครั้งที่ต้องจ่ายเงินค่า ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ ประจำปี เพราะถึงแม้ว่า พ.ร.บ.รถยนต์ราคา ถูกกว่า แต่ถึงอย่างนั้นเวลาที่เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่มักนึกถึงประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเป็นอันดับแรก เนื่องจากให้ความคุ้มครองและวงเงินประกันที่มากกว่า ทั้ง ๆ ในความจริงแล้ว พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประกันภาคบังคับตามกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองทั้งฝ่ายถูกและฝ่ายผิด ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ประสบเหตุทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลและความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว แต่ พ.ร.บ. รถยนต์จะให้ความคุ้มครองเรื่องไหนบ้างนั้น มาดูกันเลย

ตารางความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. รถยนต์

สำหรับความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. รถยนต์จะให้ความคุ้มครองเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ความคุ้มครองความเสียหายเบื้องต้นและค่าสินไหมทดแทน โดยในส่วนของความคุ้มครองความเสียหายเบื้องต้นทาง พ.ร.บ. รถยนต์จะให้ความคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุทุกคนทันที ในขณะที่ความคุ้มครองในส่วนของค่าสินไหมทดแทนจะให้ความคุ้มครองกับฝ่ายถูกหลังจากพิสูจน์ความจริงเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในแต่ละส่วนให้ความคุ้มครองดังต่อไปนี้

ความคุ้มครองความเสียหายเบื้องต้นค่าสินไหมทดแทน
กรณีบาดเจ็บจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
กรณีสูญเสียอวัยวะ35,000 บาทนิ้วขาดตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป 200,000 บาทสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000 บาทสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน 500,000 บาท
กรณีทุพพลภาพถาวร35,000 บาท300,000 บาท
กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงไม่ได้รับความคุ้มครอง500,000 บาท
เงินชดเชยรายได้กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในไม่ได้รับความคุ้มครองวันละ 200 บาท สูงสุด 20 วัน
กรณีเสียชีวิต35,000 บาท500,000 บาท
กรณีปลงศพ35,000 บาทไม่ได้รับความคุ้มครอง

การเบิกเคลม พ.ร.บ. รถยนต์

ในการเบิกเคลม พ.ร.บ. รถยนต์ให้เตรียมเอกสารสำเนาบัตรประชาชนหรือสูติบัตร (กรณีอายุน้อยกว่า 15 ปี) ของผู้ประสบอุบัติเหตุ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบอุบัติเหตุ สำเนาทะเบียนรถยนต์ที่ก่อเหตุ สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์ ใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวันที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเอกสารอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับกรณีที่ต้องการเบิกเคลมจาก พ.ร.บ. รถยนต์ โดยกรณีบาดเจ็บเพิ่มเอกสารใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล กรณีเสียชีวิตเพิ่มเอกสารใบมรณบัตร กรณีทุพพลภาพเพิ่มใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองการเป็นผู้พิการที่ออกโดยแพทย์ ส่วนการเบิกเงินชดเชยกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในต้องมีใบรับรองแพทย์หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในที่ออกโดยโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาตัว อย่างไรก็ตามหากให้ทายาทหรือบุคคลอื่นมาดำเนินการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลหรือเงินชดเชยแทน ต้องมีเอกสารแสดงความสัมพันธ์  สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ และหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย สำหรับการเบิกเคลมประกันจาก พ.ร.บ. รถยนต์สามารถดำเนินการได้ภายใน 180 วัน หลังเกิดอุบัติเหตุโดยนับจากวันลงบันทึกประจำวัน สามารถยื่นเอกสารได้ที่โรงพยาบาลหรือติดต่อกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งหากเอกสารครบถ้วนผู้ประสบอุบัติเหตุจะได้รับเงินชดเชยตามสิทธิ์ภายใน 7 วัน

เป็นอย่างไรบ้างสำหรับข้อมูลดี ๆ และคำตอบของคำถาม พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ที่เรานำมาฝาก ซึ่งจะเห็นว่าเมื่อเทียบราคาที่จ่ายในการ ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ กับความคุ้มครองที่ได้รับคงต้องบอกว่าคุ้มค่าเกินราคา แต่สำหรับใครที่ใกล้ต่อ พ.ร.บ. แต่ยังไม่รู้ว่าจะต่อที่ไหนดี แนะนำให้ต่อกับ Insurverse ที่มาพร้อม พ.ร.บ.รถยนต์ราคา ถูกกว่า ซื้อแล้วให้ความคุ้มครองทันทีไม่ต้องรอต่อภาษี แถมด้วยบริการแจ้งเตือนก่อน พ.ร.บ. หมดอายุในรอบถัดไป รับประกันว่าคุ้มกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว หากสนใจคลิกเช็กเบี้ยเลยที่นี่!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)