vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ ต้องไปยื่นเรื่องพ.ร.บ.เองหรือไม่?

เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ ต้องไปยื่นเรื่องพ.ร.บ.เองหรือไม่?

schedule
share
เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ ต้องไปยื่นเรื่องพ.ร.บ.เองหรือไม่?
ที่มารูปภาพ: https://www.freepik.com/free-photo/person-lying-ground-after-car-accident_18642229.htm

ผู้ใช้รถยนต์ส่วนใหญ่ย่อมทราบว่าดี “พ.ร.บ. รถยนต์” เป็นสิ่งที่รถทุกคันต้องมีตามกฎหมาย เพื่อให้ความคุ้มครองในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ โดยความคุ้มครองมีทั้งค่ารักษาพยาบาลไปจนถึงเงินชดเชยต่าง ๆ แต่ก็มีหลายคนที่อาจจะยังไม่ทราบว่าหาก รถ เกิด อุบัติเหตุ แล้วมีผู้เสียชีวิตจะต้องไปยื่น พ.ร.บ. อย่างไร และต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน

หลังเกิดอุบัติเหตุต้องไปยื่น พ.ร.บ. เองหรือไม่?

โดยทั่วไปแล้วเมื่อเกิดอุบัติเหตุและผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตถูกนำตัวส่งไปที่โรงพยาบาลแล้ว ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายผิดให้ติดต่อบริษัทประกันที่ทำ พรบรถยนต์ เพื่อแจ้งเหตุการณ์และเคลมประกัน โดยขั้นตอนการดำเนินการยื่น พ.ร.บ. มีดังนี้

  • ผู้ประสบเหตุหรือทายาทโดยธรรมสามารถยื่นเบิก พ.ร.บ. รถยนต์กับทางโรงพยาบาลที่เข้ารักษาตัว
  • ผู้ประสบเหตุหรือทายาทโดยธรรมจะต้องไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ แล้วนำหลักฐานมาใช้ประกอบในเอกสารยื่นเบิก พ.ร.บ.
  • นำเอกสารต่าง ๆ ไปยื่นเบิก พ.ร.บ. กับบริษัทประกันที่ซื้อ พ.ร.บ.
  • รอรับความคุ้มครอง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าสินไหมทดแทนต่าง ๆ ภายใน 7 วันทำการ 

เอกสารที่ต้องใช้ยื่นเบิก พ.ร.บ. รถยนต์

          สำหรับเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นเบิก พ.ร.บ. หลัง รถ เกิด อุบัติเหตุ และเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลมีดังต่อไปนี้

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบเหตุและเจ้าของรถ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบเหตุ
  • สำเนาบันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจ
  • สำเนาหนังสือทะเบียนรถ
  • ตารางกรมธรรม์ประกันภัย
  • ใบรับรองแพทย์และใบเสร็จรับเงินของโรงพยาบาลที่เข้ารักษาตัว

ความคุ้มครองที่จะได้รับจาก พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2535

          ไม่ว่าจะ ซื้อ พร บ รถยนต์ ออนไลน์ หรือซื้อ พ.ร.บ. จากบริษัทประกันก็ดี ความคุ้มครองที่จะได้รับจะเป็นไปตาม “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535” ซึ่งให้คุ้มครองทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมทั้งคู่กรณีจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ไม่สนใจว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูก โดยความคุ้มครองมีดังนี้

  1. คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น จะได้รับแม้ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าฝ่ายใดถูกหรือฝ่ายใดผิด
  2. กรณีบาดเจ็บ ผู้บาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุที่จ่ายตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท
  3. กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร ผู้ประสบเหตุจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท
  4. กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมจะได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการจัดการศพและค่าปลงศพ 35,000 บาท
  5. คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน จะได้รับเมื่อพิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบเหตุเป็นฝ่ายถูก
  6. กรณีบาดเจ็บ ผู้บาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามจริง ไม่เกิน 80,000 บาท
  7. กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร ผู้ประสบเหตุจะได้รับค่าสินไหมทดแทน 200,000 – 500,000 บาท
  8. กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมจะได้รับค่าสินไหมทดแทน ไม่เกิน 500,000 บาท
  9. กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในอยู่ในสถานพยาบาล ผู้ประสบเหตุจะได้รับเงินชดเชยรายวัน 200 บาท/วัน รวมกันแล้วไม่เกิน 20 วัน

ทั้งหมดนี้คือสาระความรู้เกี่ยวกับการยื่นเบิก พรบรถยนต์ และความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ สำหรับใครที่กำลังต้องการ ซื้อ พร บ รถยนต์ ออนไลน์ สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ โดยมีบริการทำ พ.ร.บ. รถยนต์ทั้งรถเก๋ง/กระบะ 4 ประตู รถกระบะ 2 ประตู รวมถึงรถตู้ ที่สำคัญคือมีส่วนลดพิเศษมอบให้ด้วย

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)