vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
รู้หรือไม่ ป้ายภาษีรถยนต์กับพ.ร.บ.รถยนต์แตกต่างกัน

รู้หรือไม่ ป้ายภาษีรถยนต์ กับ พ.ร.บ.รถยนต์ แตกต่างกัน

schedule
share

มีใครที่ยังสับสนระหว่าง ป้ายภาษีรถยนต์ กับ พ.ร.บ.รถยนต์ อยู่หรือไม่? บอกได้เลยว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะทั้งสองต่างก็เป็นสิ่งที่มีการบังคับใช้ทางกฎหมาย ที่เมื่อฝ่าฝืนก็จะมีโทษปรับเช่นเดียวกันทั้งคู่ แต่หากมองไปถึงการใช้งาน หรือการคุ้มครองนั้นแตกต่างกันอย่างแน่นอน วันนี้เราจะพาไปดูความแตกต่างระหว่าง ป้ายภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ.รถยนต์ 

ป้ายภาษีรถยนต์ vs พ.ร.บ.รถยนต์

ป้ายภาษีรถยนต์ vs พ.ร.บ.รถยนต์

ภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นสิ่งสำคัญที่รถทุกคันจะต้องมี และหากรถคันไหนที่ไม่มีทั้งสองสิ่งนี้ก็จะเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และมีโทษปรับได้ ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันทั้งด้านการใช้งานและการคุ้มครอง เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจความแตกต่างของ ป้ายภาษีรถยนต์ กับ พ.ร.บ.รถยนต์ 

ป้ายภาษีรถยนต์คืออะไร

มีลักษณะเป็นป้ายวงกลม หรือ ป้ายสี่เหลี่ยม ที่มีเลข พ.ศ. กำกับอยู่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ที่จะได้รับหลังจากมีการชำระภาษีเสร็จสิ้น โดยการจ่ายภาษีรถยนต์ จะเป็นการจ่ายเงินให้กับภาครัฐ เพื่อนำไปดูแลระบบคมนาคมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ หรือนำไปดูแลอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน แต่ก่อนที่จะได้ป้ายภาษีมา จะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ก่อนและนำเอกสารนี้ไปทำการจ่ายภาษีรถกับกรมขนส่งทางบก จึงจะได้รับป้ายภาษีมาติดที่ตัวรถ

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร

ประกันภัยภาคบังคับสำหรับรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน รวมไปถึงคนที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่อาจได้รับผลกระทบจากการใช้รถด้วยเช่นกัน โดยจะคุ้มครองทั้งเจ้าของรถและบุคคลภายนอกโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ซึ่งจะได้รับเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และหากมีการพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูกก็จะได้รับค่าเสียหายส่วนเกิน และค่าชดเชยเพิ่มเติมตามความเสียหายที่ได้รับ และเงื่อนไขความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์ โดยจะมีลักษณะเป็นเอกสารขนาด A4 ที่มีรายละเอียดการทำ พ.ร.บ.รถยนต์

การต่อภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ.รถยนต์

ไม่ว่าจะเป็นภาษีรถยนต์ หรือ พ.ร.บ.รถยนต์ ก็จำเป็นต้องทำต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยจะมีวันหมดอายุกำกับไว้อย่างชัดเจน หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตามกฎหมาย และหากเกิดอุบัติเหตุ แล้วไม่ได้ทำ พ.ร.บ.รถยนต์ ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครอง และยังส่งผลให้ไม่สามารถยื่นต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้ หากปล่อยไว้นานเกิน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับ และเมื่อจะไปต่อภาษี ต้องเสียค่าปรับสำหรับการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังเดือนละ 1%

การต่อภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ.รถยนต์

สรุป

แม้ว่าป้ายภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ.รถยนต์จะมีความแตกต่างกัน แต่ทั้งคู่จำเป็นต้องทำทุกปีตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ อย่ารอจนถึงวันหมดอายุ เพราะสามารถต่อล่วงหน้าได้ถึง 3 เดือน ช็กราคา พ.ร.บ.รถยนต์ที่นี่ เตรียมพร้อมไว้ก่อนดีกว่าต้องมาวุ่นวายทีหลังอย่างแน่นอน

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)